Sunday, January 14, 2007

midterm paper (Jutamas naakmoon)

Applied Linguistics
Test on Language Acquisition

1. Explain the differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen
Answer FLA = ในภาษาที่หนึ่งนั้นจากทฤษฎีของ Chomsky เชื่อว่า เด็กทุกๆคนจะมีความสามารถทางภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิดหรือมี LAD ติดมากับสมอง เป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นตัวที่ช่วยเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษา สำหรับเครื่องมือในการเรียนรู้ภาษานี้ เด็กจะรับข้อมูลทางภาษาจากสภาพแวดล้อมที่ตนเองอยู่ แล้วนำมาสร้างกฎเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ ด้วยตนเองและทดลองใช้ในการสื่อสาร ซึ่งก็มีผิดบ้างถูกบ้าง ถ้าไม่ถูกต้องเด็กก็จะเก็บข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องเข้ามาแล้วทิ้งข้อมูลเก่าที่ไม่ถูกต้องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีภาษาเทียบเท่ากับผู้ใหญ่ คือ มีการใช้ไวยากรณ์ และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้น
SLA = ส่วนภาษาที่สองเรามาเรียนรู้ทีหลังจึงทำให้ไม่เกิดความชำนาญในการใช้ ซึ่งเราจะต้องศึกษาถึงหลักไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้อง เป็นต้น และยิ่งเราต้องการที่จะเก่งในภาษาที่สองเราก็ต้องพยายามเอาใจใส่ที่จะเรียนรู้โดยการเลียนแบบเจ้าของภาษา ซึ่งมันเป็นการยากมากๆที่เราจะเก่งในภาษาที่สอง หากสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้หรือเราไม่มีความมั่นใจในการพูดเพราะกลัวออกเสียงผิดด้วยแล้วการเรียนรู้ในภาษาที่สองก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ
สรุปก็คือ ในภาษาที่หนึ่งเราจะมีความชำนาญในการใช้มากกว่าภาษาที่สอง เนื่องจากเราได้ใช้ภาษาที่หนึ่งสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน แต่ในภาษาที่สองนั้นเราไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ภาษาไทยคือภาษาที่หนึ่งของเราและภาษาที่สองของเราก็คือภาษาอังกฤษ เราคงไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทุกๆวัน ใช่ไหมคะ? ดังนั้นความแตกต่างก็คือเราถนัดที่จะใช้ภาษาที่หนึ่งซึ่งเป็นภาษาแม่มากกว่าภาษาที่สอง แต่ความเหมือนก็คือ เราใช้ภาษาที่หนึ่งและสองก็เพื่อการสื่อสารและทั้งสองภาษานี้ก็ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
................................................................................................................................................
2. Explain and present relationship of the following terms

a. Critical Age Hypothesis
Answer เมื่อเด็กเริ่มหัดพูดใหม่ๆ เด็กจะไม่เน้นการใช้ไวยากรณ์จะพูดออกมาเป็นคำๆ ซึ่งผู้ใหญ่ก็เข้าใจว่าเด็กต้องการอะไร เมื่อเจริญเติบโตขึ้นเด็กจะรู้จักการใช้ไวยากรณ์ มีการพัฒนาทางภาษามากขึ้น เนื่องจากได้เรียนรู้และการฝึกฝน

b. Innateness Theory
Answer เด็กแต่ละคนที่เกิดมานั้นจะมีความสามารถในการรับรู้ภาษามาแต่กำเนิด แต่ความสามารถในการรับรู้ภาษาของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เพราะสภาพแวดล้อม การให้กำลังใจและการเสริมกำลังใจก็เป็นสิ่งสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ภาษา

c. Universal Grammar
Answer คนเราเกิดมาก็มีเครื่องมือรับภาษากันทุกคนแต่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม พันธุกรรมและความสามารถว่าจะรับรู้ได้มากน้อยเพียงใด หากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่นั้นเอื้อต่อการเรียนรู้และเด็กสามารถปรับตัวได้บวกกับประสบการณ์ทางภาษาที่มีอยู่ เด็กก็จะค่อยๆ เรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาใช้ได้เป็นอย่างดี

d. Parameter Setting
Answer เด็กที่พูดไม่ได้จะเริ่มตั้งค่าการรับรู้ภาษาเมื่อได้รับรู้เสียงจากสิ่งแวดล้อมที่ตนอยู่ เช่นได้ยินเสียงของพ่อ-แม่ครั้งแรกเด็กก็จะจดจำไว้ และเมื่อได้ยินอีกครั้งเด็กก็จะมีปฏิกิริยาตอบกลับ เช่น หัวเราะ เป็นต้น
สรุปความสัมพันธ์ทั้ง 4 นี้ก็คือ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน หากขาดกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งจะทำให้การเรียนรู้ภาษานั้นไม่สมบูรณ์
.............................................................................................................................................
3. Revisit the following hypotheses
a. Acquired System and Learned System?How are they manifested in SLA?
Answer Acquired System(ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ) เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจ เรียนรู้จากประสบการณ์ ความเคยชิน แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มาก การเรียนรู้แบบซึมซับนี้จึงคล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ (Meaningful Interaction) โดยที่ผู้เรียนไม ได้ใส่ใจที่จะนำกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาใช้ในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า (Communicative Act)
Learned System (ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ) ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือ มีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ของไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือ ความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ทั้งสองระบบนี้ข้าพเจ้าคิดว่ามีความสำคัญเท่าๆกัน โดยระบบแรกจะใช้ในการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งซึ่งเป็นภาษาที่เราใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ส่วนระบบที่สองใช้ในการเรียนรู้ภาษาที่สองเพราะเราไม่มีความชำนาญในการใช้ภาษาที่สองจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจและฝึกฝนให้เกิดความชำนาญจึงจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

b. Monitor Hypothesis?Why do we need this hypothesis?Does the First language acquistion require this qualification
Answer Krashen ได้แบ่งสมมติฐานนี้ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่ 1 ตรวจสอบตลอดเวลา คือ พวกที่คิดก่อนพูดทุกๆ ครั้ง คนพวกนี้จะเป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยพูดสักเท่าไรกลุ่มที่ 2 ไม่ค่อยตรวจสอบ คือ พวกที่พูดโดยไม่คิด หรือนึกอะไรขึ้นมาได้ก็พูดโพล่งออกไปกลุ่มที่ 3 ใช้การตรวจสอบอย่างเหมาะสม คือ พวกนี้จะเป็นคนที่รอบคอบมากเพราะต้องคิดก่อนพูดว่าจะพูดอย่างไรให้ถูกกาลเทศะ
ในภาษาที่หนึ่งนั้นไม่จำเป็นต้องตรวจสอบก็ได้เพราะทุกคนก็มีความถนัดในภาษาแม่กันอยู่แล้ว แต่ถ้าจะมีควรเป็นประเภทที่สามเพราะการตรวจสอบอย่างพอดีๆจะทำให้มีความมั่นใจในการพูดมากขึ้น

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
Answer Affective Filter Hypothesis (สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้) เป็นปัจจัยการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self-Confidence) หรือความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้(Anxiety) Krash กล่าวถึงผู้เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูงและความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม ผู้เรียนที่ตรงกันข้ามคือมีความมั่นใจต่ำ หงุดหงิดง่ายก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้( Affective Filter Mental Block) เมื่อตัวปิดกั้นหรือ Filter เหล่านี้ทำหน้าที่ ได้ดีการเรียนรู้ ก็จะเกิดปัญหา
ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจและมีความมั่นใจที่จะเรียนรู้ภาษาที่สอง ก็จะทำให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จไปด้วยดี แต่ถ้าหงุดหงิดหรือรู้สึกเครียด ไม่มีความมั่นใจ สิ่งเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่นการเรียนวิชาภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ทุกคนคงจะรู้นะคะว่าวิชาไหนสร้างแรงจูงใจและวิชาไหนที่สร้างความเครียดให้กับเรา
..............................................................................................................................................
4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated. Answer ช่วงระยะเวลาในการพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้ออกเป็นดังนี้ 1. การร้องไห้ เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารถใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กมักจะแสดงอาการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่เขาต้องการสื่อให้เราทราบ หรือทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา 2. เริ่มพูดได้ เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ คือ เด็กจะยังพูดออกมาเป็นคำยังไม่ได้แต่จะมีการออกเสียง เช่นเสียงหม่ำๆ เป็นต้น เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง จากเสียงที่ได้ยิน หรือเป็นการเลียนแบบเสียง และเด็กมักจะแสดงท่าทางประกอบการพูดด้วย 3. พูดคำเดียวหรือวลีเดียว เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ ในช่วงอายุ 14-20 เดือน โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน เช่น พ่อ แม่ ไฟ โต๊ะ เป็นต้น แต่เด็กจะยังออกเสียงไม่ชัด เช่น คำว่า”พ่อ” เป็น “ป๋อ” , “วัว” เป็น “โบ” เป็นต้น เพราะเด็กยังติดกับทฤษฎีการเลียนเสียงอยู่ 4. พูดสองคำ เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือนจะสามารถเริ่มต้นพูด 2 คำได้ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น คำว่า”แม่กิน” ก็หมายถึงว่าเด็กต้องการกินของที่แม่ถือมา หรือ คำว่า “หมาไป” ก็เป็นการไล่หมาให้ไปไกลๆ หรือ คำว่า “พ่องาน” หมายถึงว่า พ่อไปทำงานแล้วเป็นต้น 5. เริ่มพูดได้เป็นประโยค คือหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการดังกล่าวในข้างต้นจนถึงสามารถพูดได้เป็นประโยค โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เห็นเพียงว่าตลก น่าหัวเราและไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะจำประโยคนั้นไปพูดอีกจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง จึงมีกำหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย
..........................................................................................................................................

นางสาวจุฑามาศ นาคมูล
No. 47031020146
Eng ed. 3

No comments:

Blog Archive