Sunday, January 14, 2007

Miterm paper น.ส. พิมพ์ใจ จ๊อดดวงจันทร์

Applied Linguistic
Test on Language Acquisition
1. Explain the differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen
ตอบ สิ่งที่ต่างกันระหว่าง First Language Acquisition และ Second Language Acquisition คือ Noam Chomsky เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนที่เกิดมานั้นจะมีภาษามากับยีนส์ของคู่กับมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า อุปกรณ์ทางภาษา ( Linguist Acquisition Device -LAD ) จึงทำให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และมีการแสดงออกทางภาษาที่เป็น First Language ได้ แต่ Krashen เชื่อว่า เด็กที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการแสดงออกทางภาษา Second Language ได้เป็นอย่างดีนั้นเป็นเพราะการเรียนรู้แบบซึมซับ นั่นคือ การเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจแต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น โดยที่ผุ้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากว่า
สิ่งที่เหมือนกันระหว่าง First Language และ Second Language ก็คือ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเรียนภาษาที่ Noam Chomsky และ Krashen ได้กล่าวไว้ นั้นก็คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวนั้นจะเป็นตัวกำที่ทำให้เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดมล้อมนั้นๆ ก็จะมีการปรับคุณลักษณะเฉพาะทางภาษาในภาษานั้นสิ่งที่เด็กค่อย ๆ ปรับก็กลายมาเป็น Grammar หรือความรู้ ( Competence ) ในภาษานั้นและความรู้ที่ดีในภาษานั้นก็ทำให้เกิดการแสดงออกมาทางภาษาได้อย่างดี ( Performance )
……………………………………………………………………………………………………….
2. Explain and present the relationship of the follow terms
a. Critical Age Hypothesis
ตอบ Critical Age Hypothesis (สมมติฐานในการเรียนรู้ภาษาในช่วงอายุที่เหมาะสม )
กล่าวถึงเด็กมีความสามารถพิเศษในการรับรู้ทางด้านภาษาโดยเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปีจนถึงอายุประมาณ 13 ปี แต่ในการศึกษาภายหลังกล่าวว่าการเรียนรู้ทางด้านภาษาเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุประมาณ 5 ปี
- เด็กจะต้องใช้เวลาในเรื่องศึกษาภาษามากพอสมควร
- เด็กจะเรียนรู้ภาษานั้นได้ดี ถ้าพวกเขาได้เรียนรู้จากที่บ้านของเขาเองโดยการเรียนแบบ หรือมีพรสวรรค์ในการใช้ภาษา
- ขีดจำกัดและกฎข้อบังคับจะเป็นหัวใจหลักของการพูดภาษา

b. Innateness theory
ตอบ ทฤษฎีที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ทฤษฎีนี้ได้เสนอเกี่ยวกับ การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ขณะการเลียนแบบและการให้กำลังใจก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนภาษา ความสามารถในการเรียนภาษานั้นจะมีมาตั้งแต่กำเนิด โดยปกติโดยทั่วไปแล้วเด็กจะเรียนรู้ภาษาและพูดภาษานั้นได้ต้องมีช่วงอายุที่เหมาะสม เราสามารถจะเปรียบเทียบการเรียนภาษาของเด็กกับการที่เด็กได้เรียนรู้วิธีการเดินขึ้นเวทีอย่างมั่นใจ ทั้งสองอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นก็ต้องอาศัยความพยายามของเด็ก การที่เด็กจะพูดภาษาได้เร็วนั้น เด็กจะต้องเรียนรู้วิธีการพูดที่ดีพอสมควรเพื่อที่จะสื่อสารและมีการสนทนาเป็นประจำ โดยต้องมีอายุประมาณ 3 ปี ถ้าเด็กมีอายูต่ำกว่านี้จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในการพูดของผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่มีการพุดเร็ว ใช้ภาษาแสลง และภาษาที่ฟังแล้วสับสน การย่อประโยค อาจจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ไวยากรณ์ที่ผิด ดั้งนั้นก่อนจะมีการสอนเด็กควรจะมีการแก้ไขประโยคต่าง ๆ ให้ถูกต้องก่อนมิฉะนั้นแล้วอาจจะทำให้เด้กจะได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ตัวอย่างเช่น
เด็กคนแรก มักจะใช้คำว่า “ yes ” ในการยืนยัน หลังจากนั้นก็เริ่มพูดคำว่า “oh yeah” แต่คนอื่นๆในครอบครัวจะชอบพูดคำว่า “ yup ” , “ un-huh ” , “ yeah” , “ okay ” , “ sure” ในเหตุการณ์ต่าง ๆ
เด็กคนที่สอง จะตอบ “ yes ” เมื่อถามว่าต้องการคุกกี้ไหม?
เด็กคนที่สาม น่าจะใช้คำว่า “ yes ” ซึ่งเป็นการเหมาะสมกว่าการใช้คำว่า “ huh ” แต่อาจเป็นไปได้ว่าเขาไม่ได้เรียนรู้วิธีการการใช้คำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกและอาจมีผลมาจากสิ่งแวดล้อม
แต่ความเป็นจริงแล้วเด็กทั้ง 3 คนนี้น่าจะพูดว่า “ yes please” จะเป็นการเหมาะสมมากกว่า เป็นต้น
การเขียนไม่ได้เป้นกระบวบการที่มีมาตั้งแต่กำเนิด การเขียนเป็นการบรยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ซึ่งทำให้เราสามรถสืบเสาหาข้อมูลได้ และต้องมีการเรียนการสอนเป็นพิเศษ ถ้าเปรียบเทียบกับการพูดนั้น การพุดไม่จำเป็นที่จะได้รับการอบรม หรือ ฝึกฝนเป็นพิเศษ ความสามารถในการพูดนั้นจะมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ฯอกจากนี้ Noam Chomsky ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการที่เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด ซึ่งเขาเรียกว่า อุปกรณ์ทางภาษา
( Linguist Acquisition Device -LAD ) เขาได้อ้างถึง LAD กับการเชื่อมต่อกับภาษาสากลและได้มีการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และได้เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำการสิ่งที่เขาได้ยินรอบตัวของเขา ทฤษฎีนี้ยากแก่การทำการทดสอบ Noam Chomsky ยอมรับว่ามีอิทธิพลบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีนี้
เช่น สิ่งแวดล้อม และการให้กำลังใจ ก็มีส่วนในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก


c. Universal Grammar
ตอบ เชื่อว่าสมองของมนุษย์มีกลไกที่จะจัดการด้านภาษาถึงแม้แต่ละภาษาจะมีโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างกัน โดยเด็กสามารถเรียนรู้ที่จะสื่อสารและเรียนรู้ที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเองได้
d. Parameter Setting
ตอบ Parameter Setting คือ ข้อจำกัดในการที่จะเรียนรู้ภาษานั้น ๆ จะต้องมีค่า set เฉพาะ
โดยแต่จะคนจะมีข้อจำกัดในการเรียนรู้ภาษานั้น ๆ ไม่เท่ากัน
…………………………………………………………………………………………………….
3. Revisit the followimg hrpothese
a. Acquired system and Learned System ? How are they manifested in SLA ?
ตอบ Krashen ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบบซึมซับ( Acquired System) และ การเรียนรู้อย่างตั้งใจ( Learned System ) มีผลต่อผู้เรียนภาษาที่สอง การที่ผู้เรียนมีการแสดงออกมาทางภาษาที่สองได้ดีนั้นก็มีผลมาจากการเรียนรู้แบบซึมซับ( Acquired System) และ การเรียนรู้อย่างตั้งใจ( Learned System )
การเรียนรู้แบบซึมซับ( Acquired System) นั้นเป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจแต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้แบบวึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่นำกำเกณฑ์ทางไวยากรณืมาใช้ในการสนทนาแต่สนใจไปที่ประดยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า
การเรียนรู้อย่างตั้งใจ( Learned System ) เป็นระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือมีการสอนกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ระบบนี้ Krashen เห็นว่าไม่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาที่สองเหมือนกับการเรียนรู้แบบซึมซับ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้ดีนั้นมาจากการเรียนรู้แบบซึมซับไม่ได้มาจากการเรียนรู้แบบอย่างตั้งใจ
b. Monitor Hypothesis ? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition required this qualification ?
ตอบ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ ( Monitor hypothesis ) เป็นการตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบซึมซับ กับการเรียนรู้ แบบอย่างตั้งใจ นอกจากนี้ยังได้แสดงถึงอิทธิพลของระบบการเรียนรู้แบบอย่างตั้งใจ ที่มีต่อกรเรียนรู้แบบซึมซับ
Monitor Hypothesis ได้แสดงถึงอิทธิพลของคำระบบหนึ่งที่มีต่อระบบหนึ่ง ระบบการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นหรือเป็นผลโดยตรงจาการเรียนรู้อย่างใส่ใจ ถ้าจะแบ่งบทบาทหน้าที่ของ การเรียนรู้ แบบซึมซับและการเรียนรู้อย่างตั้งใจแล้ว สิ่งที่เป็นการแสดงออกทางภาษาที่เรียกว่า Initiator Utterance คือ การซึมซับ ก่อนแล้ว ตัวที่ตรวจสอบการหรือปรับปรุง( Monitor or Editor ) ที่แสดงออกมาทางภาษาก็คือ การเรียนรู้อย่างตั้งใจ หรือความรู้ทางไวยากรณ์ ตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุงการแก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้นเมื่อมีการประจวบเหมาะกันของปัจจัยทั้ง 3 ประการคือ
1.) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างพอเพียง
2.) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุง
3.) ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา
เมื่อใดที่ผู้เรียนมีปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ ผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและสมมติฐานการตรวจ
สอบจะเกิดขึ้นเอง Krashen เห็นว่าควรให้ความสำคัญที่เป็นเรื่องราวโดยเฉพาะประเด็นที่ว่า การเรียนรู้แบบใส่ใจ ควรปล่อยให้เป็นเรื่องราวของผู้เรียนเองที่จะแก้ไขให้สมบูรณ์แบบในการใช้ภาษา
Krashen ได้ใช้ปัจจัยทางจิตวิทยาหรือบุคลิกภาพของคนมาจัดกลุ่มผู้เรียนภาษาที่สองออกเป็น 3 กลุ่ม โดยดูจากพฤติกรรมการนำการตรวจสอบ Monitoring System เข้าไปใช้
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่ใช้การตรวจสอบตลอดเวลา ( Over –users )
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ยังไม่ได้สร้างความรู้ทางภาษาและไม่ชอบที่จะนำเอาสมมติบานการตรวจสอบทางภาษามาใช้ ( Under –users)
กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่เรียนรู้และใช้การตรวจสอบอย่างเหมาะสม ( Optimal users )
คนที่มีบุคลิกภาพโดเด่น พูดเก่ง หรือ แสดงออกมากว่าคนอื่น ๆก็ใช้ความตรวจสอบน้อย ในขณะพวกที่เก็บตัว หรือ ผู้ที่เน้นความถูกต้องทุกกระเบียดนิ้วก็จะใช้การตรวจสอบมาก
เหตุผลที่ต้องการทฤษฎีนี้ คือ การที่เราจะสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจตรงกันก็ต้องรู้จักการตรวจสอบการใช้หลักไวยากรณ์นั้นก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง








c. Affective Filter hypothesis ? What do you do think about this ?
ตอบ Affective Filter hypothesis คือ สมมติฐานที่เป็นตัวเอื้อ หรือ ตัวที่ปิดกั้นการเรียนรู้
ปัจจัยการเรียนรู้เหล่านี้จะประกอบไปด้วย แรงจูงใจ ความใจ หรือความหงุดหงิด หรือการเรียนรู้ คือ ผู้เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูง ความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองอย่างประสบความสำเร็จใน ทางตรงกันข้าม ถ้าผู้เรียนที่มีแรงจูงใจต่ำ ความมั่นใจต่ำ ความเครียดสูง ก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้ เมื่อมีตัวปิดกั้นก็จะทำให้ผู้เรียนมีปัญหาในการเรียนภาษาที่ 2
สมมติฐานนี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงวิธีการที่จะเรียนภาษาที่สองให้ประสบความสำเร็จคือ เราจะต้องมีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูง ความเครียดต่ำ จึงจะประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ภาษาที่สอง
………………………………………………………………………………………………….
4. Discuss the period of Language acquisition ( This should include the perception and production period). Case study or tangible examples are highly appreciated.
ตอบ
1-2เดือน - เด็กจะมีพื้นฐานและความรู้สึกในการแยกเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เห็นว่าเด็กจะมีส่วนประกอบของหูที่สมบูรณ์ในระยะเวลา 3 เดือน จึงทำให้เด็กสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในทางตรงกันข้ามในการมองเห็นของเด็กจะเริ่มต้นมองเห็นหลังจากการเกิด
ต่ำกว่า 4 เดือน - เด็กจะมีการดูดนมอย่างแรงถ้าได้ยินเสียงที่ทำให้ตกใจ
6-10 เดือน - เด็กจะมีการหันมามองในที่มาของเสียงถ้ามีเสียงที่คล้ายคลึงกันเด็กจะไม่มีการตอบสนองแต่ถ้ามีเสียงที่ต่างกันเด็กจะมีเสียงตอบสนอง
6 เดือน - เด็กจะมีการหันมามองในที่มาของเสียง
- ถ้ามีเสียงที่คล้ายคลึงกันเด็กจะไม่มีการตอบสนองแต่ถ้ามีเสียงที่ต่างกันเด็กจะมีเสียงตอบสนอง
จากผลการวิจัย
- เด็กสามารถแยกแยะเสียงที่ต่างกันได้ เช่น เสียง [ ta ] กับ [ da ]
- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงที่เป็นเสียงระเบิดได้
- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงที่เป็นเสียงที่เกิดจากทางนาสิกและไม่ได้เกิดจากทางนาสิกได้
- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงที่เกิดจากฐานกรณ์ต่าง ๆ ได้
- เด็กยังไม่สามรถที่แยกเสียงที่เกิดจากเสียงที่เสียดแทรกได้
6 เดือนแรก - พยายามแยกเสียงต่าง ๆได้ เช่น เสียงของพ่อ แม่
6 เดือนหลัง -เริ่มจับความหมายของคำ การรับรู้ของเด็กจะเหมือนกับการรับรู้ของผู้ใหญ่
สมมุติ E กับ A เป็นสระที่อยู่ในภาษาอังกฤษ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษก็จะรู้ว่าความหมายว่าเป็นอย่างไร
8– 10 เดือน - เด็กสามารถแยกเสียงได้
10 –12 เดือน เด็กจะไม่สามารถแยกเสียงได้ชั่วขณะ แต่เมื่อโตขึ้นมาอีกก็จะสามรถแยกเสียงได้อีก
12 เดือนหลัง- ระบบการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีขึ้นในการแยกแยะเสียง
กระบวนการในการออกเสียงทำงานได้ดีขึ้น เด็กยังแยกเสียงสูงต่ำไม่ได้
การพูดของเด็ก
2-4 เดือน เด็กยังแยกเสียงที่สูง-ต่ำ ไม่ได้ เริ่มมีเสียงพยัญชนะ สระ มากขึ้น เริ่มมีการล้อเลียนเสียง
ช่วง 1 ปีแรก
- อวัยวะทำงานได้ดีขึ้น
- สามารถออกเสียงพยัญชนะได้บ้าง
- เด็กจะสามารถทำเสียงที่เกิดจากริมฝีปากได้ดีกว่าที่อยู่หลังตรงลำคอ
- เสียงที่เป็นเสียงที่เสียดแทรกเด็กยังไม่สามรถทำได้ ส่วนมากเสียงที่เด็กสามารถทำได้ก็ คือ เสียงที่ใช้กล้ามเนื้อ
- สามารถที่จะพูดเสียงสระที่เป็นพื้นฐานได้ [ i a u ]
เด็กสามารถที่จะพูดคำที่ประกอบด้วยพยัญชนะ 1 ตัว และสระ 1 ตัว ได้


47031020165

E-mail jodduangchun@yahoo.com

No comments:

Blog Archive