Tuesday, January 16, 2007

Midterm paper (นายชริญญา อมรวัฒนาพงษ์)

Applied Linguistics

1. Explain the difference & Similarities First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen
1.) ภาษาที่หนึ่ง ( First Language Acquisition ) เป็นภาษาที่เรียนรู้มาตั้งแต่เกิดจะคนทุกๆคนเริ่มซึมซับภาษามาตั้งแต่เกิด ซึ่งหัดพูดจากที่พ่อแม่สอนโดยเริ่มจากคำง่ายๆก่อน เช่นคำว่า ดา ตา ปา เป็นต้น หรือซึมซับจากสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่ ดังนั้นภาษที่หนึ่ง( First Language Acquisition ) มนุษย์จะถนัดและรู้มากกว่าภาษาที่สองเพราะภาษาที่หนึ่ง ( First Language Acquisition ) ใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัน.
นอม ชอมสกี ( Noam Chomsky ) เจ้าสำนักโดยพฤตินัยกล่าวไว้ว่า ภาษา คือ ภาษาเป็นสิ่งมีความละเอียด ซับซ้อน ภาษาและความรู้ทางภาษาซึ่งแบ่งออกมาเป็นความรู้ทางเสียงทางไวยากรณ์และความหมาย เป็นต้นเป็น ลักษณะเฉพาะของมนุษย์เท่านั้นเมื่อตอนเด็กได้รับประสบการณ์ ( Exposed to any language ) ภาษาใดมาบวกกับอุปกรณ์ทางภาษาที่มีอยู่แล้วก็ทำให้เด็กเรียนรู้กับองค์ความรู้ทางภาษานั้นขึ้นมาใช้หรือสภาพแวดล้อมทางภาษาที่เป็นธรรมชาติ ( Natural Human Environment )มีหลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้เด็กไม่สามารถตั้งคุณลักษณะเฉพาะทางภาได้หากเด็กได้อยู่ในสังคมหลากหลายและมีการใช้ภาษาหลากหลายจะยิ่งทำให้สับสนยิ่งขึ้นแต่ปรากฏว่าเด็กค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้เป็นอย่างดี
2.) ภาษาที่สอง (Second Language Acquisition) เป็นภาษาที่มนุษย์เรียนรู้จากการลอกเลียนแบบ หรือซึมซับจากบุคคลอื่นแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ หนังสือ ครู- อาจารย์ เจ้าของภาษา ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งการเรียนภาษาที่สองจะยากกว่าภาษาที่หนึ่งเป็นอย่างมากเพราะต้องอาศัยความเพียรพยายามของผู้เรียนเป็นอย่างมาก
Stephen Krashen กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง
1. Acquisition-Learning Hypothesis สมมุติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้
2. Monitor Hypothesis สมมุติฐานเรื่องการตรวจสอบ
3. Natural Order Hypothesis สมมุติฐานว่าด้วยลำดับขั้นตอนตามธรรมชาติ
4. Input Hypothesis สมมุติฐานเรื่องปัจจัยนำเข้า
5. Affective Filler Hypothesis สมมุติฐานเรื่องตัวปิดกั้นการเรียนรู้

2. Explain and present the relationship of the following terms.
( a ) Critical Age Hypothesis
คือ อายุทางภาษา เด็กจะมีการเรียนรู้อย่างช้า ๆ ซึ่งเป็นไปตามลำดับขั้นจอนของการเรียนรู้ ผู้ใหญ่นั้นจะมีการเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กเนื่องจากผู้ใหญ่มีความสามารถในการรับรู้ทางภาษามากกว่าเด็ก แต่พอนาน ๆ ไป เริ่มมีตัวปิดกั้นทางภาษา แต่เด็กถึงแม้จะเรียนรู้ได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ รับได้น้อยกว่าแต่ก็สามารถรับไปได้เรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีตัวปิดกั้นทางภาษานั่นเอง
( b ) Innateness Theory
ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กฝึกการเลียนเสียงพูด ซึ่งเด็ก
สามารถทำการสนทยาโต้ตอบกับผู้ใหญ่สามารถเลียนเสียงจากคนและสภาพแวดล้อม นอกจากนั้นเด็กสามารถเลียนเสียงคำมาแบบผิด ๆ เนื่องจากผู้ใหญ่มักใช้คำแสลงมา
ใช้ในการสนทนา Chomsky วิธีการได้รับภาษา LAD : Language acquisition
device เปิดโอกาสให้เด็กเกิดการได้ยินเสียงเพื่อต้องการทราบปัจจัยภายนอก
สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อภาษาของเด็ก
( c ) Universal Grammar
Universal Grammar คือ ความสามารถในการรับรู้ภาษาเด็กที่เรียนภาษาที่ 2 อาจมี Universal Grammar ได้เนื่องจากเด็กเกิดการซึมซับการเรียนรู้และการซึมซับนั้นต้องอาศัยการใส่ใจในตัวภาษานั้นด้วยและสิ่งนี้เองก็จะเป็น competence อีกรูปแบบหนึ่งของภาษาที่ 2 ที่เด็กสะสมไว้เรื่อย ๆเช่นกัน และเมื่อเด็กนำไปใช้ก็จะใช้ได้ถูก พูดได้คล่อง แต่อาจจะไม่ค่อยชัดก็ได้
( d ) Parameter Setting
Parameter Setting ก็คือ การสร้างค่าไวยากรณ์ ซึ่งมีอยู่ในทุกภาษา อย่างเช่น ในประเทศไทย เมื่อเด็กได้ยินภาษาไทยมาตั้งแต่ยังเล็ก เด็กก็จะตั้งค่า set ไวยากรณ์ หรือ competence นั้นไว้ จนเต็มและเกิดการแสดงออก performance ได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาก็จะมีปัญหาทางการเรียนรู้ภาษาที่ 2 เนื่องจากเกิดการสูญเสียทางอวัยวะในการออกเสียง ซึ่งเมื่อเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการ set ค่าทาง parameter ในตัวของเขาเอง และเมื่อเขาไปอยู่ที่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เขาเกิดการตั้งค่าทางไวยากรณ์นั้นไว้อีก และเมื่อเขากลับมาเมืองไทยเขาอาจจะพูดไทยไม่ค่อยชัด เนื่องจากเกิดการสูญเสียอวัยวะทางการออกเสียงอีก เป็นต้น

3. Revisit the following hypotheses
a. Acquired system and Learned? How are they manifested in SLA?
Acquired system คือ ระบบซึมซับหรือการเรียนรู้แบบซึมซับ เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ แต่เนื่องจากเรียนรู้ไปกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่หรือสภาพแวดล้อมทางภาษาการเรียนรู้แบบซึมซับคล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง สนทนาตามธรรมชาติเป็นไปตามสัญชาติญาณโดยผู้เรียนไม่ใส่ใจที่จะนึกถึงไวยากรณ์มาใช้ในการสนทนาแต่จะเน้นในการใช้ประโยชน์ในเนื้อหาหรืออรรถรถ การสื่อสารมากกว่าคำนึงถึงความถูกต้องไม่คำนึงถึง ผิด – ถูกต้อง อย่างเช่น เด็กเรียนรู้และเลียนแบบและซึมซับเอาคำที่แม่พูดและสภาพแวดล้อมในตัวของเด็กพัฒนาในตัวภาษาของตนเอง เช่น คำว่า แม่ป้อนข้าวให้ลูกแม่จะใช้คำว่า หม่ำ... หม่ำ เด็กจะซึมซับเอาและเมื่อได้ได้ยินคำนี้อ้าปากรับเข้าปากไป โดยไม่คำนึงถึงว่าจะหมายถึงอย่างไร แต่เด็กรู้ว่าจะทำอย่างไรถ้าไม่พูดว่าอย่างนี้ หรือในภาษาอังกฤษ your name แค่พูดคำนี้ เราก็จะรู้ว่าเขาต้องการให้บอกชื่อเราโดยไม่ต้องใช้คำถาม “What’s your name ? ” ที่ถูกต้องตามไวยากรณ์ก็จะสามารถโต้ตอบกับผู้ที่เราสนทนาด้วยได้ เมื่อพูดบ่อย ๆ เราก็เริ่มเรียนรู้แบบซึมซับไปเรื่อย ๆเราต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบซึมซับนี้ด้วย จะเป็นการสนทนาที่เป็นธรรมชาติไม้ต้องมีกฎเกณฑ์มากำหนดไว้ซับซ้อน
Learned System คือระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียนหรือการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชากาเช่น กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักของภาษาและระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ หรือความตั้งใจในการที่ที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นหรือเอาเป็นตัวความรู้ของภาษาของเราเอง Krashen ก็ถือว่าสำคัญเหมือนกันแต่ไม่สำคัญเท่ากับระบบแรก เพราะระบบแรกนั้นจะเป็นการเรียนรู้ตัวแต่กำเนิดแต่สำหรับระบบนี้จะเริ่มเรียนรู้เมื่อเริ่มศึกษาในโรงเรียนศึกษาตามความสนใจ คำนึงถึงความถูกต้องมากกว่าอรรถรถทางภาษาในตัวของภาษาเอง
ความแตกต่างของทั้งสองระบบนี้
Acquired
-แน่นอน, เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใต้สำนึก
-ไม่เป็นทางการ
-ไม่ต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์
-คำนึงถึงเจตคติ,ทัศนคติ
-ไม่เปลี่ยนแปลงๆได้ง่าย ๆ
Learning
-ไม่แน่นอน, ต้องสนใจ ตั้งใจ ภายนอก
-เป็นทางการ
-ใช้กฎเกณฑ์ไวยากรณ์
-คำนึงถึงเจตคติ,ทัศนคติ
-เปลี่ยนแปลงได้ง่าย,ตลอด


How are they manifested in SLA?
ระบบ Acquired นั้นจะเป็นการซึมซับซึ่งถือว่าเราซึมซับทางภาษาที่หนึ่งก่อนแล้วมาเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สองและเริ่มเรียน Learned System ในตัวของภาษาที่สองซึ่งการรับของภาษานั้นถือได้ว่าทั้งสองระบบทั้งการเรียนรู้แบบ Acquired กับการเรียนรู้แบบ Learning นั้น Krashen เห็นว่าผู้ทีจะเรียนภาษาที่สองได้ดีต้องอาศัยทั้งสองระบบนี้ เอาระบบ Acquired เป็นตัวพื้นฐานของภาษาและใช้ Learning System เป็นปัจจัยเสริมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนภาษาที่สองได้ดีและมีประสิทธิภาพ
หากต้องแบ่งบทบาทของ Acquired System และ Learned System แล้วสิ่งที่เป็นตัวแสดงออกทางภาษาหรือที่เรียกว่า Initiator Utterance คือAcquisition หรือสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วก็คือตัวของภาษาที่หนึ่ง ความรู้ที่ได้มาตั้งแต่กำเนิด ส่วนการตรวจสอบและปรับปรุงเพิ่มเติมการแสดงออกทางภาษาก็คือ Learned System ในการเรียนรู้ภาษาที่สองนั้นถึงว่าเราจะเรียนรู้ไม่ได้ดีเท่ากับเจ้าของของภาษา แต่เราสามารถเรียนรู้ได้และรับเอาภาษาอื่นมาเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์ทางภาษานอกจากภาษาที่หนึ่งได้ แต่ถ้าเราไม่จัดระบบของการรับภาษาให้ดี สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว Acquired System จะถูกทำลายไปบ้างจากที่เรามี 100% แต่ถ้าเราเอาภาษาอีกภาษาหนึ่งมาก็จะเกิดความซับซ้อนเกิดขึ้น เราเรียนภาษาไทยมาตั้งแต่เกิดแต่ถ้ามาเรียนในโรงเรียนเราต้องมีการเรียนภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาที่1 ,2, 3.....ไปเรื่อย ๆเพราะการเรียนรู้ของคนเราไม่ได้จำกัด เหตุที่คนเราเรียนรู้ได้หลายภาษาเพราะมนุษย์มีเครื่องมือในการรับภาษา การเรียนรู้ภาษา 2 ภาษาพร้องกันจะทำให้ภาษาที่หนึ่งเกิดการเรียนรู้ไม่สมบูรณ์ หรืออาจทำให้ทั้งสองภาษาไม่สมบูรณ์ก็ได้ ภาษาที่สองเราจะใช้ความจำเป็นส่วนใหญ่ เพราะเราเข้าใจภาษาอื่นยากซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้

b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition require this qualification?
Monitor Hypothesis คือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ สมมติฐานนี้ตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบAcquisition กับการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบในตัวภาษาตัวที่แสดงออกในตัวของภาษา คือ ระบบในการเรียนรู้หรือความรู้ทางไวยากรณ์ต่าง ๆในข้อนี้ทำหน้าที่วางแผน ปรับปรุง แก้ไขและแสดงออกทางภาษาให้ดีขึ้น ซึ่งผู้เขียนต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการดังนี้ คือ
1) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางในการปรับปรุง
3) ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา
เมื่อมีปัจจัยทางภาษาทั้ง 3 ประการนี้ ผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและตั้งสมมติฐานตรวจสอบเกิดขึ้นเอง ใช้ในกรณีที่ผู้เรียนใช้ภาษาไม่ถูกต้องและหลุดกรอบออกไปจากการสื่อสารปกติ Krashen ได้แบ่งคนที่ใช้ในการตรวจสอบเป็น 2 พวกด้วยกัน คือ
1) พวกที่มีบุคลิกภาพโดดเด่น พูดเก่ง มากกว่าคนอื่น ๆก็จะใช้การตรวจสอบหรือเป็นพวก Under users
2) พวกที่ชอบเก็บตัว ( Introvert ) หรือผู้ที่เน้นความถูกต้องทุกระเบียดนิ้ว (Perfectionist ) ก็จะใช้การตรวจสอบมาก หรือเป็นพวก Over users
จะเห็นว่า Extrovert จะมีแนวโน้มใช้การตรวจสอบน้อยเนื่องด้วยเพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ในตัวภาษามาก ไม่จำเป็นต้องใช้การตรวจสอบอีก หรือมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ในตัวภาษามาก มีการนำเอาความรู้ในตัวไวยากรณ์ คำ ประโยคใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโครงสร้างของระบบ ใช้ภาษาอยู่ในกรอบของความถูกต้อง
Why do we need this hypothesis?
เหตุที่มีการใช้ข้อสมมตินี้เพราะสมมติฐานนี้ใช้เพื่อการตรวจสอบหรือปรับปรุงความถูกต้องของตัวภาษาและยังทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง แก้ไข และแสดงออกภาษาที่ดีขึ้น และเพื่อให้เด็กคำนึงถึงความถูกต้องของประโยค ไวยากรณ์ต่าง ๆโครงสร้างของประโยค ถึงแม้ว่าประโยคนั้น ๆหรือไวยากรณ์นั้นจะสื่อความหมายให้คนอื่นรับรู้เช่นเดียวกัน แต่ในความถูกต้องไม่ได้ ซึ่งภาษาจะได้อยู่ในความถูกต้องในเรื่องของการสื่อสาร ภาษาจะได้ไม่เปลี่ยนแปลงไปด้วย และอีกอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นสากลเพราะเรามี Universal grammar แล้วเพื่อใช้ให้ภาษาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเข้าใจง่าย เราต้องมีกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกันเพื่อความถูกต้องและใช้ประโยชน์จาก Universal grammar ด้วย
Does the First language acquisition require this qualification?
ภาษาที่หนึ่งก็ต้องการตรวจสอบความถูกต้องเหมือนกัน เพราะเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการพูดสื่อสาร ถึงแม้ว่าเราจะสื่อสารกับคนที่สื่อสารภาษาที่ 1 เหมือนกัน ก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับความถูกต้องด้วยเช่นกัน ต้องการการตรวจสอบภาษาเพื่อนำไปใช้เหมือนกัน แต่ไม่ต้องการมากเหมือนกับภาษาที่ 2 เพราะเรามีความรู้ในภาษาที่ 1 มากกว่า
เพราะเราเป็นเจ้าของภาษาอีกอย่างถ้าเราได้รับความรู้ที่ถูกต้องมาได้ประสบการณ์ของภาษาซึมซับมาอย่างถูกต้องการใช้ภาษาของเราก็จะไม่ผิดพลาดก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบภาษาเหมือนภาษาที่ 2 ของเราก็ได้ แต่ถ้าเรามีอุปสรรคการซึมซับหรือมีปัญหาในการซึมซับภาษาที่ 1 ของเรามาตั้งแต่เด็กก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วย

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
คือสมมติฐานตัวเอื้อ/ตัวปิดกั้นการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยในการเรียนรู้ประกอบไปด้วย
แรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self Confidence) หรือ ความหงุดหงิด หรือความอดทนในการเรียนรู้(Anxiety)
-ด่านแรงจูงใจ ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียน มีความสนใจ มีอะไรที่ดึงดูดความสนใจที่จะเรียนก็จะทำให้การเรียนรู้ได้ดี มีประสิทธิภาพ แต่ถามีแรงจูงใจต่ำก็จะมีการเรียนรู้ที่ไม่ดีไม่อยากเรียนทำให้การเรียนในภาษาที่ 2 ไม่ประสบความสำเร็จ
-ด้านความมั่นใจ ถ้าไม่มีความมั่นใจก็จะเรียนแบบขอไปที ขาดความมั่นใจ เช่น การออกเสียงภาษาอังกฤษถ้าเราไม่กล้าขาดความมั่นใจ เราก็จะพูดไม่ได้และไม่เหมือนเจ้าของภาษาของเขาแต่กลับทำให้เรามีความมั่นใจ กล้าพูดฝึกพูดบ่อยๆ เราก็จะพูดได้ซึ่งก็จะไม่ตัวปิดกั้นการเรียนรู้ของเลย
-ด้านความอดทนในการเรียนรู้ ข้อนี้สำคัญเพราะถ้าตัวเรามีปัญหา อ่านไม่ออก ออกเสียงไม่ได้แล้วเกิดท้อหมดความอดทนในการเรียนรู้เอาง่ายๆ แล้วก็จะไม่อยากเรียนตัวรับภาษาก็จะถูกปิดกั้นการรับภาษา
What do you think about this?
การเรียนของเรานั้นอาจจะมีบางครั้งที่เจออุปสรรค เพราะในขณะที่เราซึมซับเอาภาษาที่ 1 เราก็ยังเจอตัวปิดกั้นความรู้ การเรียนรู้เหมือนกัน เช่น บางคนหูพิการ พูดไม่ได้ แต่ก็ยังอยากพูด ซึ่งในการรับเอาภาษาที่ 2 นั้น ก็เช่นจะไม่มีตัวปิดกั้นความรู้ แต่เราก็มีความพยายาม หมั่นฝึกฝน หมั่นค้นคว้าหาความรู้มาเพิ่มเติม พยายามเสริมแรงจูงใจให้กับตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ต้องแก้ไขพฤติกรรมโดยการเสริมแรงทางบวก เมื่อพฤติกรรมดีขึ้นก็จะพัฒนาและปรับปรุงพฤติกรรมอีกทีหนึ่ง เช่น การให้กำลังใจเด็ก เมื่อเด็กออกเสียงไม่ได้ แทนที่จะด่าและบ่นให้เด็กหมดความสนใจ พยายามพูดให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเรียนต่อ เราต้องสังเกตดูเด็กว่าเด็กมีปัญหาในการรับรู้หรือไม่ อย่างเด็กเกิดความมั่นใจก็พยายามออกมานอกห้อง หน้าชั้นเรียนเพื่อฝึกความเคยชิน และชมให้เขาก็สามารถพูดได้ เด็กก็จะเริ่มกล้าที่จะพูด ส่วนด้านความอดทนก็ต้องมีกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความเบื่อหน่าย เพราะเด็กบางคนอาจไม่ชอบเรียนรู้ภาษาที่ 2 และคิดว่าเรียนรู้ได้ไม่ดีก็ควรมีกิจกรรมเกมเพื่อเสริมปรับความรู้สึกเจตคติต่อตัวภาษาเสียใหม่

4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated.
ช่วงระยะเวลาในการพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้ออกเป็นดังนี้ 1. การร้องไห้ เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารถใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กมักจะแสดงอาการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่เขาต้องการสื่อให้เราทราบ หรือทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา 2. เริ่มพูดได้ เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ คือ เด็กจะยังพูดออกมาเป็นคำยังไม่ได้แต่จะมีการออกเสียง เช่นเสียงหม่ำๆ เป็นต้น เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง จากเสียงที่ได้ยิน หรือเป็นการเลียนแบบเสียง และเด็กมักจะแสดงท่าทางประกอบการพูดด้วย 3. พูดคำเดียวหรือวลีเดียว เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ ในช่วงอายุ 14-20 เดือน โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน เช่น พ่อ แม่ ไฟ โต๊ะ เป็นต้น แต่เด็กจะยังออกเสียงไม่ชัด เช่น คำว่า”พ่อ” เป็น “ป๋อ” , “วัว” เป็น “โบ” เป็นต้น เพราะเด็กยังติดกับทฤษฎีการเลียนเสียงอยู่ 4. พูดสองคำ เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือนจะสามารถเริ่มต้นพูด 2 คำได้ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น คำว่า”แม่กิน” ก็หมายถึงว่าเด็กต้องการกินของที่แม่ถือมา หรือ คำว่า “หมาไป” ก็เป็นการไล่หมาให้ไปไกลๆ หรือ คำว่า “พ่องาน” หมายถึงว่า พ่อไปทำงานแล้วเป็นต้น 5. เริ่มพูดได้เป็นประโยค คือหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการดังกล่าวในข้างต้นจนถึงสามารถพูดได้เป็นประโยค โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เห็นเพียงว่าตลก น่าหัวเราและไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะจำประโยคนั้นไปพูดอีกจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง จึงมีกำหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย





นายชริญญา อมรวัฒนาพงษ์
47031020147
เอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ปีที่ 3
E-mail : charinya_mai@hotmail.com

No comments:

Blog Archive