Applied Linguistics

Monday, January 22, 2007

หมดเวลาส่งข้อสอบแล้ว

เรียน นักศึกษาที่น่ารับทุกท่าน
ตอนนี้ผมได้รับรายงานและข้อสอบกลางภาคหมดแล้ว จะตรวจและส่งคะแนนให้อาจารย์หัวหน้าโปรแกรมอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์

Dear students,
I have now collected all of your papers and midterm exam. Will have a look and mark your papers. Will also send the results to your head of the department in about a week time.


Cheers,
Aj Krisda Momtakhob

Tuesday, January 16, 2007

Midterm paper (นายชริญญา อมรวัฒนาพงษ์)

Applied Linguistics

1. Explain the difference & Similarities First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen
1.) ภาษาที่หนึ่ง ( First Language Acquisition ) เป็นภาษาที่เรียนรู้มาตั้งแต่เกิดจะคนทุกๆคนเริ่มซึมซับภาษามาตั้งแต่เกิด ซึ่งหัดพูดจากที่พ่อแม่สอนโดยเริ่มจากคำง่ายๆก่อน เช่นคำว่า ดา ตา ปา เป็นต้น หรือซึมซับจากสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่ ดังนั้นภาษที่หนึ่ง( First Language Acquisition ) มนุษย์จะถนัดและรู้มากกว่าภาษาที่สองเพราะภาษาที่หนึ่ง ( First Language Acquisition ) ใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัน.
นอม ชอมสกี ( Noam Chomsky ) เจ้าสำนักโดยพฤตินัยกล่าวไว้ว่า ภาษา คือ ภาษาเป็นสิ่งมีความละเอียด ซับซ้อน ภาษาและความรู้ทางภาษาซึ่งแบ่งออกมาเป็นความรู้ทางเสียงทางไวยากรณ์และความหมาย เป็นต้นเป็น ลักษณะเฉพาะของมนุษย์เท่านั้นเมื่อตอนเด็กได้รับประสบการณ์ ( Exposed to any language ) ภาษาใดมาบวกกับอุปกรณ์ทางภาษาที่มีอยู่แล้วก็ทำให้เด็กเรียนรู้กับองค์ความรู้ทางภาษานั้นขึ้นมาใช้หรือสภาพแวดล้อมทางภาษาที่เป็นธรรมชาติ ( Natural Human Environment )มีหลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้เด็กไม่สามารถตั้งคุณลักษณะเฉพาะทางภาได้หากเด็กได้อยู่ในสังคมหลากหลายและมีการใช้ภาษาหลากหลายจะยิ่งทำให้สับสนยิ่งขึ้นแต่ปรากฏว่าเด็กค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้เป็นอย่างดี
2.) ภาษาที่สอง (Second Language Acquisition) เป็นภาษาที่มนุษย์เรียนรู้จากการลอกเลียนแบบ หรือซึมซับจากบุคคลอื่นแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ หนังสือ ครู- อาจารย์ เจ้าของภาษา ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งการเรียนภาษาที่สองจะยากกว่าภาษาที่หนึ่งเป็นอย่างมากเพราะต้องอาศัยความเพียรพยายามของผู้เรียนเป็นอย่างมาก
Stephen Krashen กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง
1. Acquisition-Learning Hypothesis สมมุติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้
2. Monitor Hypothesis สมมุติฐานเรื่องการตรวจสอบ
3. Natural Order Hypothesis สมมุติฐานว่าด้วยลำดับขั้นตอนตามธรรมชาติ
4. Input Hypothesis สมมุติฐานเรื่องปัจจัยนำเข้า
5. Affective Filler Hypothesis สมมุติฐานเรื่องตัวปิดกั้นการเรียนรู้

2. Explain and present the relationship of the following terms.
( a ) Critical Age Hypothesis
คือ อายุทางภาษา เด็กจะมีการเรียนรู้อย่างช้า ๆ ซึ่งเป็นไปตามลำดับขั้นจอนของการเรียนรู้ ผู้ใหญ่นั้นจะมีการเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กเนื่องจากผู้ใหญ่มีความสามารถในการรับรู้ทางภาษามากกว่าเด็ก แต่พอนาน ๆ ไป เริ่มมีตัวปิดกั้นทางภาษา แต่เด็กถึงแม้จะเรียนรู้ได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ รับได้น้อยกว่าแต่ก็สามารถรับไปได้เรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีตัวปิดกั้นทางภาษานั่นเอง
( b ) Innateness Theory
ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กฝึกการเลียนเสียงพูด ซึ่งเด็ก
สามารถทำการสนทยาโต้ตอบกับผู้ใหญ่สามารถเลียนเสียงจากคนและสภาพแวดล้อม นอกจากนั้นเด็กสามารถเลียนเสียงคำมาแบบผิด ๆ เนื่องจากผู้ใหญ่มักใช้คำแสลงมา
ใช้ในการสนทนา Chomsky วิธีการได้รับภาษา LAD : Language acquisition
device เปิดโอกาสให้เด็กเกิดการได้ยินเสียงเพื่อต้องการทราบปัจจัยภายนอก
สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อภาษาของเด็ก
( c ) Universal Grammar
Universal Grammar คือ ความสามารถในการรับรู้ภาษาเด็กที่เรียนภาษาที่ 2 อาจมี Universal Grammar ได้เนื่องจากเด็กเกิดการซึมซับการเรียนรู้และการซึมซับนั้นต้องอาศัยการใส่ใจในตัวภาษานั้นด้วยและสิ่งนี้เองก็จะเป็น competence อีกรูปแบบหนึ่งของภาษาที่ 2 ที่เด็กสะสมไว้เรื่อย ๆเช่นกัน และเมื่อเด็กนำไปใช้ก็จะใช้ได้ถูก พูดได้คล่อง แต่อาจจะไม่ค่อยชัดก็ได้
( d ) Parameter Setting
Parameter Setting ก็คือ การสร้างค่าไวยากรณ์ ซึ่งมีอยู่ในทุกภาษา อย่างเช่น ในประเทศไทย เมื่อเด็กได้ยินภาษาไทยมาตั้งแต่ยังเล็ก เด็กก็จะตั้งค่า set ไวยากรณ์ หรือ competence นั้นไว้ จนเต็มและเกิดการแสดงออก performance ได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาก็จะมีปัญหาทางการเรียนรู้ภาษาที่ 2 เนื่องจากเกิดการสูญเสียทางอวัยวะในการออกเสียง ซึ่งเมื่อเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการ set ค่าทาง parameter ในตัวของเขาเอง และเมื่อเขาไปอยู่ที่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เขาเกิดการตั้งค่าทางไวยากรณ์นั้นไว้อีก และเมื่อเขากลับมาเมืองไทยเขาอาจจะพูดไทยไม่ค่อยชัด เนื่องจากเกิดการสูญเสียอวัยวะทางการออกเสียงอีก เป็นต้น

3. Revisit the following hypotheses
a. Acquired system and Learned? How are they manifested in SLA?
Acquired system คือ ระบบซึมซับหรือการเรียนรู้แบบซึมซับ เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ แต่เนื่องจากเรียนรู้ไปกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่หรือสภาพแวดล้อมทางภาษาการเรียนรู้แบบซึมซับคล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง สนทนาตามธรรมชาติเป็นไปตามสัญชาติญาณโดยผู้เรียนไม่ใส่ใจที่จะนึกถึงไวยากรณ์มาใช้ในการสนทนาแต่จะเน้นในการใช้ประโยชน์ในเนื้อหาหรืออรรถรถ การสื่อสารมากกว่าคำนึงถึงความถูกต้องไม่คำนึงถึง ผิด – ถูกต้อง อย่างเช่น เด็กเรียนรู้และเลียนแบบและซึมซับเอาคำที่แม่พูดและสภาพแวดล้อมในตัวของเด็กพัฒนาในตัวภาษาของตนเอง เช่น คำว่า แม่ป้อนข้าวให้ลูกแม่จะใช้คำว่า หม่ำ... หม่ำ เด็กจะซึมซับเอาและเมื่อได้ได้ยินคำนี้อ้าปากรับเข้าปากไป โดยไม่คำนึงถึงว่าจะหมายถึงอย่างไร แต่เด็กรู้ว่าจะทำอย่างไรถ้าไม่พูดว่าอย่างนี้ หรือในภาษาอังกฤษ your name แค่พูดคำนี้ เราก็จะรู้ว่าเขาต้องการให้บอกชื่อเราโดยไม่ต้องใช้คำถาม “What’s your name ? ” ที่ถูกต้องตามไวยากรณ์ก็จะสามารถโต้ตอบกับผู้ที่เราสนทนาด้วยได้ เมื่อพูดบ่อย ๆ เราก็เริ่มเรียนรู้แบบซึมซับไปเรื่อย ๆเราต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบซึมซับนี้ด้วย จะเป็นการสนทนาที่เป็นธรรมชาติไม้ต้องมีกฎเกณฑ์มากำหนดไว้ซับซ้อน
Learned System คือระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียนหรือการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชากาเช่น กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักของภาษาและระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ หรือความตั้งใจในการที่ที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นหรือเอาเป็นตัวความรู้ของภาษาของเราเอง Krashen ก็ถือว่าสำคัญเหมือนกันแต่ไม่สำคัญเท่ากับระบบแรก เพราะระบบแรกนั้นจะเป็นการเรียนรู้ตัวแต่กำเนิดแต่สำหรับระบบนี้จะเริ่มเรียนรู้เมื่อเริ่มศึกษาในโรงเรียนศึกษาตามความสนใจ คำนึงถึงความถูกต้องมากกว่าอรรถรถทางภาษาในตัวของภาษาเอง
ความแตกต่างของทั้งสองระบบนี้
Acquired
-แน่นอน, เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใต้สำนึก
-ไม่เป็นทางการ
-ไม่ต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์
-คำนึงถึงเจตคติ,ทัศนคติ
-ไม่เปลี่ยนแปลงๆได้ง่าย ๆ
Learning
-ไม่แน่นอน, ต้องสนใจ ตั้งใจ ภายนอก
-เป็นทางการ
-ใช้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์
-คำนึงถึงเจตคติ,ทัศนคติ
-เปลี่ยนแปลงได้ง่าย,ตลอด


How are they manifested in SLA?
ระบบ Acquired นั้นจะเป็นการซึมซับซึ่งถือว่าเราซึมซับทางภาษาที่หนึ่งก่อนแล้วมาเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สองและเริ่มเรียน Learned System ในตัวของภาษาที่สองซึ่งการรับของภาษานั้นถือได้ว่าทั้งสองระบบทั้งการเรียนรู้แบบ Acquired กับการเรียนรู้แบบ Learning นั้น Krashen เห็นว่าผู้ทีจะเรียนภาษาที่สองได้ดีต้องอาศัยทั้งสองระบบนี้ เอาระบบ Acquired เป็นตัวพื้นฐานของภาษาและใช้ Learning System เป็นปัจจัยเสริมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนภาษาที่สองได้ดีและมีประสิทธิภาพ
หากต้องแบ่งบทบาทของ Acquired System และ Learned System แล้วสิ่งที่เป็นตัวแสดงออกทางภาษาหรือที่เรียกว่า Initiator Utterance คือAcquisition หรือสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วก็คือตัวของภาษาที่หนึ่ง ความรู้ที่ได้มาตั้งแต่กำเนิด ส่วนการตรวจสอบและปรับปรุงเพิ่มเติมการแสดงออกทางภาษาก็คือ Learned System ในการเรียนรู้ภาษาที่สองนั้นถึงว่าเราจะเรียนรู้ไม่ได้ดีเท่ากับเจ้าของของภาษา แต่เราสามารถเรียนรู้ได้และรับเอาภาษาอื่นมาเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์ทางภาษานอกจากภาษาที่หนึ่งได้ แต่ถ้าเราไม่จัดระบบของการรับภาษาให้ดี สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว Acquired System จะถูกทำลายไปบ้างจากที่เรามี 100% แต่ถ้าเราเอาภาษาอีกภาษาหนึ่งมาก็จะเกิดความซับซ้อนเกิดขึ้น เราเรียนภาษาไทยมาตั้งแต่เกิดแต่ถ้ามาเรียนในโรงเรียนเราต้องมีการเรียนภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาที่1 ,2, 3.....ไปเรื่อย ๆเพราะการเรียนรู้ของคนเราไม่ได้จำกัด เหตุที่คนเราเรียนรู้ได้หลายภาษาเพราะมนุษย์มีเครื่องมือในการรับภาษา การเรียนรู้ภาษา 2 ภาษาพร้องกันจะทำให้ภาษาที่หนึ่งเกิดการเรียนรู้ไม่สมบูรณ์ หรืออาจทำให้ทั้งสองภาษาไม่สมบูรณ์ก็ได้ ภาษาที่สองเราจะใช้ความจำเป็นส่วนใหญ่ เพราะเราเข้าใจภาษาอื่นยากซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้

b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition require this qualification?
Monitor Hypothesis คือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ สมมติฐานนี้ตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบAcquisition กับการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบในตัวภาษาตัวที่แสดงออกในตัวของภาษา คือ ระบบในการเรียนรู้หรือความรู้ทางไวยากรณ์ต่าง ๆในข้อนี้ทำหน้าที่วางแผน ปรับปรุง แก้ไขและแสดงออกทางภาษาให้ดีขึ้น ซึ่งผู้เขียนต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการดังนี้ คือ
1) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางในการปรับปรุง
3) ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา
เมื่อมีปัจจัยทางภาษาทั้ง 3 ประการนี้ ผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและตั้งสมมติฐานตรวจสอบเกิดขึ้นเอง ใช้ในกรณีที่ผู้เรียนใช้ภาษาไม่ถูกต้องและหลุดกรอบออกไปจากการสื่อสารปกติ Krashen ได้แบ่งคนที่ใช้ในการตรวจสอบเป็น 2 พวกด้วยกัน คือ
1) พวกที่มีบุคลิกภาพโดดเด่น พูดเก่ง มากกว่าคนอื่น ๆก็จะใช้การตรวจสอบหรือเป็นพวก Under users
2) พวกที่ชอบเก็บตัว ( Introvert ) หรือผู้ที่เน้นความถูกต้องทุกระเบียดนิ้ว (Perfectionist ) ก็จะใช้การตรวจสอบมาก หรือเป็นพวก Over users
จะเห็นว่า Extrovert จะมีแนวโน้มใช้การตรวจสอบน้อยเนื่องด้วยเพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ในตัวภาษามาก ไม่จำเป็นต้องใช้การตรวจสอบอีก หรือมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ในตัวภาษามาก มีการนำเอาความรู้ในตัวไวยากรณ์ คำ ประโยคใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโครงสร้างของระบบ ใช้ภาษาอยู่ในกรอบของความถูกต้อง
Why do we need this hypothesis?
เหตุที่มีการใช้ข้อสมมตินี้เพราะสมมติฐานนี้ใช้เพื่อการตรวจสอบหรือปรับปรุงความถูกต้องของตัวภาษาและยังทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง แก้ไข และแสดงออกภาษาที่ดีขึ้น และเพื่อให้เด็กคำนึงถึงความถูกต้องของประโยค ไวยากรณ์ต่าง ๆโครงสร้างของประโยค ถึงแม้ว่าประโยคนั้น ๆหรือไวยากรณ์นั้นจะสื่อความหมายให้คนอื่นรับรู้เช่นเดียวกัน แต่ในความถูกต้องไม่ได้ ซึ่งภาษาจะได้อยู่ในความถูกต้องในเรื่องของการสื่อสาร ภาษาจะได้ไม่เปลี่ยนแปลงไปด้วย และอีกอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นสากลเพราะเรามี Universal grammar แล้วเพื่อใช้ให้ภาษาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเข้าใจง่าย เราต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกันเพื่อความถูกต้องและใช้ประโยชน์จาก Universal grammar ด้วย
Does the First language acquisition require this qualification?
ภาษาที่หนึ่งก็ต้องการตรวจสอบความถูกต้องเหมือนกัน เพราะเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการพูดสื่อสาร ถึงแม้ว่าเราจะสื่อสารกับคนที่สื่อสารภาษาที่ 1 เหมือนกัน ก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับความถูกต้องด้วยเช่นกัน ต้องการการตรวจสอบภาษาเพื่อนำไปใช้เหมือนกัน แต่ไม่ต้องการมากเหมือนกับภาษาที่ 2 เพราะเรามีความรู้ในภาษาที่ 1 มากกว่า
เพราะเราเป็นเจ้าของภาษาอีกอย่างถ้าเราได้รับความรู้ที่ถูกต้องมาได้ประสบการณ์ของภาษาซึมซับมาอย่างถูกต้องการใช้ภาษาของเราก็จะไม่ผิดพลาดก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบภาษาเหมือนภาษาที่ 2 ของเราก็ได้ แต่ถ้าเรามีอุปสรรคการซึมซับหรือมีปัญหาในการซึมซับภาษาที่ 1 ของเรามาตั้งแต่เด็กก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วย

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
คือสมมติฐานตัวเอื้อ/ตัวปิดกั้นการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยในการเรียนรู้ประกอบไปด้วย
แรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self Confidence) หรือ ความหงุดหงิด หรือความอดทนในการเรียนรู้(Anxiety)
-ด่านแรงจูงใจ ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียน มีความสนใจ มีอะไรที่ดึงดูดความสนใจที่จะเรียนก็จะทำให้การเรียนรู้ได้ดี มีประสิทธิภาพ แต่ถามีแรงจูงใจต่ำก็จะมีการเรียนรู้ที่ไม่ดีไม่อยากเรียนทำให้การเรียนในภาษาที่ 2 ไม่ประสบความสำเร็จ
-ด้านความมั่นใจ ถ้าไม่มีความมั่นใจก็จะเรียนแบบขอไปที ขาดความมั่นใจ เช่น การออกเสียงภาษาอังกฤษถ้าเราไม่กล้าขาดความมั่นใจ เราก็จะพูดไม่ได้และไม่เหมือนเจ้าของภาษาของเขาแต่กลับทำให้เรามีความมั่นใจ กล้าพูดฝึกพูดบ่อยๆ เราก็จะพูดได้ซึ่งก็จะไม่ตัวปิดกั้นการเรียนรู้ของเลย
-ด้านความอดทนในการเรียนรู้ ข้อนี้สำคัญเพราะถ้าตัวเรามีปัญหา อ่านไม่ออก ออกเสียงไม่ได้แล้วเกิดท้อหมดความอดทนในการเรียนรู้เอาง่ายๆ แล้วก็จะไม่อยากเรียนตัวรับภาษาก็จะถูกปิดกั้นการรับภาษา
What do you think about this?
การเรียนของเรานั้นอาจจะมีบางครั้งที่เจออุปสรรค เพราะในขณะที่เราซึมซับเอาภาษาที่ 1 เราก็ยังเจอตัวปิดกั้นความรู้ การเรียนรู้เหมือนกัน เช่น บางคนหูพิการ พูดไม่ได้ แต่ก็ยังอยากพูด ซึ่งในการรับเอาภาษาที่ 2 นั้น ก็เช่นจะไม่มีตัวปิดกั้นความรู้ แต่เราก็มีความพยายาม หมั่นฝึกฝน หมั่นค้นคว้าหาความรู้มาเพิ่มเติม พยายามเสริมแรงจูงใจให้กับตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ต้องแก้ไขพฤติกรรมโดยการเสริมแรงทางบวก เมื่อพฤติกรรมดีขึ้นก็จะพัฒนาและปรับปรุงพฤติกรรมอีกทีหนึ่ง เช่น การให้กำลังใจเด็ก เมื่อเด็กออกเสียงไม่ได้ แทนที่จะด่าและบ่นให้เด็กหมดความสนใจ พยายามพูดให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเรียนต่อ เราต้องสังเกตดูเด็กว่าเด็กมีปัญหาในการรับรู้หรือไม่ อย่างเด็กเกิดความมั่นใจก็พยายามออกมานอกห้อง หน้าชั้นเรียนเพื่อฝึกความเคยชิน และชมให้เขาก็สามารถพูดได้ เด็กก็จะเริ่มกล้าที่จะพูด ส่วนด้านความอดทนก็ต้องมีกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความเบื่อหน่าย เพราะเด็กบางคนอาจไม่ชอบเรียนรู้ภาษาที่ 2 และคิดว่าเรียนรู้ได้ไม่ดีก็ควรมีกิจกรรมเกมเพื่อเสริมปรับความรู้สึกเจตคติต่อตัวภาษาเสียใหม่

4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated.
ช่วงระยะเวลาในการพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้ออกเป็นดังนี้ 1. การร้องไห้ เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารถใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กมักจะแสดงอาการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่เขาต้องการสื่อให้เราทราบ หรือทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา 2. เริ่มพูดได้ เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ คือ เด็กจะยังพูดออกมาเป็นคำยังไม่ได้แต่จะมีการออกเสียง เช่นเสียงหม่ำๆ เป็นต้น เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง จากเสียงที่ได้ยิน หรือเป็นการเลียนแบบเสียง และเด็กมักจะแสดงท่าทางประกอบการพูดด้วย 3. พูดคำเดียวหรือวลีเดียว เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ ในช่วงอายุ 14-20 เดือน โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน เช่น พ่อ แม่ ไฟ โต๊ะ เป็นต้น แต่เด็กจะยังออกเสียงไม่ชัด เช่น คำว่า”พ่อ” เป็น “ป๋อ” , “วัว” เป็น “โบ” เป็นต้น เพราะเด็กยังติดกับทฤษฎีการเลียนเสียงอยู่ 4. พูดสองคำ เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือนจะสามารถเริ่มต้นพูด 2 คำได้ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น คำว่า”แม่กิน” ก็หมายถึงว่าเด็กต้องการกินของที่แม่ถือมา หรือ คำว่า “หมาไป” ก็เป็นการไล่หมาให้ไปไกลๆ หรือ คำว่า “พ่องาน” หมายถึงว่า พ่อไปทำงานแล้วเป็นต้น 5. เริ่มพูดได้เป็นประโยค คือหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการดังกล่าวในข้างต้นจนถึงสามารถพูดได้เป็นประโยค โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เห็นเพียงว่าตลก น่าหัวเราและไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะจำประโยคนั้นไปพูดอีกจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง จึงมีกำหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย





นายชริญญา อมรวัฒนาพงษ์
47031020147
เอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ปีที่ 3
E-mail : charinya_mai@hotmail.com

Monday, January 15, 2007

Midterm paper ( นายยงยุทธ จิตอารี )

ภาษาศาสตร์ประยุกต์
1. ภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 นั้นค่อนข้างมีความสัมพันธ์กันในแง่ของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร แต่ภาษาที่ 1 นั้นเปรียบเป็นภาษาแม่ ยกตัวอย่างที่เห็น ชัดเจน ก็คือ ภาษาไทยของเรานั่นเอง เป็นภาษาที่เราพูดและใช้มาตั้งแต่เด็กๆ เกิดการซึมซับและเรียนรู้มาเป็นเวลายาวนาน ส่วนภาษที่ 2 คือภาษาที่เรานั้นรับรู้เพิ่มเข้ามา โดยอาศัยการฝึกฝนและเรียนรู้เช่นเดียวกับภาษาแม่ แต่ว่าช่องว่างของหน่วยความจำอาจมีไม่มากเท่ากับภาษาที่ 1 ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือภาษาอังกฤษ ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอและต้องมีสภาพแวดล้อมที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยบางครั้งอาจมีการเปรียบเทียบความรู้ที่มีจากภาษาที่ 1กับภาษาที่ 2 เพื่อนำไปสู่การปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆตามความเหมาะสม
Noam Chomsky บอกว่ามนุษย์มีภาษาที่ละเอียดซับซ้อน แตกต่างจากสัตว์ นั่นแสดงว่า สิ่งที่อยู่ในสมองมนุษย์ นั้นมีอะไรที่น่าสนใจมากทีเดียว ภาษาและความรู้ทางภาษา แบ่งออกเป็นความรู้ทางเสียง ทางไวยากรณ์และความหมาย เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณลักษะเฉพาะของมนุษย์เท่านั้น เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับภาษาใดมาบวกกับอุปกรณ์ทาภาษาที่มีอยู่แล้ว ก็จะทำให้เด็กเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ทางภาษาขึ้นมาใช้ได้ โดยจะแตกต่างกับสัตว์ ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ทางภาษาเหมือนกับมนุษย์ นอกจกนี้เด็กจะค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้ได้เป็นอย่างดี
สำหรับ Stephen Krashen จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเรียนรู้ภาษาที่ 2 โดยมีสมมติฐาน 5 ประการดังนี้
1. สมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้
2. สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ
3. สมมติฐานว่าด้วยลำดับขั้นตามธรรมชาติ
4. สมมติฐานเรื่องปัจจัยนำเข้า
5. สมมติบานเรื่องตัวปิดกั้นการเรียนรู้

2.
(a) Critical Age Hypothesis
Case study have indicated that a child who is exposed to language by the time they reach there early teens, will not be able to fully learn it. There have been cases of children discovered in the wild that could never learn to communicate linguistically, or were able to learn vocabulary and context, but never grammar and syntax. Much of the current information on this topic refers to children who were born deaf to hearing parents who were not aware they were deaf. Research shows that deaf children that are exposed to American Sign Language (ASL) before age 6, did much better with morphologically complex signs that those not exposed till after age 12. The conclusion is that language can be acquired later in life, but without much syntax or inflectional morphology.
(b) Innateness Theory
This theory outs forward that humans have a genetic predisposition to learn language. While imitation and reinforcement are certainly factors in speech learning is exposure to it in a natural environment during the critical-age period. This can be compared to a child’s natural ability to learn how to walk at a specific stage in the development. Both appear to occur naturally and with little effort. Language acquisition is rapid, children learn to speak well enough to communicate and hold regular conversations by the age of three, under less than ideal learning conditions. Conversely, adult speak quickly, make grammatical errors, use slang and jargon, and produce incomplete or abbreviated sentences.
(c) Universal Grammar : การที่ได้อยู่ที่ใด ก็จะสามารถพัฒนาและพูดภาษานั้นได้
The road-map children use to plot a course in grammar information enables them to project beyond their experience, rather than being securely tied to it. Children are therefore expected to form grammars that deviate in certain respects from those of adult speakers of the target language. But, like Rome, all roads lead to the same destination; at some point, children achieve a stable state that is equivalent to that of adult in the linguistic community. From this perspective, the errors that arise in the course of language acquisition are not the result of defective grammars ; rather, language-learners sometimes speak a foreign language ( metaphorically speaking ) This is the continuity assumption : the proposal that child language can differ from each other. As a general research strategy, advocates of the continuity assumption suppose that explanations of differences in behavior between children and adults should invoke minimal differences in cognitive mechanism, including linguistic principles.
(d) Parameter Setting
Structural variation permitted in natural languages (perhaps limiting the range of variation to a series of binary choices). Since universal principles of grammatical structure don’t have to be learned, the child’s structural learning task is limited to that of parameter-setting (i.e. determining an appropriate setting for each of the relevant structural parameters).
The assumption that acquiring the syntactic structure of a language involves the relatively simple task of setting a number of structural parameter at their appropriate value provides a natural way of accounting for the fact that structural learning is a remarkably rapid and error-free process in young children.
3.
(a) การเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบซึมซับนี้ คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ (Meaningful Interaction) โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูด แต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรถทางการสื่อสารมากกว่า
ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ (Learned System) ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียนหรือมีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือ ความตั้งใจในการเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
(b) Monitor Hypothesis สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ
สมมติฐานนี้ตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบAcquisition กับแบบLearning ระบบการตรวจสอบเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจและแบบซึมซับ ตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุง การแก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้นเมื่อมีการประจวบเหมาะกันของปัจจัยสามประการ (1) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างพียงพอ (2) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุง (3) ผู้เรียน รู้กฎเกณฑ์ทางภาษา เมื่อมีปัจจัยสามประการ ผู้เรียนก็จะเกดการปรับและสมมติฐานการตรวจสอบจะเกิดขึ้นเอง
(c) Affective Filter Hypothesis สมมติฐานตัวเอื้อ/ ปิดกั้นการเรียนรู้
ปัจจัยการเรียนรู้เหล่านี้ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ(Motivation) ความมั่นใจ (Self-Confidence) หรือความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้ (Anxiety ) ผู้ที่มีแรงจูงใจสูง หงุดหงิดง่ายและความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบผลสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามกับผู้ที่มีความมั่นใจต่ำ แรงจูงใจต่ำ ก็จะสร้างการปิดกั้นการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้การเรียนรู้เกิดปัญหาขึ้น
4.
พัฒนาการของภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารที่สำคัญคือ
1. การรับรู้และเข้าใจภาษา
2. การแสดงออกและการพูด (ดังตาราง)
การพัฒนาของภาษาพูด ทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออก จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย
1. ระบบการได้ยินที่ปกติ
2. ระบบการแปลข้อมูลในสมองที่ปกติ
3. ระบบการออกเสียงที่ปกติ
4. สิ่งเร้าจากภายนอกที่เหมาะสม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เด็ก ต้องการพูดเป็นการสื่อสาร
เมื่อมีคำพูดจากบุคคลหนึ่งไปยังเด็กทารก คลื่นเสียงจากผู้พูด จะผ่านทางหูเด็กไปยังสมองแล้วเกิดการแปลงข้อมูล พร้อมกับการสั่งให้ร่างกายของเด็กทารกนั้นแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ได้
การตอบโต้เป็นเสียงหรือคำพูดนั้น ต้องอาศัยการประสานงาน ระหว่างกล้ามเนื้อ กระดูกและกระดูกอ่อน ที่จะช่วยให้เกิดลมพุ่งจากปอด ผ่านหลอดลม และช่วยบังคับกระแสลมผ่ายสายเสียงไปยังลำคอ เพดาน ฟัน ขากรรไกร และริมฝีปาก
การประสานงานของส่วนต่างๆ ในการเปล่งเสียงนี้ ต้องอาศัยเวลาในการช่วยให้เกิดการทำงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน เด็กเองจะต้องเรียนรู้และรู้จักสังเกตเวลาโต้ตอบกับผู้อื่น จนกระทั่งสามารถใช้การพูดเป็นการสื่อความหมายกับผู้อื่นได้
ตารางแสดงพัฒนาการของภาษาและการพูดในเด็กปกติ
อายุ พัฒนาการด้านการรับรู้ พัฒนาการด้านการแสดงออก
และการพูด
แรกเกิด-1 เดือน ได้ยินเสียงดัง, ได้ยินเสียงพูดอาจหันเวลาตื่นเต็มที่ สะดุ้ง ผวา กะพริบตา หรือ
หยุดฟังเริ่มทำเสียงในคอ
2 เดือน สนใจเวลามีคนใกล้และพูดคุย สบตา ยิ้ม ส่งเสียงอ้อแอ้
3-4 เดือน หันหาเสียงพูด (ข้างๆ) ส่งเสียงโต้ตอบ ทำเสียง "อาอือ"
หัวเราะเสียงดัง
6-9 เดือน หันหาเสียงกระดิ่งข้างๆ บนและล่าง เล่นเสียงสูงๆ ต่ำๆ
เริ่มมีเสียงพยัญชนะ
10-12 เดือน ทำตามคำสั่งง่าย ๆ
โดยท่าทางประกอบคำสั่ง (One Step Command Without Gesture) เปล่งเสียงซ้ำๆ เลียนเสียงพูด
พูดอย่างมีความหมาย 1 คำ
12-15 เดือน - พูดคำโดยที่มีความหมาย 3-6 คำ
พูดเลียนคำท้าย
15-18 เดือน ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ 1 ขั้น
(One Step Command Without Gesture) พูดคำที่มีความหมายทีละ 1-2
คำติดกัน ชี้อวัยวะร่างกายตามบอกได้
2 ปี เข้าใจ "บน ล่าง ข้าง ๆ " พูดเป็นวลี 2-3 คำ พูดอาจไม่ชัด
และตะกุกตะกัก แต่คนในครอบครัว
ฟังเข้าใจประมาณครึ่งหนึ่ง
3 ปี รู้จักเพศของตนเอง พูดเป็นประโยค 3-4 คำได้
มักใช้เฉพาะคำสำคัญที่เป็นเนื้อหา
เช่น คำนาม กริยา บางคำอาจไม่ชัด
แต่คนทั่วไปจะฟังเข้าใจประมาณ
ครึ่งหนึ่ง
4 ปี เข้าใจคำวิเศษณ์ เช่น ร้อน เย็น ใหญ่ เล็ก รู้จักสี 4 สี พูดเรียงลำดับในประโยคได้ถูก
เล่าเรื่องให้คนทั่วไปฟังเข้าใจได้
คำพูดส่วนใหญ่จะชัดเจน และมีจังหวะปกติ ยกเว้นบางพยัญชนะ
เช่น ส, ร, ล, ช
5 ปี เข้าใจความหมายของศัพท์ คำตรงข้าม
และคำเหมือน ใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้อง
อธิบายความหมายได้
พูดชัดเกือบทั้งหมด จังหวะปกติ
8 ปี เข้าใจก่อน-หลังได้ดี สามารถพูดเป็นประโยค เรียบเรียงได้
เช่นเดียวกับผู้ใหญ่

นายยงยุทธ จิตอารี
47031020150
B.Ed English
e-mail : jitaree1985@hotmail.com

Midterm paper (นางสาวสุภาพร ชุ่มกลิ่น)

1. Explain the differances & Similarites of First Language Acquistition and Second Language Acquistion ? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen (10%)
สมมุติฐานการเรียนรู้ภาษาของ Noam Chomsky เชื่อว่า ภาษามากับยีนของคู่ กับมนุษย์ มนุษย์มีภาษาที่ละเอียด ซับซ้อน แตกต่างจากสัตว์ มนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษาที่ติดมากับสมองเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษา
สมมุติฐานการเรียนรู้ภาษาของ Stephen D. Krashen ได้กล่าวว่า มีการเรียนรู้อยู่ 2 รูปแบบ คือ การเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquisittion) กับการเรียนรู้อย่างใส่ใจ (Learning) การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษานั้นๆ การเรียนรู้อย่างใส่ใจ คล้ายกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เรียนรู้จากห้องเรียนหรือมีการสอนแบบจริงจัง
ความแตกต่างระหว่าง First Language Acquisition หรือ L1 กับ Second Language Acquisition หรือ L2 คือ L1 เป็นภาษาแรกที่เราใช้พูด ใช้สื่อสาร โดยที่เรามี ความรู้ในตัวภาษา(competence) 100% แต่การแสดงออกหรือการใช้ภาษา (performance) อาจไม่เต็ม 100 ขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์ ร่างกายและสังคม ภาษาที่หนึ่งนี้ เราสามารถใช้สื่อสารได้โดยอาจไม่ต้องเรียน เป็นกระบวนการที่เรียนรู้โดยธรรมชาติ และเราสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างก่อนเข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ การพัฒนาก็เริ่มตั้งแต่ยังพูดไม่ได้นั่นเอง โดยที่เราซึมซับเอาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือ ภาษาท้องถิ่น พ่อแม่พูดภาษาไทย ลูกก็จะพูดภาษาไทยด้วย ส่วน L2 นั้น เป็นภาษาที่เพิ่มเติมมาจากภาษาที่หนึ่ง เป็นภาษาที่ไม่เกิดขึ้นตั้งแต่แรก ท้องถิ่นอาจไม่ใช้ภาษานี้ในการสื่อสาร แต่เป็นภาษาที่เราสนใจจะเรียนรู้เพิ่มเติม นั้นก็คือ L2 นั้นต้องอาศัยการเรียนรู้ ดังนั้น competence จึงไม่เต็ม 100 เท่า L1 และ performance ก็คงไม่เท่ากับ L1 เช่นกัน แต่เป็นภาษาที่เราสามารถพัฒนาได้
ความเหมือนระหว่าง First Language Acquisition หรือ L1 และ Second Language Acquisition หรือ L2 คือ L1และ L2 เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารได้เหมือนกัน และเป็นภาษาที่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ และ พัฒนาได้

2. Explain and present the relationship of the following term (10%)

a. Critical Age Hypothesis
Critical Age Hypothesis คือ สมมุติฐานของวัยในการเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์จะเรียนรู้ได้ดี เมื่ออายุยังน้อยอยู่ หรือ ช่วงอายุที่สามารถรับภาษาได้ดี ก็คือ ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 2 ขวบ จะเรียนรู้ได้เร็วมาก และการเรียนรู้ภาษาจะเรียนรู้ได้ยากมากขึ้นหรืออาจยุติลงได้เมื่ออายุ 12 ปี ขึ้นไป หากไม่มีประสบการณ์ทางภาษาและการเรียนรู้ภาษาในช่วงนี้ การเรียนรู้ภาษาและการเกิดความรู้ รวมถึงการแสดงออกจะไม่ค่อยสมบูรณ์เห็นได้จากการที่เราสามารถรับภาษาแรกของเราได้โดยง่าย และมีความรู้ในภาษานี้ดี ตั้งแต่ยังเด็ก และหาจะเรียนภาษาที่สองในช่วงอายุนี้ก็คงเกิดความสับสนบ้างแต่เด็กก็จะค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้ได้เป็นอย่างดี

b. Innateness Theory
Innateness Theory เป็นทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิดในการเรียนรู้ภาษา โดยที่มนุษย์ทุกคนมีสิ่งที่เรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษา (Linguistic Acquisition Device – LAD) ติดมากับสมองและเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากสังคมที่เขาอยู่ อุปกรณ์ทางภาษานี้ เป็นระบบที่เปิดกว้างพร้อมจะเข้ากับสภาพแวดล้อมทางภาษาไหนก็ได้ และเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมใดๆก็จะมีการค่อยๆปรับคุณลักษณะทางภาษาในภาษานั้น สิ่งที่เด็กค่อยๆ ปรับก็กลายเป็นความรู้ในภาษานั้น และความรู้ที่ดีในภาษานั้นก็ทำให้เกิดการแสดงออกทางภาษาได้อย่างดี

c. Universal Grammar
Universal Grammar ไวยากรณ์สากล หรือ หลักการที่เป็นสากลที่รองรับทุกๆภาษา โดยที่ทุกคนเกิดมาจะมี Universal Grammar ที่จะรองรับภาษาใดก็ได้ และใน UG มี Competence (ความรู้ในตัวภาษา) Performance (การใช้ภาษา) Universal Grammarใน L1 จะมี Competence เต็มร้อย แต่Performance อาจไม่เต็มร้อย สรุปก็คือ Universal Grammar เหมือน ship ในการเรียนรู้ภาษาและรองรับทุกภาษา

d. Parameter Setting
Parameter Setting คือการตั้งข้อจำกัดหรือลักษณะเฉพาะทางภาษา ภาษาทุกภาษามีลักษณะเฉพาะทางภาษาของตนเอง ดังนั้นในการเรียนรู้ภาษานั้นต้อง set ค่าลักษณะเฉพาะทางภาษา จะมีการ set เมื่อได้รับประสบการณ์จากภาษานั้นๆ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมใดๆ เด็กก็จะมีการ set คุณลักษณะเฉพาะทางภาษา ในภาษานั้น สิ่งที่เด็ก ค่อยๆ set ก็กลายมาเป็นความรู้ในภาษานั้นๆ

ความสัมพันธ์ของ a,b,c & d นั้น เป็นสิ่งที่สนับสนุนหรือทำให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษา จากข้อb. ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด ที่ทุกคนมีในการเรียนรู้ภาษา โดยมีสิ่งที่เรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษาในการเปิดรับภาษาต่างๆ เช่นเดียวกัน ข้อ c. หลักการที่เป็นสากลที่รองรับทุกๆภาษา โดยที่มีวัยในการเรียนรู้ภาษาข้อ aเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ จะเรียนรู้ภาษาได้ดีเมื่อช่วงอายุตั้งแต่เกิดถึง 12 ปี แต่หลังจากนั้นก็จะเรียนได้ยากขึ้น และในการเรียนรู้ภาษาใดๆนั้น ก็ต้องมีการตั้งลักษณะเฉพาะทางภาษา (ข้อd) ในภาษานั้น เพราะภาษาทุกภาษาก็จะมีลักษณะเฉพาะของตน

3. Revisit the following hypotheses (10%)

a. Acquired System and Learned System? How are they manifested in SLA?
Acquired System หรือ ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ เป็นผลมาจากการเรียนรู้แบบไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจไปที่หระโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า
Learned System หรือ ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือมีการสอนกันอย่างจริงจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
การที่ผู้เรียนจะสามารถแสดงออกซึ่งภาษาที่สองได้ดีนั้นมาจากระบบ คือ ระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ และระบบแบบใส่ใจ ในการเรียนภาษาที่สองนั้นต้องอาศัยทั้ง 2 ระบบนี้ ระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับนี้ก็คล้ายกับการที่เราได้ยินอะไรหลายๆครั้งก็จำได้หรือเรียนรู้ได้ในอัตโนมัติ เช่น การดูโฆษณา อีกทั้งในการเรียนรู้ภาษาที่ 2 นั้นก็ต้องเรียนรู้แบบใส่ใจด้วยถึงจะเกิดการพัฒนาและเรียนรู้ได้ดีขึ้น

b. Mornitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition requir this qualification?
Mornitor Hypothesis หรือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ ระบบการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นหรือเป็นผลโดยตรงจาการเรียนอย่างใส่ใจ ตัวที่ตรวจสอบการเรือปรับปรุงแรแสดงออกทางภาษา ก็คือ ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ หรือ ความรู้ทางไวยากรณ์ ตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง และแก้ไข และการแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้น เมื่อมี 3 ปัจจัยนี้ และเมื่อมีปัจจัย 3ข้อนี้ ผู้เรียนจะเกิดการปรับและสมมติฐานการตรวจสอบจะเกิดขึ้นเอง
1.ผู้เรียนต้องเคยได้ใช้ภาษามาก่อน หรือ ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2.ผู้เริ่มคิดถึงความถูกต้อง แนวทางการปรับปรุงและแก้ไข
3.ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา รู้ความถูกต้อง
Krashen ได้จัดกลุ่มผู้เรียนรู้ภาษาที่สองออกเป็นสามกลุ่มโดยพิจารณาจากพฤติกรรมระบบการตรวจสอบ (Mornitoring System) กลุ่มที่1 คือ กลุ่มที่ใช้การตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา (Over users) กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่ยังไม่ได้สร้างความรู้ทางภาษาไม่ชอบเอา Mornitoring System ไปใช้ (Under users) กลุ่มที่สาม คือกลุ่มที่เรียนรู้และใช้การตรวจสอบอย่างเหมาะสม (Optimal users)
คนที่มีบุคลิกภาพโดดเด่น พูดเก่ง หรือ แสดงออกมากกว่าคนอื่นๆ เรียกว่า Extrovert ก็ใช้การตรวจสอบน้อยหรือเป็นพวก Under users ในขณะเดียวกันพวกเก็บตัว หรือ Introvert หรือ ผู้ที่เน้นความถูกต้องทุกระเบียบนิ้ว ก็จะใช้การตรวจสอบมากหรือเป็นพวก Over users ไม่ค่อยพูดกลัวผิด
เหตุผลที่เราต้องการสมมติฐานนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ทราบถึงความผิดพลาดในการใช้ภาษา และเพื่อให้ใช้ได้อย่างถูกต้อง แต่หากใช้มากเกินไปก็อาจทำให้เป็นพวก Over users ได้ ไม่กล้าที่จะพูดเพราะกลัวผิด แต่หากไม่ใช้เลยอย่างพวก Under users ก็จะทำให้ใช้ภาษาได้ไม่เหมาะสมนัก พูดไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจ และจะดีมากหากแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองด้วยตนเอง
ภาษาแรกนั้นอาจไม่ค่อยได้ใช้สมมติฐานนี้ เพราะ เป็นภาษาที่เรารู้ดีอยู่แล้ว คือ มี competence เต็ม 100 แต่ performance ไม่เต็ม 100 แต่ก็ใช้ในการพูดสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องกลัวผิด แต่บางครั้งอาจจะใช้ในกรณีที่มี ภาษาเกิดขึ้นใหม่ เช่น ภาษาวัยรุ่น

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
Affective Filter Hypothesis หรือ สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้ ปัจจัยการเรียนรู้เหล่านี้ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ ความมั่นใจ หรือ ความหงุดหงิด หรือ ความอดทนในหารเรียนรู้ Krashen ได้กล่าวว่า ผู้ที่เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูง หรือ ความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามคือ ถ้าผู้เรียนมีความมั่นใจต่ำ หงุดหงิดง่าย ก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้
ข้าพเจ้าคิดว่าทุกคนมีสิทธิที่จะเกิดตามสมมติฐานดังกล่าวได้ ยิ่งเป็นผู้เรียนที่อายุมากขึ้นข้าพเจ้าคิดว่าก็จะมีตัวปิดกั้นมากขึ้น อาจจะขึ้นอยู่กับ อารมณ์ ความคิด ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ถ้าหากตัวปิดกั้นเหล่านี้ทำหน้าที่ได้ดี ก็จะทำให้การเรียนรู้เกิดปัญหา เช่น เด็กกับผู้ใหญ่ แข่งกันเรียนรู้ภาษา ในตอนแรกผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดีกว่า แต่ก็ได้ไม่นานก็จะหยุด เพราะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เด็กจะมีการเรียนรู้ได้เรื่อยๆ และได้ดีกว่าตอนแรก เพราะ Acquired System หรือ ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ




4.Disscuss the period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible example are highly appreciated. (10%)

ทฤษฎีของการเรียนรู้ภาษาของเด็ก (CLA)
1. Imitation Theory – เด็กๆไม่สามารถเลียนแบบ ไวยาการณ์ คำ ไม่ได้ทั้งหมด(ไม่สมบูรณ์) เป็น step แรกๆเท่านั้น
2. ทฤษฎีการเสริมแรง – CDS คือ การปรับปรุงแก้ไขภาษาเด็ก –Motherese (body talk)การเจ้ากี้เจ้าการ –
การเสริมแรงแทบจะไม่มีผลเลยกับเด็ก จะแก้ไม่แก้ก็ไม่มีผล ขึ้นอยู่กับสภาวะทางกายเด็กจะเรียนรู้เองเมื่อโตขึ้น
3.Innateness Theory มีมาแต่กำเนิด
LAD “Language Acquisition Device” เป็นอุปกรณ์ทางภาษาที่อยู่ในตัวเด็ก เป็นอุปกรณ์ที่เปิดรับภาษาไหนก็ได้
4. Test –
1. Fetal Heart Rate Test (การเต้นของหัวใจเด็ก)
- เมื่อสนใจในสิ่งที่ได้ยิน(สิ่งเร้า)การเต้นของหัวใจจะลดลง เมื่อสิ่งเร้านั้นหายไปก็จะกลับมาเป็นปกติ
2. Infant sucking Test การทดสอบการดูดนมของทารก
- เมื่อได้ยอนเสียง เด็กจะดูดนมแรงและเร็วขึ้น
3. Head Turn Test การทดสอบการหันศีรษะของเด็ก
- เมื่อได้ยินเสียงจากทิศทางที่แตกต่างกัน เด็กจะหันศีรษะไปทางทิศทางที่มาของเสียง เด็กมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าจะตอบโต้ได้ดีมากโดยเฉพาะเสียง มันจะส่งผลไปที่หัวใจ แล้วจะเกิดการพัฒนาได้ดีทางภาษา
5. การร้องให้ Crying
เด็กก่อนคลอดมีการรับรู้ (Perception) โดยการใช้ test 1. อัตราการเต้นของหัวใจ เด็กจะมีปฏิกิริยากับเสียงของแม่ เด็กจะเข้าใจอารมณ์ของแม่(รับรู้)
ทารกวัย 0-4 เดือนจะไม่สามารถใช้ภาษาพุดได้ชำนาญ แต่มักจะร้องให้เพื่อแสดงความรู้สึกตามที่เขาต้องการ ทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ10-16สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็นซึ่งเป็นพัฒนาการของเด็ก
6. การเริ่มพูดได้ Babbling เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง เด็กมักจะเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน เด็กมักจะแสดงทำทางประกอบการพูด เช่น ชี้มือชี้ไม้ เมื่อต้องการสิ่งของที่ชอบ
- 4-6 เดือน เริ่มใช้เสียง(ออกเสียง)ร้อง
9-12 เดือน เริ่มพูดเลียนแบบเสียงผู้ใหญ่
- เด็กจะพูดเป็นเสียงก่อน หลายๆเสียงเป็นคำ แต่อาจไม่ชัดเจน ผู้ปกครองไม่ควรใช้เสียงตะคอก
7. One Word/Holophrases คำเดียว/วลีเรื่อง
- 14-20 เดือน เริ่มพูดคำ content ไม่เรียน function เพราะไม่เห็นเป็นรูปธรรม
- เด็กจะเข้าใจความหมายของคำ
- 18-24 เดือน เด็กจะพูดได้หลายคำ
- ใน 1 เดือนจะพูดคำใหม่ ได้ประมาณ 22-37 คำ
8. Two word Phrases (2คำที่เป็นวลี)
- เรียน content 2 คำ แต่มีsyntax รู้จัก word order (เรียนได้) เช่น Daddy gone(Daddy has gone) , Doggie mine(Doggie is mine) เด็กเริ่มรู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ เช่น I love you ,You love me.
9. Multi-Word Phrases
- เด็กจะได้คำศัพท์ 50 คำ
- เด็กจะเริ่มเชื่อมคำ2คำเข้าด้วยกันเพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง และการกระทำ
- เด็กอายุ 12-14 เดือน เด็กสามารถจำประโยคที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องได้ เด็กสามารถแยกแยะความแตกต่างได้
10. Critical Age Hyphothesis (สมมุติของอายุทางภาษา)
- เด็กจะต้องใช้เวลาในการศึกษามากพอสมควร
- เด็กจะเรียนรู้ภาษาได้ดีถ้าพวกเขาได้เรียนรู้จากที่บ้านเขาเอง โดยการเลียนแบบหรือมีพรสวรรค์ในการใช้ภาษา
- ขีดจำกัดและกฎข้อบังคับจะเป็นหัวใจหลักของการพูดภาษา


การรับรู้ภาษาของเด็ก

ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
1-2 เดือน
เด็กจะสามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่ำกว่า 4 เดือน
เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก
6-10 เดือน
เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียง (เด็กจะมีสมาธิสั้น) เด็กจะให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นสิ่งแปลกใหม่และจะรู้สึกเบื่อๆกับสิ่งที่เหมือนเดิมและไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้
- สามารถแยกแยะสียงที่ได้ยินได้
- สามารถแยกแยะเสียงก้อง กับเสียงไม่ก้องได้ ระหว่างเสียง [ta] vs [da]
- สามารถแยกตำแหน่งของการเกิดเสียง (ฐานกรณ์) การออกเสียงพยางค์ต้นและพยางค์ท้าย
- สามารถแยกเสียงที่เกิดจากการะเบิด(stop)กับเสียงขึ้นจมูก (nasals) [ba] vs [ma]
- สามารถแยกเสียงที่เกิดจากการห่อลิ้นและไม่ห่อ [rs] vs [la]
- สามารถแยกเสียงสระที่เกี่ยวกับเสียงพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย 1 ตัว
- สามารถบอกเสียงสระที่เกิดจากการออกเสียงทางปากและจมูก
- สามารถแยกเสียง [EE][EE] ซึ่งเกิดจากเสียงขึ้นจมูกและไม่ขึ้นจมูก
- สามารถบอกเหตุผลโดยรวมเกี่ยวกับความสามารถที่แตกต่างของการออกเสียงแทรก


อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัว

ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
6 เดือนแรก
พยายามแยกเสียง
6 เดือนหลัง
เริ่มจับความหมาย การรับรู้ของเด็กจะเหมือนกับผู้ใหญ่ สมมุติ E กับ A เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาอังกฤษได้ เด็กจะรู้ความหมายว่าพูดอย่างไร
8-10 เดือน
แยกเสียงได้
10-12 เดือน
เด็กจะแยกแยะเสียงไม่ได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอีก เด็กก็จะสามารถเริ่มแยกเสียงได้อีกครั้ง ในช่วงหลัง12เดือน ระบบการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีขึ้น การแยกแยะการออกเสียงได้ดีขึ้น

การพูดการออกเสียง

ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
2-4 เดือน
- ยังแยกแยะเสียงสูงต่ำไม่ได้
- เริ่มมีเสียงพยัญชนะ สระมากขึ้น เริ่มมีอาการล้อเลียนเสียง
ช่วง1ปีแรก
- ช่วงแรกอวัยวะทำงานดีขึ้น
- สามารถออกเสียงพยัญชนะ สระ ได้บ้าง
- เสียงริมฝีปาก เด็กจะทำได้ดีกว่าเสียงที่อยู่ข้างหลังตรงลำคอ
- เสียงแทรกจะไม่ค่อยมี จะใช้กล้ามเนื้อ
- เสียงสระที่เป็นพื้น i,a,u
- CV พยัญชนะ1ตัว สระ1ตัว


ชื่อ นางสาวสุภาพร ชุ่มกลิ่น
รหัส 47031020158
B.ED.
E-mail : oomsom@hotmail.com

Midterm Ketsarin khayak

Midteam Test Syntax

1.Explain the correlation of the idea that language is used as a correlation between gestures and meaning

A. GESTURES----------------MEANING
=It is not the case that every possible meaning that can be expressed is correlated with a unique, unanalyzable gesture, be it oral or manual. Rather, each language has a stock of meaning- bearing elements and different ways of combining them to express different meaning, and these ways of combining them are themselves meaningful. The two English sentences Chris gave the notbook to Dana and Dana gave the notbook to Chris contain exactly the same meaning-bearing elememts, i.e. word, but they have different meaning because the word are combined differently in them. These different combinations fall into the realm of syntax; the two sentences differ not in terms of the words in them but rather in thrms of their syntax. Syntx can thus be given the following characterization, taken from Matthews(1982:1)

B.GESTURES--------ARRANGEMENT----------------MEANING
=One could say that syntax makes possible the formulation of expression with complex meaning out of elements with simple meaning. One of the defining features of human language is its unlimited nature; that is, the number of meaningful expressions that can be produced by users of a human language is potenlially infinite, and thai expressive potebtial cornes from the combination of the basic meaningful elements with syntactic principles. Much of the interest in language in psychology and cognitive science comes from what the study of the cognitive mechanisms underlying language use and acquisition can reveal about the human mind.

2.TO understand Syntax perfectly well, we need to under the under the other linguistic branch Morpholgy . Why is that? Can you try to analyze using the following data.
a. * Barking dogs does not bite
=Barking is adjective as ttribute.
Dog is verb as predicate
Not is adverb as neg ate adverb
Bite is verb as object.
b. * All man is create equal
= Men ในประโยค เป็นพหูพจน์ ไม่ต้องใช้ All ก็ได้ is เป็น verb แล้ว create เป็น verb แท้ใช้ด้วยกันไม่ได้ถ้าจะใช้ด้วยกันต้องเติม ed หรือ ing เท่านั้น

c.* How long is your feel? One foot
= เป็นประโยคคำถามทึ่ไม่รู้ว่า One foot เป็น เท้า 1 ข้าง หรือ เป็นที่วัดที่เรียกว่า 1 ฟุต

3.Experience of Language----------language faculty-----------------Grammar of L

=Children acquire a language will observe people around them and set of expressions in language which a child hears in the course of acquiring the language constitute the child’s linguistic experience of the language . EXperence serves as in put to the child’s language faculty the im put. To the language faculty is the child’s. experience and the out put of the language faculty is a grammar of the language being acquired

-Competence/ performance
= Competence: a tern used to represent native speaker’s knowledge of the grammar of their native language.
=Performance: a term which denotes observed language be haviour.

-Species- specific
= Species specific is a tear used to refer to language as a qenetic endowment unique to the huan sqecies.It is a uniquely hun trait, sared by cultures so diverse and by individvals physically and mentally.

-Linguistic Acquisition Device—LAD
= The language Acquisition Device (LAD) is a postulated “ organ” of the brain that is supposed to function as a congenital device for learning synbloic language (ie. Language acquisition). First proposed by Noam Chomsky, the LAD concept is a component of the nativist theory of the language which dominates contemporary formal linguistics, Which asserts that humans are born with the instinct or “ innate facility” for acquiring language.

-Principles and Parameter Theory—PPT
= This theory, developed in Chomsky and much subsequent work, claims that natural language grammars in corporate not only a set of innate universal principles which accent for those aspects of grammar which are common to all language.But also asset of parameters which account for those aspects of grammar which very from one language to another.

4. Compare Thai and English in terms of the following
a. case ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะผันแปรไปตามประธาน เช่น เวลาพูดถึงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวเรา verb จะต้องเติม s
-ถ้าเป็นภาษาไทยจะไม่ผันแปรไปตามประธานแต่มีความหมายตรงตัว
b. Number = English: จะทราบได้ว่ามีจำนวนเท่าใด และระบุจำนวนได้ชัดเจน
Thai: ไม่ระบุจำนวนที่แน่ชัดแต่ก็เข้าใจ มีจำนวนมากหรือน้อย
c.Sentence / Phrase Structure
English : She is very beautiful.
Noun verb adj.


5.Employ any means to show clearly the concept of ‘Constituent’ and ‘Contructrion’ of the following sentence.
John normally smoker cigarettes in the morning.


6.Underline the equal constituent with the underlined one.
a. Micheal Moore wrote a book about the President George Bush and Donal Rumsfeld. ตอบ George Bush
b. Kenny G performed his concert in Bangkok and in Uttaradit ตอบ in Uttaradit
c. His Majesty the King is highly regarded not only as the talented Jazz musician but also as the great scientist.ตอบ musician, the great scientist

Ampawam Pang-ngern
ID: 48043020172
mail: nawapma-boon@hotmail.com

Midterm Ketsarin khayak

Midteam Test Syntax

1.Explain the correlation of the idea that language is used as a correlation between gestures and meaning

A. GESTURES----------------MEANING
=It is not the case that every possible meaning that can be expressed is correlated with a unique, unanalyzable gesture, be it oral or manual. Rather, each language has a stock of meaning- bearing elements and different ways of combining them to express different meaning, and these ways of combining them are themselves meaningful. The two English sentences Chris gave the notbook to Dana and Dana gave the notbook to Chris contain exactly the same meaning-bearing elememts, i.e. word, but they have different meaning because the word are combined differently in them. These different combinations fall into the realm of syntax; the two sentences differ not in terms of the words in them but rather in thrms of their syntax. Syntx can thus be given the following characterization, taken from Matthews(1982:1)

B.GESTURES--------ARRANGEMENT----------------MEANING
=One could say that syntax makes possible the formulation of expression with complex meaning out of elements with simple meaning. One of the defining features of human language is its unlimited nature; that is, the number of meaningful expressions that can be produced by users of a human language is potenlially infinite, and thai expressive potebtial cornes from the combination of the basic meaningful elements with syntactic principles. Much of the interest in language in psychology and cognitive science comes from what the study of the cognitive mechanisms underlying language use and acquisition can reveal about the human mind.

2.TO understand Syntax perfectly well, we need to under the under the other linguistic branch Morpholgy . Why is that? Can you try to analyze using the following data.
a. * Barking dogs does not bite
=Barking is adjective as ttribute.
Dog is verb as predicate
Not is adverb as neg ate adverb
Bite is verb as object.
b. * All man is create equal
= Men ในประโยค เป็นพหูพจน์ ไม่ต้องใช้ All ก็ได้ is เป็น verb แล้ว create เป็น verb แท้ใช้ด้วยกันไม่ได้ถ้าจะใช้ด้วยกันต้องเติม ed หรือ ing เท่านั้น

c.* How long is your feel? One foot
= เป็นประโยคคำถามทึ่ไม่รู้ว่า One foot เป็น เท้า 1 ข้าง หรือ เป็นที่วัดที่เรียกว่า 1 ฟุต

3.Experience of Language----------language faculty-----------------Grammar of L

=Children acquire a language will observe people around them and set of expressions in language which a child hears in the course of acquiring the language constitute the child’s linguistic experience of the language . EXperence serves as in put to the child’s language faculty the im put. To the language faculty is the child’s. experience and the out put of the language faculty is a grammar of the language being acquired

-Competence/ performance
= Competence: a tern used to represent native speaker’s knowledge of the grammar of their native language.
=Performance: a term which denotes observed language be haviour.

-Species- specific
= Species specific is a tear used to refer to language as a qenetic endowment unique to the huan sqecies.It is a uniquely hun trait, sared by cultures so diverse and by individvals physically and mentally.

-Linguistic Acquisition Device—LAD
= The language Acquisition Device (LAD) is a postulated “ organ” of the brain that is supposed to function as a congenital device for learning synbloic language (ie. Language acquisition). First proposed by Noam Chomsky, the LAD concept is a component of the nativist theory of the language which dominates contemporary formal linguistics, Which asserts that humans are born with the instinct or “ innate facility” for acquiring language.

-Principles and Parameter Theory—PPT
= This theory, developed in Chomsky and much subsequent work, claims that natural language grammars in corporate not only a set of innate universal principles which accent for those aspects of grammar which are common to all language.But also asset of parameters which account for those aspects of grammar which very from one language to another.

4. Compare Thai and English in terms of the following
a. case ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะผันแปรไปตามประธาน เช่น เวลาพูดถึงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวเรา verb จะต้องเติม s
-ถ้าเป็นภาษาไทยจะไม่ผันแปรไปตามประธานแต่มีความหมายตรงตัว
b. Number = English: จะทราบได้ว่ามีจำนวนเท่าใด และระบุจำนวนได้ชัดเจน
Thai: ไม่ระบุจำนวนที่แน่ชัดแต่ก็เข้าใจ มีจำนวนมากหรือน้อย
c.Sentence / Phrase Structure
English : She is very beautiful.
Noun verb adj.


5.Employ any means to show clearly the concept of ‘Constituent’ and ‘Contructrion’ of the following sentence.
John normally smoker cigarettes in the morning.


6.Underline the equal constituent with the underlined one.
a. Micheal Moore wrote a book about the President George Bush and Donal Rumsfeld. ตอบ George Bush
b. Kenny G performed his concert in Bangkok and in Uttaradit ตอบ in Uttaradit
c. His Majesty the King is highly regarded not only as the talented Jazz musician but also as the great scientist.ตอบ musician, the great scientist

Siriporn Soisak
ID: 48043020168
mail: Ketsarin86@chaiyo.com

Midterm Ketsarin khayak

Midteam Test Syntax

1.Explain the correlation of the idea that language is used as a correlation between gestures and meaning

A. GESTURES----------------MEANING
=It is not the case that every possible meaning that can be expressed is correlated with a unique, unanalyzable gesture, be it oral or manual. Rather, each language has a stock of meaning- bearing elements and different ways of combining them to express different meaning, and these ways of combining them are themselves meaningful. The two English sentences Chris gave the notbook to Dana and Dana gave the notbook to Chris contain exactly the same meaning-bearing elememts, i.e. word, but they have different meaning because the word are combined differently in them. These different combinations fall into the realm of syntax; the two sentences differ not in terms of the words in them but rather in thrms of their syntax. Syntx can thus be given the following characterization, taken from Matthews(1982:1)

B.GESTURES--------ARRANGEMENT----------------MEANING
=One could say that syntax makes possible the formulation of expression with complex meaning out of elements with simple meaning. One of the defining features of human language is its unlimited nature; that is, the number of meaningful expressions that can be produced by users of a human language is potenlially infinite, and thai expressive potebtial cornes from the combination of the basic meaningful elements with syntactic principles. Much of the interest in language in psychology and cognitive science comes from what the study of the cognitive mechanisms underlying language use and acquisition can reveal about the human mind.

2.TO understand Syntax perfectly well, we need to under the under the other linguistic branch Morpholgy . Why is that? Can you try to analyze using the following data.
a. * Barking dogs does not bite
=Barking is adjective as ttribute.
Dog is verb as predicate
Not is adverb as neg ate adverb
Bite is verb as object.
b. * All man is create equal
= Men ในประโยค เป็นพหูพจน์ ไม่ต้องใช้ All ก็ได้ is เป็น verb แล้ว create เป็น verb แท้ใช้ด้วยกันไม่ได้ถ้าจะใช้ด้วยกันต้องเติม ed หรือ ing เท่านั้น

c.* How long is your feel? One foot
= เป็นประโยคคำถามทึ่ไม่รู้ว่า One foot เป็น เท้า 1 ข้าง หรือ เป็นที่วัดที่เรียกว่า 1 ฟุต

3.Experience of Language----------language faculty-----------------Grammar of L

=Children acquire a language will observe people around them and set of expressions in language which a child hears in the course of acquiring the language constitute the child’s linguistic experience of the language . EXperence serves as in put to the child’s language faculty the im put. To the language faculty is the child’s. experience and the out put of the language faculty is a grammar of the language being acquired

-Competence/ performance
= Competence: a tern used to represent native speaker’s knowledge of the grammar of their native language.
=Performance: a term which denotes observed language be haviour.

-Species- specific
= Species specific is a tear used to refer to language as a qenetic endowment unique to the huan sqecies.It is a uniquely hun trait, sared by cultures so diverse and by individvals physically and mentally.

-Linguistic Acquisition Device—LAD
= The language Acquisition Device (LAD) is a postulated “ organ” of the brain that is supposed to function as a congenital device for learning synbloic language (ie. Language acquisition). First proposed by Noam Chomsky, the LAD concept is a component of the nativist theory of the language which dominates contemporary formal linguistics, Which asserts that humans are born with the instinct or “ innate facility” for acquiring language.

-Principles and Parameter Theory—PPT
= This theory, developed in Chomsky and much subsequent work, claims that natural language grammars in corporate not only a set of innate universal principles which accent for those aspects of grammar which are common to all language.But also asset of parameters which account for those aspects of grammar which very from one language to another.

4. Compare Thai and English in terms of the following
a. case ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะผันแปรไปตามประธาน เช่น เวลาพูดถึงบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวเรา verb จะต้องเติม s
-ถ้าเป็นภาษาไทยจะไม่ผันแปรไปตามประธานแต่มีความหมายตรงตัว
b. Number = English: จะทราบได้ว่ามีจำนวนเท่าใด และระบุจำนวนได้ชัดเจน
Thai: ไม่ระบุจำนวนที่แน่ชัดแต่ก็เข้าใจ มีจำนวนมากหรือน้อย
c.Sentence / Phrase Structure
English : She is very beautiful.
Noun verb adj.


5.Employ any means to show clearly the concept of ‘Constituent’ and ‘Contructrion’ of the following sentence.
John normally smoker cigarettes in the morning.


6.Underline the equal constituent with the underlined one.
a. Micheal Moore wrote a book about the President George Bush and Donal Rumsfeld. ตอบ George Bush
b. Kenny G performed his concert in Bangkok and in Uttaradit ตอบ in Uttaradit
c. His Majesty the King is highly regarded not only as the talented Jazz musician but also as the great scientist.ตอบ musician, the great scientist

Ketsarin Khayak
ID: 48043020154
mail: Ketsarin86@chaiyo.com

Blog Archive