Saturday, January 13, 2007

midterm paper (Kamlaitip Joojiam)

1. Explain the differences and similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen
Noam Chomsky เชื่อว่าคือมนุษย์มีภาษาที่ละเอียดซับซ้อนต่างจากสัตว์ การเรียนรู้ภาษาสามารถแบ่งออกเป็นความรู้ทางเสียง ทางไวยากรณ์ และความหมาย ซึ่งจะมีในมนุษย์เท่านั้น
Stephen D. Krashen เชื่อว่าการเรียนรู้ของภาษาที่สองนั้นเกิดขึ้นได้หลายทาง
1. การเรียนรู้แบบซึมซับ คือไม่ได้ตั้งใจเรียนแต่ได้ยิน ได้เห็น ได้รับรู้บ่อยๆ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ภายในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย
2. การเรียนรู้แบบต้องใส่ใจเรียนรู้ คือ มีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง ต้องเข้าชั้นเรียน เรียนในคาบ เป็นความรู้เชิงวิชาการ มีหลักสูตร
L1 ต่างจาก L2 คือ L1 จะเป็นภาษาในถิ่น ในท้องที่ ในสภาพแวดล้อมที่ทุกคนอยู่และเรียนรู้มาตั้งแต่เกิด โดยจะมี competence and performance ในตัวภาษาอยู่อย่างสมบูรณ์ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ แต่ที่ต้องเรียนเป็นเพราะต้องปรับโครงสร้างทางภาษาให้สมบูรณ์ถูกต้อง เช่น ในเรื่องของการอ่าน การเขียน ส่วนการพูดทุกคนแสดงออกมาได้ดีอยู่แล้วและจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆเมื่อได้รีบการเรียนรู้เพิ่มขึ้น L2 เป็นภาษาที่เพิ่งจะมาเรียนรู้ในภายหลังทำให้ ship ทางภาษาสูญเสียไปบ้างและ competence ที่มีอยู่ในตัวก็ลดลงด้วยเป็นผลให้ performance ที่แสดงออกมาจึงได้ไม่ดีเท่าที่ควรจึงขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ยิ่งถ้ามาเรียนรู้ภาษาที่สองตอนที่อายุเกิน 2 ขวบไปแล้วจะทำให้ความสามารถทางภาษาลดลงด้วย
L1 เหมือน L2 คือ ภาษามีความเป็นสากลสามารถเรียนรู้ได้ ถ้าอยากให้ใช้ภาษาได้ดีต้องได้รับการฝึกฝนอยู่เสมอๆ โดยถ้าเรียนรู้โดยการซึมซับจะทำให้เรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในห้องเรียนที่เคร่งเครียด
2. Explain and present the relationship of the following terms
a. Critical Age Hypothesis หมายถึง สมมติฐานเรื่องอายุมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ภาษา โดยถ้าอายุเกิน 2 ขวบไปแล้ว ship ภาษาที่มีอยู่ในตัวมนุษย์จะลดลง ทำให้ความสามารถทางภาษาลดลง เช่น การออกเสียงจะเป็นปัญหามาก แต่ถ้าจับเด็ก 5 ขวบ มาเรียนภาษากับเด็กอายุ 18 ปี พร้อมกันไม่ได้หมายความว่าเด็กจะเก่งกว่าผู้ใหญ่ แต่หมายความว่าเมื่อเรียนไปนานเด็ก 5 ขวบ จะสามารถออกเสียงได้ดีกว่าเด็กที่เรียนตอนอายุ 18 ปี คือจะส่งผลระยะยาว เพราะการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์จะอ่อนกำลังลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
b. Innateness theory หมายถึง ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด
เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนภาษาแต่กำเนิด เพราะเป็นสิ่งที่เด็กได้ยินทุกๆวันจนเป็นการเรียนรู้แบบซึมซับ
สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กและการให้กำลังใจ การเสริมแรงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษา และเด็กก็มี ship ทางภาษามาตั้งแต่เกิดมาอยู่แล้วทำให้การเรียนรู้ทางภาษาดีขึ้นทำให้เด็กพูดได้
ช่วงอายุก็มีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ทางภาษาด้วย
c. Universal Grammar หมายถึง ภาษามีความเป็นสากล มีโครงสร้างทางภาษาทำให้เกิดการเรียนรู้ได้จึงเกิดการเรียนรู้ L2 ขึ้นมา คือนักภาษาศาสตร์เชื่อว่าทุกๆคนมีการดำเนินชีวิตเหมือนๆกัน ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างถิ่น แต่ก็มีคำที่ใช้สื่อความหมายในทำนองเดียวกันได้ เช่น ในทุกๆที่มีน้ำเพื่อการดำรงชีวิต ในต่างชาติ ต่างภาษาก็จะเรียกคำว่าน้ำต่างกัน แต่หมายถึงสิ่งเดียวกัน เช่น ภาษาไทย กิน ภาษาอังกฤษ eat ภาษาจีน เจี๊ยะ ก็มีถึงกริยาอาการเดียวกัน
d. Parameter Setting หมายถึง การปรับลักษณะเฉพาะทางภาษา คือทุกภาษามีโครงสร้างการเรียงไวยากรณ์ไม่เหมือนกันเมื่อเด็กได้มีการเรียนรู้แล้วจะมีการพัฒนาภาษาขึ้นเรื่อยๆ เด็กจะพูดคำที่เป็น content word ได้ก่อน function word แต่จะมีการพัฒนา grammar มาเรื่อยๆเมื่อได้รับการเรียนรู้ เช่น เด็กจะกล่าวถึงอดีต เด็กพูดว่า I goed. แปลว่ามีการเรียนรู้มาบ้างแล้วว่าถ้าอดีตต้องเติม ed แต่ถ้าได้เรียนรู้เพิ่มอีกก็จะรู้ว่า go went gone เด็กจะพูดได้ถูกต้อง
3. Revisit the following hypothesis
a. Acquired System and Learned System? How are they manifested in SLA?
ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับกับระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ คือระบบการเรียนรู้แบบซึมซับจะช่วยในการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนรู้แบบใส่ใจ เพราะเป็นการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและบรรยากาศก็เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นการสนทนาเป็นสำคัญไม่ได้เน้นเรื่องไวยากรณ์
การเรียนรู้แบบใส่ใจ เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน มีการสอนแบบจริงจัง เน้นกฎเกณฑ์เป็นหลักทำให้เกิดความเครียดผลที่ตามมาก็คือไม่อยากเรียนรู้ แต่ระบบนี้ก็มีความสำคัญอยู่มากไม่ควรตัดออก
b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition require this qualification?
สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ เราต้องการการตรวจสอบเพื่อวัดความสามารถทางการใช้ภาษาว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อแก้ไขการที่ผู้เรียนใช้ภาษาผิดหลุดกรอบมากเกินไปเกินว่าที่การสื่อสารแบบธรรมดายังยากที่จะเข้าใจ แบ่งการตรวจสอบเป็น 3 พวก
1. ตรวจสอบแบบตลอดเวลา เป็นพวกเก็บตัว
2. ตรวจสอบอย่างเหมาะสม มีบุคลิกภาพโดดเด่น
3. ไม่ใช้การตรวจสอบ เป็นพวกที่พูดโดยไม่คิด ชอบที่จะพูด
ภาษาที่หนึ่งไม่ต้องการการตรวจสอบมากนักเพราะส่วนใหญ่ทุกคนมีความสามารถทางด้านนี้ดีอยู่แล้ว ยกเว้นคนที่มีปัญหาเรื่องการรับรู้ทำให้ต้องมีการวัดความสามารถอยู่เสมอ เพราะการตรวจสอบทางภาษากับบุคคลเหล่านี้จะทำให้ความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้น แต่ไม่ควรจับผิดมากเกินไปทั้งในคนปกติและคนที่มีปัญหา จะทำให้บุคคลนั้นอายเมื่อพูดผิดเมื่อบอกให้พูดใหม่บ่อยๆมากขึ้นจะทำให้ไม่กล้าพูดคำนั้นอีกเลย การตรวจสอบทางภาษาจีงค่อยเป็นค่อยไป
c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
สมมติฐานเรื่องตัวเอื้อต่อการเรียนรู้/ตัวปิดกั้นการเรียนรู้
ตัวเอื้อต่อการเรียนรู้จะมีผลให้การเรียนรู้ภาษาที่สองเป็นไปได้ดี คือถ้าผู้เรียนมีกำลังใจ มีความมั่นใจ มีอารมณ์ขัน มีรางวัลที่น่าสนใจรออยู่ข้างหน้า ก็จะทำให้การเรียนรู้ภาษาที่สองมีพัฒนาการดีขึ้นด้วย
ตัวปิดกั้นการเรียนรู้จะมีผลให้การเรียนรู้ภาษาที่สองเป็นไปได้แบบไม่ดี คือผู้เรียนมีไม่มีความมั่นใจ อารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น วู่วาม ขี้โมโห ไม่มีสิ่งจูงใจที่ดีก็จะทำให้การเรียนรู้ภาษาที่สองมีพัฒนาการล่าช้า
4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated.
ช่วงระยะอายุในการพัฒนาภาษา
1. เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารพใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา
2. เด็กอายุ5-14เดือน จะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนพูด ใช้ท่าทางประกอบการพูด เช่น ชี้มือ เริ่มหัดออกเสียงโดยการเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน
3. ในช่วงอายุ 14-20 เดือน เด็กสามารถพูดคำเดียวหรือวลีเดียวได้ เพราะเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน
4. เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือน จะเริ่มพูดสองคำ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น แม่น้ำ หมายถึง แม่จะกินน้ำ
5. อายุ 24 เดือนขึ้นไปก็จะเริ่มพูดเป็นประโยคได้ โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก น่าหัวเราะและถ้าไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะพูดจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง โดยการเข้าศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย


กำไลทิพย์ จูเจียม 47031020162
เอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์
e-mail kpmink@yahoo.com

No comments:

Blog Archive