Sunday, January 14, 2007

midterm paper (วัชรีภรณ์ อุปนันไชย)

Applied Linguistics
Test on Language Acquisition

1. Explain the difference & similarities of first language acquisition and second language acquisition?Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D.Krashen
ภาษาแรก คือ ภาษาพื้นฐานที่เราได้เรียนรู้มาจากการซึมซับ และการเรียนรู้โดยตรง โดยมีพื้นฐานการเรียนรู้มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเราเรียนรู้ได้ดีมาก และเป็นเจ้าของภาษาเลยก็ว่าได้ ภาษาแรกเราเรียกว่า เป็นภาษาแม่ ซึ่งเราเกิดมาทุกคนก็เริ่มเรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด การใช้ภาษาในการสื่อสาร เป็นตัวกลางที่ทำให้มนุษย์เราได้เรียนรู้จักซึ่งกันและกัน ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน และจะแสดงออกถึงวัฒนธรรมของแต่ละภาคพื้นที่นั้นๆอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วภาษาก็จะมีหลากหลายสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่บุคคลที่อยู่ในเขตนั้นๆ ภาษานี้เราจะรู้จักเป็นอย่างดี และสามารถทำให้เราได้เรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นไปอีก สามารถทำความรู้จักได้มากเลยทีเดียว
ส่วนภาษาที่สองเป็นภาษาที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่ และอาจซึมซับมาเป็นส่วนน้อยเพราะว่าภาษาที่สองเป็นภาษาที่มาจากตะวันตกไม่ใช่ภาษาแม่ของเราโดยตรง เราได้รับภาษามาเพื่อนำมาใช้สื่อสารในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะด้านธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ และเราก็ได้ศึกษาเรียนรู้ภาษาที่สองพอสมควรแต่ไม่ลึกซึ้งมากเท่าที่ควรเหมือนภาษาแม่ของเรา มันไม่ได้เรียนอยากลึกซึ้ง เพียงแต่ว่าเราเรียนรู้มาเพื่อการสื่อสาร นำมาติดตัวเราเพื่อไปใช้โอกาสข้างหน้าเพื่อเราจะได้รู้จักกับเจ้าของภาษาโดยตรง ภาษาทั้งสองภาษามีความสัมพันธ์กันในด้านของการใช้ภาษาไว้ในการสื่อสารโดยตรง ภาษาที่สองนี้เราจะได้ซึมซับมาก็ต่อเมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรับรู้ เช่น การดูหนัง ไปเที่ยวประเทศผู้ที่พูดสื่อสารภาษาที่สองโดยตรง ภาษาที่สองจะไม่มีวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาไทย แต่ภาษาแรกของเราจะมีสำเนียงเสียงวรรณยุกต์ที่เมื่อฟังแล้วจะเป็นเหมือนเสียงดนตรี เป็นสาเหตุที่เราออกเสียงภาษาที่สองไม่เหมือนเจ้าของภาษาเพราะมีโครงสร้างความแตกต่างระหว่างภาษาที่หนึ่งกับภาษาที่สองนั่นเอง
2. Explain and present the relationship of the following terms
A] ภาษาสามารถแปรตามอายุของผู้พูดได้ด้วย เราจะสังเกตได้ว่าภาษาที่คนรุ่นปู่ย่าตายายของเราใช้มีลักษณะที่แตกต่างไปจากภาษาคนรุ่นพ่อแม่ของเราใช้ ภาษาที่รุ่นพ่อแม่ของเราใช้ก็มีความแตกต่างไปจากภาษาที่คนรุ่นเราใช้ และเราอาจจะสังเกตได้ด้วยว่าเด็กรุ่นที่อายุน้อยกว่าเราก็มีลักษณะการใช้ภาษาที่แตกต่างไปจากรุ่นของเราใช้ด้วย คนรุ่นอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะใช้คำหรือลักษณะการออกเสียงที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษามาตรฐานมากว่าคนรุ่นอายุมาก ภาษาของคนรุ่นอายุน้อย หรือเด็กจะถือว่าเป็นตัวแทนของภาษาในอนาคต ภาษาของคนรุ่นกลางหรือรุ่นผู้ใหญ่ถือเป็นภาษาปัจจุบัน ส่วนภาษาของคนรุ่นอายุมากหรือคนแก่ก็ถือว่าเป็นตัวแทนของภาษาในอดีต จะเทียบได้ว่าอายุมีผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งจะแตกต่างไปตามวัยของแต่ละคนที่จะรับเอาภาษาไหนมาปรับประยุกต์ใช้
B] ภาษาที่มีมาโดยกำเนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเมื่อเราได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ไหนเราก็สามารถรับรู้สื่อสารภาษาในพื้นที่นั้นๆ เพราะว่าการเรียนรู้ผสมผสานกับการซึมซับภาษาที่ได้มาเป็นตัวก่อให้เกิดการสื่อสารที่แตกต่างกัน เรารับภาษาและเรียนรู้มาโดยกำเนิดสามารถทำให้เราได้รู้จักตัวตนของภาษาเป็นอย่างดี เพราะเราสื่อสารได้เป็นอย่างดีและเข้าใจความหมายของภาษานั้นๆได้อย่างถูกต้อง เรียนรู้มาตั้งแต่กำเนิด เช่น ธรรมชาติเด็กจะเลียนเสียงตามที่ได้ยินเพื่อฝึกการควบคุมอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง เด็กต้องการเลียนแบบหน่วยเสียง ท่วงทำนองมาทำการฝึกพูดออกเสียงเริ่มตั้งแต่นั้นมาจนปัจจุบันก็สามารถสื่อสารได้ครบถ้วน
C] ภาษาที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วไปจะสามารถใช้สื่อสารได้เป็นอย่างดีเพราะอาจจะเป็นเพราะว่าได้เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์มาเป็นอย่างดี เป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่ใช่ในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา ด้านธุรกิจต่างๆ ที่สามารถนำไปสื่อสารกันแล้วเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นที่เข้าใจ และสามารถที่จะเรียนรู้ได้ซึ่งกันและกัน การศึกษาของภาษานั่นมีรูปแบบที่หลากหลายแล้วแต่บุคคลนั้นๆจะนำไปใช้ประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมทั่วๆไป
D] การตั้งค่าของไวยากรณ์ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นสังเกตได้ว่าอย่างเราอาศัยอยู่เมืองไทยเราก็ใช้ภาษาแรก มาโดยตลอดเพียงแต่ว่าภาษาที่สองเป็นตัวแปรอีกรูปหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารอีกสถานการณ์หนึ่งซึ่งเราได้รับมาจากการเรียนรู้โดยตรง แต่ภาษาแรกเราได้มากจาการซึมซับด้วยและเรียนรู้เพิ่มเติม ถ้าเราไปศึกษาอยู่ต่างประเทศเราก็ต้องมาปรับเปลี่ยนตัวเองให้สามารถฝึกใช้ภาษาที่สองเป็นหลัก การปรับเปลี่ยนตั้งค่าความเข้าใจเป็นส่วนตัวแล้วจะสามารถทำให้เราสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้เป็นอย่างดี การปรับเปลี่ยนนั้นก็จะสามารถฝึกเราให้เข้ากับสังคมนั้นๆได้
3. Revisit the following hypotheses
A] การเรียนรู้แบบซึมซับ (acquisition) นั้น เช่นการดูหนัง จะเป็นผลที่ได้มาจากการเรียนรู้แบบไม่ได้ตั้งใจ อย่างที่เรานั่งดูหนังเป็นภาษาอังกฤษและมีคำแปลอยู่บรรยายใต้หนังนั้น เป็นการเรียนรู้แบบที่ได้มาโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่จะดูหนังแต่พ่วงได้ภาษามาด้วยก็ถือว่าดีอย่างหนึ่ง ซึ่งเราสนใจที่จะดูหนังเพื่อความบันเทิงมากกว่าที่จะสนใจในรูปลักษณ์ของไวยากรณ์ภาษานั้นๆ ส่วนการเรียนรู้อย่างใส่ใจ (learning) เป็นการเรียนรู้โดยที่เราตั้งใจจะศึกษา เช่น การนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน แล้วมีอาจารย์เป็นผู้สอนอย่างจริงจัง ในเนื้อหาทุกอย่างก็จะเป็นระบบที่มีกฎเกณฑ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เป็นสำคัญ เราจะนำความรู้ที่ได้มานั้น นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอน และถูกต้อง นำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพที่เรามีให้ดีขึ้นกว่าเดิม พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตด้วย
B] กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ทำให้ภาษาระดับหนึ่งดีขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง โดยตัวสมมุติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุง การแก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้น เมื่อมีความสัมพันธ์กันของปัจจัยทั้ง 3 ข้อ คือ ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ ,ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุง และสุดท้าย ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา ดังนั้นแล้วผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและสมมุติฐานในการตรวจสอบจะเกิดขึ้นเอง
C] สมมุติฐานแสดงถึงเรื่อง แรงจูงใจ ความมั่นใจ ความหงุดหงิด ความอดทน ในการเรียนรู้จะกล่าวได้ว่าถ้าผู้เรียนมีความหงุดหงิดในการเรียนน้อยก็จะสามารถเรียนรู้ได้สองภาษาเป็นอย่างดี เมื่อเราตัดความหงุดหงิดให้น้อยลงเราก็จะมี แรงจูงใจ ความมั่นใจ และความอดทน ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นสูงได้ในด้านการเรียน และเมื่อมีความหงุดหงิดมากก็จะทำให้การเรียนไม่ดีเท่าที่ควร เกิดการลดปัจจัยของความรู้ลงมาอย่างมาก จะทำให้เกิดปัญหาตามมา ดังนั้น เราควรลดความหงุดหงิดลงให้หมด เราก็จะประสบผลสำเร็จได้เอง เพราะเรามีแรงจูงใจที่ดีมีความมั่นใจ และคาวมอดทนมนการเรียนรู้
4. Discuss he period of language acquisition [This should include the perception and production period. Case study or tangible examples are highly appreciated.
การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาของเด็ก เด็กอายุน้อยมากทุกคนไม่ว่าเชื้อชาติใดจะส่งเสียงร้อง เดาะปาก ถ่มน้ำลาย พ่นลมออกจากปาก ฯลฯ ให้เกิดเป็นเสียงตั้งแต่เกิด แม้แต่เด็กที่บกพร่องทางการได้ยินก็ทำเช่นนี้ ธรรมชาติให้เด็กทำเช่นนี้เพื่อฝึกการควบคุมอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงพูด เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นมาอีกหน่อยคืออายุประมาณ 6 เดือน เด็กจะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการอ้อแอ้ ในขั้นตอนนี้เด็กยังไม่สามารถพูดเป็นคำพูดเพื่อสื่อสาร เด็กยังคงส่งเสียงไปเรื่อยๆ เหมือนขั้นตอนแรก แต่ที่แตกต่างไปก็คือสิ่งที่เด็กส่งเสียงจะฟังดูเป็นพยางค์ เพราะมีทั้งเสียงสระเสียงพยัญชนะ นอกจากนั้น เด็กจะใช้เสียงพยัญชนะ สระ ต่างๆในภาษาที่เด็กได้ยินได้ฟังมาจากสภาพแวดล้อมรอบตัวมาประสมกัน เพื่อส่งเสียง เสียงที่ได้จึงฟังดูคล้ายเสียงในภาษานั้นๆ แต่ไม่มีความหมาย จากนั้นเมื่อเด็กอายุได้ 10 เดือน เด็กจะเริ่มส่งเสียงยาวขึ้นราวกับประโยคแต่ยังไม่พูดคำจริงในภาษา “ประโยค” ของเด็กในช่วงอ้อแอ้นี้มีทำนองเสียงขึ้นลงต่างๆ แบบเดียวกับทำนองเสียงในภาษาพูดจริงในสังคมนั้นๆ เนื่องจากเด็กต้องอาศัยการเลียนเสียงแบบหน่วยเสียงและทำนองเสียงจากภาษาของผู้ใหญ่รอบตัว เด็กที่พิการทางการได้ยินจึงไม่พัฒนาการออกเสียงมาถึงขั้นอ้อแอ้
เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 1ปี เด็กจะเริ่มพูดเพื่อสื่อสาร พูดได้ทีละคำ อาจแปลได้หลายอย่าง หรือคำเดียวอาจแปลได้เป็นประโยค เนื่องจากคำของเด็กมีจำนวนน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก คำของเด็กจึงกินความกว้างกว่าผู้ใหญ่มาก หลังจากนั้นเด็กก็จะพัฒนาการใช้ภาษาของตนให้คล้ายผู้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ


วัชรีภรณ์ อุปนันไชย
47031010166
e-mail fon_pokemon@hotmail.com

No comments:

Blog Archive