Sunday, January 14, 2007

Midterm paper (Nucharin Siwichai 47031020111)

Applied Linguists
Test on Language Acquisition
1. Explain the differences & Similarities of first language Acquisition and second language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen.
1.) ภาษาที่หนึ่ง ( First Language Acquisition ) เป็นภาษาที่เรียนรู้มาตั้งแต่เกิดจะคนทุกๆคนเริ่มซึมซับภาษามาตั้งแต่เกิด ซึ่งหัดพูดจากที่พ่อแม่สอนโดยเริ่มจากคำง่ายๆก่อน เช่นคำว่า ดา ตา ปา เป็นต้น หรือซึมซับจากสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่ ดังนั้นภาษที่หนึ่ง( First Language Acquisition) มนุษย์จะถนัดและรู้มากกว่าภาษาที่สองเพราะภาษาที่หนึ่ง ( First Language Acquisition) ใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัน.
นอม ชอมสกี (Noam Chomsky) เจ้าสำนักโดยพฤตินัยกล่าวไว้ว่า ภาษา คือ ภาษาเป็นสิ่งมีความละเอียด ซับซ้อน ภาษาและความรู้ทางภาษาซึ่งแบ่งออกมาเป็นความรู้ทางเสียงทางไวยากรณ์และความหมาย เป็นต้นเป็น ลักษณะเฉพาะของมนุษย์เท่านั้นเมื่อตอนเด็กได้รับประสบการณ์(Exposed to any language) ภาษาใดมาบวกกับอุปกรณ์ทางภาษาที่มีอยู่แล้วก็ทำให้เด็กเรียนรู้กับองค์ความรู้ทางภาษานั้นขึ้นมาใช้หรือสภาพแวดล้อมทางภาษาที่เป็นธรรมชาติ(Natural Human Environment)มีหลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้เด็กไม่สามารถตั้งคุณลักษณะเฉพาะทางภาได้หากเด็กได้อยู่ในสังคมหลากหลายและมีการใช้ภาษาหลากหลายจะยิ่งทำให้สับสนยิ่งขึ้นแต่ปรากฏว่าเด็กค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้เป็นอย่างดี
2.) ภาษาที่สอง ( Second Language Acquisition) เป็นภาษาที่มนุษย์เรียนรู้จากการลอกเลียนแบบ หรือซึมซับจากบุคคลอื่นแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ หนังสือ ครู-อาจารย์ เจ้าของภาษา ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งการเรียนภาษาที่สองจะยากกว่าภาษาที่หนึ่งเป็นอย่างมากเพราะต้องอาศัยความเพียรพยายามของผู้เรียนเป็นอย่างมาก

the differences & Similarities of first language Acquisition and second language Acquisition
- Speed
Acquiring a second language can be a lifelong learning process for some; despite their best efforts, most learners will never become fully native-like in the second language. Children, however, by around the age of 5, have more or less mastered their first language, with the exception of vocabulary and a few grammatical structures.


- Stages
Acquiring a second language occurs in systematic stages. Much evidence has been gathered to show that basic sounds, vocabulary, negating phrases, forming questions, using relative clauses, and so on are developed. This development is independent from input (we do not hear nor read language in this order), independent from learning situation (in the classroom or on the street), and is generally applicable across a spectrum of learners (from different language backgrounds). This is similar to the learning stages that babies go through when acquiring the first language: babbling (bababa), vocabulary (milk then later milk drink), negation (no play), question forming (where she go), and so on.

- Correction
Error correction does not seem to have a direct influence on learning an L2. Instruction may affect the rate of learning, but the stages remain the same. Adolescents and adults who know the rule are faster than those who do not.
In the first language, children do not respond to systematic correction. Furthermore, children who have limited input still acquire the first language.

- Depth of knowledge
Learners in the first or second language have knowledge that goes beyond the input they received, in other words, the whole is greater than the parts. Learners of a language are able to construct correct utterances (e.g. phrases, sentences, and questions) that they have never seen or heard before.
- Success
Success in language learning can be measured in two ways: likelihood and quality. First language learners will be successful in both measurements. It is inevitable that all first language learners will learn a first language and with few exceptions, they will be fully successful. For second language learners, success is not guaranteed. For one, learners may become fossilized or stuck as it were with ungrammatical items. (Fossilization occurs when language errors become a permanent feature. See Canale & Swain (1980), Johnson (1992), Selinker (1972), and Selinker and Lamendella (1978)). The difference between learners may be significant. Finally, as noted elsewhere, L2 learners rarely achieve complete native-like control of the second language.


2. Explain and present the relationship of the following terms
a. Critical Age Hypothesis(วัยในการเรียนรู้)
การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์จะอ่อนกำลังละจะหยุดลงได้เมื่ออายุ 12 ปี ขึ้นไป หากไม่มีประสบการณ์ทางภาษาและการเรียนรู้ภาษาในช่วงนี้ การเรียนรู้ภาษาและเกิดความรู้และการแสดงออกจะไม่สมบูรณ์ ข้อสมมติฐานอย่างหนึ่งของ Critical Age คือ เด็กติดตัวภาษาของสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับบ้านของพวกเขาโดยการทำตามและเรียนรู้กฎไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษานั้นโดยไม่รู้ตัวเด็กสามารถเรียนรู้โครงสร้างของภาษาพื้นฐานเท่านั้น พื้นฐานทางภาษาของการสื่อสารของมนุษย์ที่เป็นสากาลเกิดในช่วงวัยแรกรุ่นอายุประมาณ 12 ปี ยกตัวอย่าง เช่น เด็กที่พ่อของเธอเข้าใจว่า เธอเป็นเด็กปัญญาอ่อนก็เลยกักขังไว้ในบ้านโดยไม่ให้พบกับผู้คน ไม่มีประสบการณ์ทางภาษา ขณะนั้นเธออายุได้ 13 ปี และต่อมาเธอก็ไม่สามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือ ปัจจัยที่นักวิชาการสรุปว่า เมื่อเลยอายุ 12 ปี ไปแล้วการเรียนรู้ภาษาก็จะไม่สมบูรณ์แบบ

b. Innateness theory
เด็กที่มีความสามารในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่กำเนิด ส่วนสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็กเป็นสิ่งที่เสริมกำลังใจเสริมแรงให้เด็กเรียนภาษาที่เด็กสามารถใช้มาตั้งแต่เด็กๆ เด็กมีสัญชาติญาณในการรับรู้และพัฒนาการของสมองตามสภาพ แวด ล้อม บริบทที่เป็นอยู่และมีภาษาที่ 1 อยู่ เป็นการที่เด็กเรียนรู้ตามสัญชาตญาณว่า อยู่ในสิ่งแวดล้อมไหนก็จะเรียนรู้ตามสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เช่น เด็กเกิดที่ประเทศไทย เด็กก็จะพูดภาษาไทยได้ และจะมีการเรียนรู้ได้ตามลำดับ ตามช่วงอายุของเด็ก


c. Universal Grammar (ไวยากรณ์สากล)
ไวยากรณ์สากล คือ ทฤษฎีของหลักการทางภาษาศาสตร์ของไวยากรณ์ของภาษาทั้งหมดที่ว่า ความคิดที่มีมาแต่กำเนิดของมนุษย์และอธิบายถึงการรับภาษาธรรมดา และไม่ได้อ้างว่า ภาษามนุษย์ทั้งหมดมีไวยากรณ์ที่เหมือนกัน คือ ด้วยโครงสร้างที่เป็นพื้นฐานของนิพจน์ของแต่ละคนและแต่ละภาษาของมนุษย์ Universal Grammar เสนอกฎเพื่อใช้อธิบายว่า เด็กๆได้ภาษาของพวกเขามาอย่างไร ภาษาคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงและมีความเป็นสากล ไวยากรณ์สากลเป็นทฤษฎีหรือหลักการสมมุติทางภาษาศาสตร์ที่ถูกแยกออกมาจากตัวภาษาทั้งหมด ทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่าภาษาของมนุษย์ทั้งหมดนั้นมีไวยากรณ์ที่ไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยเพราะพื้นฐานของภาษาอยู่คนละภาษากัน หรือมนุษย์มีตัวกำหนดโครงสร้างในตัวภาษาในตัวของภาษาเอง ส่วน Universal Grammar เป็นตัวกำหนดกฎที่ตายตัวไว้ใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการเข้าใจร่วมกัน เหมือนกันในระหว่างต่างชาติต่างภาษา แต่ถ้ามาพบกันแล้วใช้ไวยากรณ์สากล ก็จะสามารถเข้าใจกันได้ ถึงแม้ว่าจะมีภาษาที่ 1 ไม่เหมือนกันแต่ถ้ามาสื่อสารโดยใช้ไวยากรณ์สากล ก็จะเข้าใจไปในแนวทางกันได้ อย่างในความคิดของโรเจอร์ เบคอน เขาสังเกตพบว่า ภาษาทั้งหลายนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยไวยากรณ์ที่มีส่วนคล้ายๆกัน โดยทั่วไปภาษาทั้งหมดมีความเหมืนกันถึงมีว่ามันจะถูกแปรผันไปโดยบังเอิญ และศตวรรษที่ 13 ก็มีนักไวยากรณ์ครุ่นคิดตามที่ความคิดของเกี่ยวกับกฎที่เป็นสากลกำหนดไวยากรณ์ทั้งหมด ข้าพเจ้าคิดว่า ไวยากรณ์สากลเป็นการปรับตัวภาษาให้มีแนวทางที่สอดคล้องกัน เชื่อมโยงต่อเนื่องกันเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีภาษาไม่เหมือนกันเป็นระบบที่รองรับตัวภาษาที่มารองรับที่สร้าง competence, performance

d. Parameter Setting
คือการ Set คำว่าคำนี้ควร อยู่ตรงไหนของประโยค หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละภาษาว่าควรวางก่อนวางสระ เช่นคำว่าผู้หญิงสวย ก็คือ Beautiful girlไม่ใช่ girl beautiful หรือประโยคคำถาม What do you do? เราไม่ใช่ถามว่า Do you what ?
ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นนั้นเรารู้ว่าคำนี้วางตรงไหนควรวางไว้หน้าหรือข้างหลัง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมใดๆก็จะค่อยๆปรับคุณลักษณะเฉพาะทางภาษาในภาษานั้น สิ่งที่เด็กค่อยๆปรับมาเป็นความรู้ที่อยู่ตัวเราในภาษานั้น ก็จะทำให้แสดงออกทางภาษาได้อย่างดี เด็กจะมี Perception คือ เมื่อฟังเสียงอะไรไปก็รับเอาภาษานั้นเข้าไปแล้วมีการปรับตัว Set ค่าให้เข้ากับตัวภาษา เพราะภาษาไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นข้อจำกัดของภาษา ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้นที่มีสัญชาตญาณแต่สัตว์ก็มีสัญชาตญาณแสดงการรับรู้ รับความรู้สึกกับสิ่งแวดล้อม เช่น อย่างปลาโลมาที่มีคลื่นบอกถึงการเตือนภัยหรือ บอกถึงแหล่งอาหารแต่ไม่ได้พูดแสดงหรือมนุษย์จะแสดงท่าทาง สัตว์อาจรู้ว่าเราพูดอะไรกับมันแต่มันพูดกับเราไม่ได้ มนุษย์มีเครื่องมือในการรับภาษาแต่สัตว์ไม่มีเครื่องมือรับภาษา

3. Revisit the following hypotheses
a. Acquired System and Learned System? How are they manifested in SLA?
Acquired System คือ ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ เป็นผลจากการเรียนรู้แบบไม่ตั้งใจเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทางภาษามากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่ 1 การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ (Meaningful Interaction)โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยาการณ์มาจับในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า (Communicative Act.)
Learned System คือ ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือมีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการเช่น กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษาหรือความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์(Knowledge about the Language)

How are they manifested in SLA?
ระบบ Acquired นั้นจะเป็นการซึมซับซึ่งถือว่าเราซึมซับทางภาษาที่หนึ่งก่อนแล้วมาเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สองและเริ่มเรียน Learned System ในตัวของภาษาที่สองซึ่งการรับของภาษานั้นถือได้ว่าทั้งสองระบบทั้งการเรียนรู้แบบ Acquired กับการเรียนรู้แบบ Learning นั้น Krashen เห็นว่าผู้ทีจะเรียนภาษาที่สองได้ดีต้องอาศัยทั้งสองระบบนี้ เอาระบบ Acquired เป็นตัวพื้นฐานของภาษาและใช้ Learning System เป็นปัจจัยเสริมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนภาษาที่สองได้ดีและมีประสิทธิภาพ
หากต้องแบ่งบทบาทของ Acquired System และ Learned System แล้วสิ่งที่เป็นตัวแสดงออกทางภาษาหรือที่เรียกว่า Initiator Utterance คือAcquisition หรือสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วก็คือตัวของภาษาที่หนึ่ง ความรู้ที่ได้มาตั้งแต่กำเนิด ส่วนการตรวจสอบและปรับปรุงเพิ่มเติมการแสดงออกทางภาษาก็คือ Learned System ในการเรียนรู้ภาษาที่สองนั้นถึงว่าเราจะเรียนรู้ไม่ได้ดีเท่ากับเจ้าของของภาษา แต่เราสามารถเรียนรู้ได้และรับเอาภาษาอื่นมาเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์ทางภาษานอกจากภาษาที่หนึ่งได้ แต่ถ้าเราไม่จัดระบบของการรับภาษาให้ดี สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว Acquired System จะถูกทำลายไปบ้างจากที่เรามี 100% แต่ถ้าเราเอาภาษาอีกภาษาหนึ่งมาก็จะเกิดความซับซ้อนเกิดขึ้น เราเรียนภาษาไทยมาตั้งแต่เกิดแต่ถ้ามาเรียนในโรงเรียนเราต้องมีการเรียนภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาที่1 ,2, 3.....ไปเรื่อย ๆเพราะการเรียนรู้ของคนเราไม่ได้จำกัด เหตุที่คนเราเรียนรู้ได้หลายภาษาเพราะมนุษย์มีเครื่องมือในการรับภาษา การเรียนรู้ภาษา 2 ภาษาพร้องกันจะทำให้ภาษาที่หนึ่งเกิดการเรียนรู้ไม่สมบูรณ์ หรืออาจทำให้ทั้งสองภาษาไม่สมบูรณ์ก็ได้ ภาษาที่สองเราจะใช้ความจำเป็นส่วนใหญ่ เพราะเราเข้าใจภาษาอื่นยากซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้


b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language
acquisition require this qualification?
Monitor Hypothesis คือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ สมมติฐานนี้ตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบAcquisition กับการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบในตัวภาษาตัวที่แสดงออกในตัวของภาษา คือ ระบบในการเรียนรู้หรือความรู้ทางไวยากรณ์ต่าง ๆในข้อนี้ทำหน้าที่วางแผน ปรับปรุง แก้ไขและแสดงออกทางภาษาให้ดีขึ้น ซึ่งผู้เขียนต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการดังนี้ คือ
1) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางในการปรับปรุง
3) ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา
เมื่อมีปัจจัยทางภาษาทั้ง 3 ประการนี้ ผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและตั้งสมมติฐานตรวจสอบเกิดขึ้นเอง ใช้ในกรณีที่ผู้เรียนใช้ภาษาไม่ถูกต้องและหลุดกรอบออกไปจากการสื่อสารปกติ Krashen ได้แบ่งคนที่ใช้ในการตรวจสอบเป็น 2 พวกด้วยกัน คือ
1) พวกที่มีบุคลิกภาพโดดเด่น พูดเก่ง มากกว่าคนอื่น ๆก็จะใช้การตรวจสอบหรือเป็นพวก Under users
2) พวกที่ชอบเก็บตัว ( Introvert ) หรือผู้ที่เน้นความถูกต้องทุกระเบียดนิ้ว (Perfectionist ) ก็จะใช้การตรวจสอบมาก หรือเป็นพวก Over users
จะเห็นว่า Extrovert จะมีแนวโน้มใช้การตรวจสอบน้อยเนื่องด้วยเพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ในตัวภาษามาก ไม่จำเป็นต้องใช้การตรวจสอบอีก หรือมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ในตัวภาษามาก มีการนำเอาความรู้ในตัวไวยากรณ์ คำ ประโยคใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโครงสร้างของระบบ ใช้ภาษาอยู่ในกรอบของความถูกต้อง

Why do we need this hypothesis?
เหตุที่มีการใช้ข้อสมมตินี้เพราะสมมติฐานนี้ใช้เพื่อการตรวจสอบหรือปรับปรุงความถูกต้องของตัวภาษาและยังทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง แก้ไข และแสดงออกภาษาที่ดีขึ้น และเพื่อให้เด็กคำนึงถึงความถูกต้องของประโยค ไวยากรณ์ต่าง ๆโครงสร้างของประโยค ถึงแม้ว่าประโยคนั้น ๆหรือไวยากรณ์นั้นจะสื่อความหมายให้คนอื่นรับรู้เช่นเดียวกัน แต่ในความถูกต้องไม่ได้ ซึ่งภาษาจะได้อยู่ในความถูกต้องในเรื่องของการสื่อสาร ภาษาจะได้ไม่เปลี่ยนแปลงไปด้วย และอีกอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นสากลเพราะเรามี Universal grammar แล้วเพื่อใช้ให้ภาษาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเข้าใจง่าย เราต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกันเพื่อความถูกต้องและใช้ประโยชน์จาก Universal grammar ด้วย

Does the First language acquisition require this qualification?
ภาษาที่หนึ่งก็ต้องการตรวจสอบความถูกต้องเหมือนกัน เพราะเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการพูดสื่อสาร ถึงแม้ว่าเราจะสื่อสารกับคนที่สื่อสารภาษาที่ 1 เหมือนกัน ก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับความถูกต้องด้วยเช่นกัน ต้องการการตรวจสอบภาษาเพื่อนำไปใช้เหมือนกัน แต่ไม่ต้องการมากเหมือนกับภาษาที่ 2 เพราะเรามีความรู้ในภาษาที่ 1 มากกว่า
เพราะเราเป็นเจ้าของภาษาอีกอย่างถ้าเราได้รับความรู้ที่ถูกต้องมาได้ประสบการณ์ของภาษาซึมซับมาอย่างถูกต้องการใช้ภาษาของเราก็จะไม่ผิดพลาดก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบภาษาเหมือนภาษาที่ 2 ของเราก็ได้ แต่ถ้าเรามีอุปสรรคการซึมซับหรือมีปัญหาในการซึมซับภาษาที่ 1 ของเรามาตั้งแต่เด็กก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วย

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
คือสมมติฐานตัวเอื้อ/ตัวปิดกั้นการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยในการเรียนรู้ประกอบไปด้วย
แรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self Confidence) หรือ ความหงุดหงิด หรือความอดทนในการเรียนรู้(Anxiety)
ด้านแรงจูงใจ ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียน มีความสนใจ มีอะไรที่ดึงดูดความสนใจที่จะเรียนก็จะทำให้การเรียนรู้ได้ดี มีประสิทธิภาพ แต่ถามีแรงจูงใจต่ำก็จะมีการเรียนรู้ที่ไม่ดีไม่อยากเรียนทำให้การเรียนในภาษาที่ 2 ไม่ประสบความสำเร็จ
ด้านความมั่นใจ ถ้าไม่มีความมั่นใจก็จะเรียนแบบขอไปที ขาดความมั่นใจ เช่น การออกเสียงภาษาอังกฤษถ้าเราไม่กล้าขาดความมั่นใจ เราก็จะพูดไม่ได้และไม่เหมือนเจ้าของภาษาของเขาแต่กลับทำให้เรามีความมั่นใจ กล้าพูดฝึกพูดบ่อยๆ เราก็จะพูดได้ซึ่งก็จะไม่ตัวปิดกั้นการเรียนรู้ของเลย
ด้านความอดทนในการเรียนรู้ ข้อนี้สำคัญเพราะถ้าตัวเรามีปัญหา อ่านไม่ออก ออกเสียงไม่ได้แล้วเกิดท้อหมดความอดทนในการเรียนรู้เอาง่ายๆ แล้วก็จะไม่อยากเรียนตัวรับภาษาก็จะถูกปิดกั้นการรับภาษา
What do you think about this?
การเรียนของเรานั้นอาจจะมีบางครั้งที่เจออุปสรรค เพราะในขณะที่เราซึมซับเอาภาษาที่ 1 เราก็ยังเจอตัวปิดกั้นความรู้ การเรียนรู้เหมือนกัน เช่น บางคนหูพิการ พูดไม่ได้ แต่ก็ยังอยากพูด ซึ่งในการรับเอาภาษาที่ 2 นั้น ก็เช่นจะไม่มีตัวปิดกั้นความรู้ แต่เราก็มีความพยายาม หมั่นฝึกฝน หมั่นค้นคว้าหาความรู้มาเพิ่มเติม พยายามเสริมแรงจูงใจให้กับตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ต้องแก้ไขพฤติกรรมโดยการเสริมแรงทางบวก เมื่อพฤติกรรมดีขึ้นก็จะพัฒนาและปรับปรุงพฤติกรรมอีกทีหนึ่ง เช่น การให้กำลังใจเด็ก เมื่อเด็กออกเสียงไม่ได้ แทนที่จะด่าและบ่นให้เด็กหมดความสนใจ พยายามพูดให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเรียนต่อ เราต้องสังเกตดูเด็กว่าเด็กมีปัญหาในการรับรู้หรือไม่ อย่างเด็กเกิดความมั่นใจก็พยายามออกมานอกห้อง หน้าชั้นเรียนเพื่อฝึกความเคยชิน และชมให้เขาก็สามารถพูดได้ เด็กก็จะเริ่มกล้าที่จะพูด ส่วนด้านความอดทนก็ต้องมีกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความเบื่อหน่าย เพราะเด็กบางคนอาจไม่ชอบเรียนรู้ภาษาที่ 2 และคิดว่าเรียนรู้ได้ไม่ดี ก็ควรมีกิจกรรม เกมเพื่อเสริม ปรับความรู้สึก เจตคติต่อตัวภาษาของเด็ก

4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated.

อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัว
ช่วง 6 เดือนแรก เด็กจะพยายามแยกเสียง
ช่วง 6 เดือนหลัง เด็กจะเริ่มจับความหมายการรับรู้ของเด็กจะเหมือนกับผู้ใหญ่ สมมุติ E กับ A เด็กที่อยู่สภาพแวดล้อมที่พูดภาษาอังกฤษได้
เด็กจะรู้ความหมายแต่พูดไม่ได้
ช่วง 8-10 เดือน เด็กเกินกว่าครึ่งกว่า ครึ่งสามารถแยกเสียงได้
ช่วง 10-12 เดือน เด็กจะแยกแยะเสียงไม่ได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอีก เด็กก็จะสามารถเริ่มแยกเสียงได้อีกครั้ง ในช่วงหลัง 12 เดือน ระบบการเคลื่อน
ไหวทำงานได้ดีขึ้นการแยกแยะการออกเสียง ได้ดีขึ้น


No comments:

Blog Archive