Saturday, January 13, 2007

Midterm น.ส.นิศาชล แก้วกันทะ

ภาษาศาสตร์ประยุกต์

1. First Language Acquisition เป็นภาษาแรกของคนเรา คือ ภาษาที่เราใช้ตั้งแต่ที่เราจำความได้ เป็นภาษาที่เรามีใช้ เข้าใจ และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ ถือได้ว่าเป็นภาษาแม่ของเรา ส่วน Second Language Acquisition เป็นภาษาที่สองรองจากภาษาแรก เป็นภาษาที่ต้องอาศัยการเรียนรู้เพิ่มเติม อาจจะมีไม่เท่ากับภาษาแรกและต้องอาศัยการฝึกฝน
2. a. อายุมีผลต่อการเรียนรู้ เนื่องจากในวัยเด็ก เด็กจะมีความสามารถในการเรียนภาษามาตั้งแต่เกิดโดยสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กจะมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เมื่อเด็กคลุกคลีกับภาษาที่ใช้เป็นประจำก็จะทำให้เข้าใจภาษานั้นไปในตัว และเมื่อคนที่พัฒนาในช่วงนี้โตขึ้นมาก็จะเรียนรู้อะไรได้ง่าย ๆ
b. Innateness theory คือทฤษฎีที่มีมาตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากเด็กมีพัฒนาการหรือความสามารถตั้งแต่เกิดโดยได้รับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวของเด็กทำให้เกิดการเรียนรู้
c. Universal Grammar คือไวยากรณ์สากล ที่มีอยู่ใช้กันทั่วโลก ผู้ที่ เรียนรู้สามารถฝึกฝนอย่างส่ำเสมอในการใช้ภาษาจนสามารถใช้ได้ดี มีความเข้าใจในตัวภาษาจนสามารถถ่ายทอดออกมาสื่อสารกับผู้อื่นได้ มีสำเนียงที่ชัดเจน
d. Parameter Setting เป็นการตั้งค่าไวยากรณีที่แสดงถึงความรู้ในตัวภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 ของแต่ละบุคคล สมมติว่าเราเป็นคนภาคใต้ ผู้ปกครองย้ายมาอยู่ภาคเหนือตั้งแต่เรายังแบเบาะ พอโตขึ้น เราก็ใช้ภาษาเหนือเป็นภาษาที่1 เนื่องจากสภาพแวดล้อม ผู้คน เพื่อน ๆ ที่เราใกล้ชิด พวกเขาพูดภาษาเหนือ ส่วนภาษาที่ 2 อาจเป็นภาษาใต้ หรือภาษาอื่น ๆ ก็จะเป็นภาษาที่เราเรียนรู้เพิ่มเติมภายหลัง
3. a. Acquired system ( การเรียนรู้แบบซึมซับ ) and Learned
System ( การเรียนรู้แบบใส่ใจ )
Acquired system ( การเรียนรู้แบบซึมซับ ) เป็นผลการเรียนรู้เรียนรู้แบบไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้น และสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น เป็นการมเรียนรู้ที่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยผู้เรียนไม่ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาใช้ในการพูด
Learned System ( การเรียนรู้แบบใส่ใจ ) ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน มีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง ระบบนี้ไม่มีความสำคัญเท่ากับระบบแรก แต่ก็มีความสำคัญอยู่เช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้ภาษาที่ 2 คือ จะต้องอาศัยการเรียนรู้แบบใส่ใจ ฝึกฝน เอาใจใส่เป็นพิเศษ
b. Monitor Hypothesis เป็นสมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ สมมติบานนี้ตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบ Acquisition กับแบบ Learning นอกจากนั้นยังแสดงถึงอิทธิพลของระบบ Learning ที่มีต่อ Acquisition ระบบตรวจสอบต้องเกิดขึ้นหรือเป็นผลโดยตรงจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจ ตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุง แก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดี ในการตรวจสอบนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดถูกในการใช้ไวยากรณ์ คนที่ตรวจสอบต้องเป็นคนที่เชี่ยวชาญในตัวภาษานั้นเป็นอย่างดี และในภาษาแรกของเราก็ต้องมีการตรวจสอบด้วยเช่นกัน เนื่องจากบางครั้งเกิดความผิดพลาดในการใช้ภาษา เราจะได้หาทางแก้ไขให้ทันท่วงที
c. Affective Filter Hypothesis คือสมมติฐานตัวเอื้อ/ ปิดกั้นการเรียนรู้ ปัจจัยการเรียนรู้จะประกอบไปด้วย แรงจูงใจ ความมั่นใจ ความอดทนในการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนมีความตั้งใจ มั่นใจที่จะเรียนหนังสือ ก็จะประสบความสำเร็จ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีความมั่นใจต่ำ มีความหงุดหงิดง่าย ไม่มีความอดทนก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้และเมื่อตัวปิดกั้นหรือ Filter เหล่านี้ทำหน้าที่ได้ดี การเรียนรู้ก็จะเกิดปัญหา
4.ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็กและอิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก
ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 1 – 2 เดือน สามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เด็กอายุช่วง ต่ำกว่า 4 เดือน เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก
3. เด็กอายุช่วง 6 – 10 เดือน เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียงและให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นสิ่งแปลกใหม่และจะรู้สึกเบื่อ ๆ กับสิ่งที่เหมือนเดิมและไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้โดยสามารถแยกแยะเสียงที่ได้ยินทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง อีกทั้งยังสามารถบอกเสียงสระที่เกี่ยวกับเสียงพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย 1 ตัวไว้
อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 6 เดือนแรก เด็กจะพยายามแยกเสียง
2.เด็กอายุช่วง 6 เดือน เด็กจะเริ่มจับความหมายโดยการรับรู้ของเด็กจะเหมือน
ผู้ใหญ่ เช่น ด.ช. ก และ ด.ช. ข อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาไทยได้ เด็กก็
จะรู้ความหมายว่าพูดว่าอย่างไร
3.เด็กอายุช่วง 8 – 10 เดือน เด็กสามารถแยกเสียงได้
4. เด็กอายุช่วง 10 – 12 เดือน ถ้าเด็กจะแยกเสียงไม่ได้ เมื่อโตขึ้นเด็กจะเริ่มแยกเสียงได้อีกครั้ง ระบบการเคลื่อนไหวและการแยกแยกการออกเสียงได้ดีขึ้น

น.ส.นิศาชล แก้วกันทะ
English Education
47031020110
E-mail. Kaewkunta_nisachon@yahoo.com

No comments:

Blog Archive