Sunday, January 14, 2007

Midterm paper ( Patcharee Homdok )

Midterm paper ( Patcharee Homdok 47031020157 English Education 3)
Applied Linguistics
Test on Language Acquisition
1. Explain the differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition ? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen
ตอบ นอม ชอมสกี้ (Noam Chomsky) เป็นเจ้าสำนัก Nativist theories ที่เชื่อเรื่องภาษามากับยีนส์ของคู่กับมนุษย์ โดยบอกว่า มนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า อุปกรณ์ทางภาษา (Language Acquisition Device – LAD ) ติดมากับสมองอยู่แล้ว และเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากสังคมที่เขาอยู่ เด็กสามารถที่จะซึมซับภาษาจากสภาพแวดล้อมได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องเรียนรู้ภาษาอย่างจริงจัง และเขาคิดว่า อุปกรณ์ทางภาษานั้นเป็นอุปกรณ์ที่เปิดกว้างพร้อมจะเข้ากับสภาพแวดล้อมทางภาษาไหนก็ได้ และเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมใด ๆ จะมีการค่อย ๆ ปรับคุณลักษณะเฉพาะทางในภาษานั้น สิ่งที่เด็กค่อย ๆ ปรับก็กลายเป็น Grammar หรือความรู้ (Competence) ในภาษานั้น และความรู้ที่ดีในภาษานั้นก็ทำให้เกิดการแสดงออกทางภาษาได้อย่างดี (Performance) นั่นหมายความว่า นอม ชอมสกี้ เชื่อว่ามนุษย์หรือเด็กมียีนส์หรือที่เรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษาอยู่ในตัวแล้ว เมื่อเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมแล้วใช้ภาษาที่หนึ่ง (First Language)ในการสื่อสาร เพราะได้รับประสบการณ์ทางภาษาที่หนึ่งจากสังคมที่เขาอยู่ เด็กก็จะซึมซับความรู้ทางภาษาได้อยู่แล้ว และเมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สอง(Second Language) แล้วอุปกรณ์ทางภาษาที่อยู่ในสมองของเด็กก็จะเปิดกว้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในสังคมของภาษาที่สอง ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ของภาษาที่สองได้ จนกระทั่งค่อย ๆ ปรับคุณลักษณะเฉพาะทางภาษาในภาษาที่สอง จนกลายมาเป็นความรู้ (Competence) และก่อให้เกิดการแสดงออกทางภาษาที่สองได้อย่างดี (Performance)
ยกตัวอย่าง เช่น เด็กที่เกิดและอยู่ในเมืองไทย แล้วพอตอนอายุ 10 ขวบ ต้องย้ายไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เด็กก็มีอุปกรณ์ทางภาษาที่อยู่ในสมองแล้ว บวกกับเด็กได้รับประสบการณ์ ก็จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่สอง และสร้างองค์ความรู้ทางภาษาอังกฤษขึ้นมาใช้ได้
Stephen Krashen เชื่อในเรื่อง Acquisition Learning Hypothesis คือสมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้ เขาเห็นว่าการที่ผู้เรียนจะสามารถแสดงออกซึ่งภาษาที่สองได้ดีนั้นมาจากระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) และระบบที่ต้องใส่ใจเรียนรู้ (Learned System) เขาเชื่อว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งแบบซึมซับ เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้น และสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น การสนทนาตามธรรมชาติ โดยที่เด็กไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูด แต่สนใจในเรื่องอรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า แล้วเด็กก็จะเริ่มเรียนรู้จากห้องเรียนหรือมีการสอนกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง จนสามารถสร้างกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ และเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้แบบใส่ใจ (Learned System) แล้วเมื่อเด็กเริ่มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สอง ก็เหมือนกัน เมื่อเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษที่สอง เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) เกิดการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจในภาษาที่สอง และเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษาที่สองมากขึ้น เด็กก็จะเริ่มเรียนรู้ และเริ่มมีการเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังในห้องเรียน ในระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ (Learned System) เด็กก็จะสร้างองค์ความรู้และสามารถแสดงออกซึ่งภาษาที่สองได้อย่างดี
ยกตัวอย่าง เช่น เด็กที่เกิดและอยู่ในประเทศไทย แล้วพอตอนอายุ 8 ขวบต้องย้ายไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เด็กก็จะเรียนรู้ภาษาที่สอง โดยการเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) แบบไม่ได้ตั้งใจ เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมของสังคมภาษาที่สองมากขึ้น เด็กก็จะเริ่มมีการเรียนรู้แบบใส่ใจ (Learned System) แล้วจึงสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ ไวยากรณ์ ออกเสียงถูกต้องตามหลักภาษาที่สอง และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
สรุป ความคิดที่แตกต่าง คือ นอม ชอมสกี้ เชื่อว่ามนุษย์มียีนส์ทางภาษา หรืออุปกรณ์ทางภาษา (LAD) ติดมากับสมองอยู่แล้ว เมื่อบวกกับประสบการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางภาษานั้น ๆ ก็จะทำให้สามารถเรียนรู้ภาษาอื่น ๆ ได้เช่นกัน แต่ Stephen Krashen เชื่อว่ามนุษย์เกิดการเรียนรู้ภาษาจากระบบ คือระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ และเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นนาน ๆ ก็จะเกิดระบบที่ต้องใส่ใจเรียนรู้ (Learned System) จนสามารถสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ ในภาษานั้นได้
ความคิดที่เหมือนกัน คือ ประสบการณ์ทางภาษาและสภาพแวดล้อมทางภาษานั้น ๆ การที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษานั้นมากขึ้น ก็จะทำให้สร้างองค์ความรู้ทางภาษามาใช้ได้


2. Explain and present the relationship of the following terms ?
A. Critical Age Hypothesis
ตอบ คือ วัยในการเรียนรู้ เจ้าของสมมติฐานนี้คือ Eric Lenneberg เชื่อว่า การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์จะอ่อนกำลังลงและอาจยุติลงได้เมื่ออายุ 12 ปี ขึ้นไป หากไม่มีประสบการณ์ทางภาษา และการเรียนรู้ภาษาในช่วงนี้ การเรียนรู้และการแสดงออกจะไม่สมบูรณ์ได้เลย ซึ่ง Lenneberg สามารถสรุปได้อย่างนี่เขาเพราะสถานการณ์บังเอิญที่เขาศึกษา พบว่า Genis เป็นเด็กหญิงที่น่าสาร เพราะพ่อเธอเข้าใจว่าเธอเป็นปํญญาอ่อน ก็เลยกักขังเธอไว้ในบ้านโดยไม่ให้พบกับผู้คน เป็นเวลา 13 ปี เธอจึงไม่มีประสบการณ์ทางภาษาเลย และตอนพบ Genis ขณะนั้นเธออายุได้ 13 ปี แล้ว การศึกษาตามแนวทฤษฏีนี้ถือว่ามีการควบคุมสภาพแวดล้อมได้อย่างดี โดยที่ Genis ไม่ได้พบกับใครเลย ต่อมาเธอก็ไม่สามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างสมบูรณ์ และนี่คือปัจจัยที่นักวิชาการสรุปว่าเมื่ออายุเลย 12 ปีแล้ว การเรียนรู้ภาษาไม่สมบูรณ์แบบ และกล่าวได้ว่าวัยมีผลต่อการเรียนรู้ทางภาษาเด็กในช่วงอายุ 12 ปี จะมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาได้ดีกว่าผู้ใหญ่ หรือผู้ที่อายุเลย 12 ปีไปแล้ว
ยกตัวอย่าง เช่น แชมพูเป็นเด็กหญิงอายุ 7 ขวบ เกิดในเมืองไทย และอยู่ในเมืองไทยมาได้ 7 ปี แต่ต้องย้ายไปเรียนต่อตามพ่อ ไปที่ประเทศอังกฤษตอนอายุ 8 ขวบ เด็กหญิงแชมพูก็จะมีความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้ดีกว่า และถ้าหากอยู่นาน ๆ ก็อาจจะมีความรู้เทียบเท่ากับเจ้าของภาษาเลยก็ได้ ในขณะที่คุณบอย มีอายุ 20 ปี แล้วเพิ่งจะเริ่มเรียนภาษาที่สอง คุณบอยก็จะสามารถเรียนรู้ได้ แต่ไม่ถึงขนาดดีมาก เพราะความสามารถทางภาษาของคุณบอยได้ลดลงแล้ว และก็จะใช้ภาษาที่หนึ่งมากกว่าภาษาที่สอง

B. Innateness theory คือ ทฤษฎีที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด ตามทฤษฏีของสำนัก Nativist ( นอม ชอมสกี้ )กล่าวว่า
This theory puts forward that humans have a genetic predisposition to learn language. While imitation and reinforcement are certainly factors in speech-learning, some innate ability must exist. All a normal child needs to learn language is exposure to it in a natural environment during the critical age period. This can be compared to a child's natural ability to learn how to walk at a specific stage in development. Both appear to occur naturally and with little effort. Language acquisition is rapid, children learn to speak well enough to communicate and hold regular conversations by the age of three, under less than ideal learning conditions. Conversely, adults speak quickly, make grammatical errors, use slang and jargon, and produce incomplete or abbreviated sentences. Children learn correct grammar even with this deficient data.
My son's first affirmative word was "yes" (after his initial, "oh yeah," which he outgrew fairly early). The rest of the family preferred "yup," "uh-huh," "yeah," "okay," "sure," and even "whatever." Yet Connor, at 2 1/2, when asked if he wanted a cookie, would say "yes." Now, at 3, "yes" is more likely to be "huh," but he did learn the correct way first, and outside influence came later. Ironically, he still is the most likely of my three kids to say "yes, please."
Writing is not a natural instinctive process. Graphical representation of language is historically traceable and must be specifically taught to be learned. Compared to spoken language acquisition, which happens without specific training, it is clear that the ability to learn spoken language must be innate to some extent.
Noam Chomsky proposed that children are born with a genetic mechanism for the acquisition of language, which he called a "Language Acquisition Device" (LAD). He claimed that the LAD was wired with language universals, and equipped with a mechanism that allowed children to make complex guesses about what they hear around them. This theory was difficult to test and Chomsky has compromised his theory somewhat to allow for other factors, such as environment and reinforcement, to have some influence in language learning.


C. Universal Grammar คือ หลักการที่เป็นสากลที่จะไปรองรับทุก ๆ ภาษา
ตามทฤษฏีของ นอม ชอมสกี้ กล่าวไว้ว่า
Universal grammar is defined by Chomsky as “the system of principles, conditions, and rules that are elements or properties of all human languages. . . the
essence of human language”

D. Parameter Setting คือ ข้อจำกัดหรือลักษณะเฉพาะของแต่ละภาษา ซึ่งแต่ละภาษาต้อง Set ค่า Paramiter ไว้เฉพาะ มีดังนี้
"A striking discovery of modern generative grammar is that natural languages seem to be built on the same basic plan. Many differences among languages represent not separate designs but different settings of a few "parameters" that allow languages to vary, or different choices of rule types from a fairly small inventory of possibilities. Languages may have parameters...
"For example, all languages in some sense have subjects, but there is a parameter corresponding to whether a language allows the speaker to omit the subject in a tensed sentence with an inflected verb. This "null subject" parameter (sometimes called "PRO-drop") is set to "off" in English and "on" in Spanish and Italian(Chomsky, 1981). In English, one can't say Goes to the store, but in Spanish, one can say the equivalent. The reason this difference is a "parameter" rather than an isolated fact is that it predicts a variety of more subtle linguistic facts. For example, in null subject languages, one can also use sentences like Who do you think that left? and Ate John the apple, which are ungrammatical in English. This is because the rules of a grammar interact tightly; if one thing changes, it will have series of cascading effects throughout the grammar. For example, Who do you think that left? is ungrammatical in English because the surface subject of left is an inaudible "trace" left behind when the underlying subject, who, was moved to the front of the sentence. For reasons we need not cover here, a trace cannot appear after a word like that, so its presence taints the sentence. Recall that in Spanish, one can delete subjects. Therefore, one can delete the trace subject of left, just like any other subject (yes, one can "delete" a mental symbol even it would have made no sound to begin with). The trace is no longer there, so the principle that disallows a trace in that position is no longer violated, and the sentence sounds fine in Spanish."

3. Revisit the following hypotheses
A. Aquired System and Learned System? How are they manifested in SLA?
Stephen Krashen เห็นว่าการที่ผู้เรียนจะสามารถแสดงออกซึ่งภาษาที่สองได้ดีนั้นมาจากระบบ คือ ระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) และระบบที่ต้องใส่ใจเรียนรู้ (Learned System)
สมมติฐานนี้สามารถแสดงถึงการเกิดการเรียนรู้ภาษาที่สองได้ คือ เมื่อผู้เรียนอยู่ในสังคมที่ใช้ภาษาที่หนึ่ง แต่ต้องถูกย้ายไปอยู่ในสังคมของภาษาที่สอง ผู้เรียนก็จะเริ่มการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) เป็นการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจ
อาจเนื่องมาจากการได้เห็นได้ฟัง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติ และผู้เรียนก็อยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษาของภาษาที่สองมากขึ้น ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์มากขึ้น โดยไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูด แต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ก็เริ่มมากขึ้น แล้วต่อมาผีเรียนก็ต้องเริ่มระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ (Learned System) ที่เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือมีการสอนกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง ผู้เรียนก็จะสามารถสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักของภาษาที่สอง และสามารถแสดงออกซึ่งภาษาที่สองได้อย่างดี

B. Monitor System? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition require this qualification?
Monitor Hypothesis คือสมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ เราต้องใช้สมมติฐานนี้เพื่อตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบ Acquisition กับแบบ Learning และแสดงถึงอิทธิพลของระบบ Learning ที่มีต่อ Acquisition หรือใช้ในกรณีที่ผู้เรียนใช้ตรวจสอบแก้ไขตัวเอง เพื่อความสมบูรณ์แบบในการใช้ภาษา
Acquisition System เป็นสิ่งที่เป็นการแสดงออกทางภาษา เช่น การพูด การสนทนาแล้ว Learning System คือตัวที่ตรวจสอบการปรับปรุง (Monitor or Editor)
เป็นความรู้ทางไวยากรณ์ ซึ่งตัวสมมติฐานนี้ จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุง การแก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้น เมื่อมีปัจจัย 3 ประการนี้ คือ
1. ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2. ผู้เรียนเริ่มคิดความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุง
3. ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา
เมื่อมีปัจจัย 3 ประการนี้ผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและสมมติฐาน การตรวจสอบจะเกิดขึ้นเอง โดยตัวของผู้เรียนเป็นผู้แก้ไขเองปรุง เพื่อความสมบูรณ์แบบในการใช้ภาษา
เจ้าของภาษา หรือผู้ใช้ภาษาที่หนึ่ง ( First Language Acquisition ) จำเป็นต้องใช้สมมติฐานนี้ เพราะบางครั้งเจ้าของภาษาก็อาจจะยังใช้ภาษาไม่ถูกหลักไวยากรณ์ หรือใช้ภาษาหลุดกรอบออกไปจากการสื่อสารปกติก็ต้องมีการวางแผนปรับปรุง และแก้ไขการแสดงออกทางภาษาให้ดีขึ้น โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ แล้วนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขด้วยตนเองเพื่อความสมบูรณ์แบบในการใช้ภาษาของตัวเอง
C. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
Affective Filter Hypothesis สมมติฐานตัวเอื้อ/กั้นการเรียนรู้
ข้าพเจ้าคิดว่าสมมติฐานนี้เป็นความคิดที่ถูกต้อง และเป็นจริง เพราะในการเรียนภาษาที่สองย่อมมีปัจจัยเหล่านี้มาประกอบ ได้แก่ แรงจูงใจ(Motivation) ความมั่นใจ(Self-Confidence) ความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้(Anxiety) ที่จะมาเป็นตัวปิดกั้น(Filter) หรือส่งเสริมในการเรียนรู้ภาษาที่สอง คือ เมื่อผู้เรียนมีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูง และความเครียดต่ำ ก็มีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบผลสำเร็จ แต่ในทางตรงกันข้ามหากผู้เรียนมีความมั่นใจต่ำ แรงจูงใจต่ำ และหงุดหงิดง่าย ก็จะสร้างตัวปิดกั้นกรเรียนรู้ (Affective Filter Mental Block) ขึ้นมาภายในใจ ทำให้มีผลต่อการเรียนภาษาที่สอง ทำให้เรียนได้ไม่ดี เกิดปัญหาหรือเรียนไม่ได้เลย ซึ่งถ้าหากตัวปิดกั้นหรือ Filter เหล่านี้ทำหน้าที่ได้ดี คือ มีมากขึ้นก็จะเกิดอคติ การเรียนรู้ในภาษาที่สองก็จะเกิดปัญหา

4. Discuss the period of language acquisition (This should include the perception and production period. Case study or tangible examples are highly appreciated.
ตอบ ระยะเวลาของการได้มาซึ่งภาษาเป็นสมมติฐานที่เริ่มจาก 1. เด็กเรียนรู้โดยการเรียนแบบ 2. เด็กเรียนรู้โดยการเปรียบเทียบความคล้ายคลึง 3. เด็กเรียนรู้โดยการใช้แรงเสริม การเสริมแรง และ 4. เด็กเรียนรู้ได้โดยการสร้างประโยคทางไวยากรณ์ เรื่องการได้มาซึ่งภาษาจากการออกเสียง การพูดของเด็ก สามารถเขียนเป็นตารางได้ ดังนี้
ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
1- 2 เดือน
เด็กจะสามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่ำกว่า 4 เดือน
เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก
6 – 10 เดือน
เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียง(เด็กจะมีสมาธิสั้น) เด็กจะให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นเสียงแปลกใหม่ และจะรู้สึกเบื่อกับสิ่งที่เหมือนเดิม และไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้
- สามารถแยกแยะเสียงที่ได้ยิน
- สามารถแยกแยะเสียงก้องกับเสียงไม่ก้องได้ ระหว่างเสียง [ ta ] vs [ da ]
- สามารถแยกตำแหน่งของการเกิดเสียง (ฐานกรณ์) การออกเสียงพยางค์ต้นและพยางค์ท้าย
- สามารถแยกเสียงที่เกิดจากการระเบิด(Stop)กับเสียงขึ้นจมูก(nasal) [ ba ] vs [ ma ]
- สามารถแยกเสียงที่เกิดจากการห่อลิ้นและไม่ห่อ
[ ra ] vs [ la ]
- สามารถแยกเสียงสระที่เกี่ยวกับเสียงพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย 1 ตัว
- สามารถบอกเสียงสระที่เกิดจากการออกเสียงทางปากและจมูก
- สามารถแยกเสียง [ EE ] ซึ่งเกิดจากเสียงขึ้นจมูกและไม่ขึ้นจมูก

อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัว
ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
6 เดือนแรก
พยายามแยกเสียง
6 เดือนหลัง
เริ่มจับความหมาย การรับรู้ของเด็กจะเหมือนกับผู้ใหญ่ สมมติ E กับ A เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาอังกฤษได้ เด็กจะรู้ความหมายแต่พูดไม่ได้
8 – 10 เดือน
เด็กเกินกว่าครึ่งสามารถแยกเสียงได้
10 - 12 เดือน
เด็กจะแยกแยะเสียงไม่ได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอีก เด็กก็จะสามารถเริ่มแยกเสียงได้อีกครั้ง ในช่วงหลัง 12 เดือน ระบบการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีขึ้น การแยกแยะการออกเสียงได้ดีขึ้น

การพูดการออกเสียง
ช่วงอายุ
พฤตกรรมของเด็ก
2 – 4 เดือน
- เด็กจะเปล่งเสียงพูดทางเพดานแข็ง และเพดานอ่อน ลำคอ
- ลิ้นเริ่มทำงานมากขึ้น
ช่วง 1 ปีแรก
- ช่วงแรกอวัยวะทำงานดีขึ้น
- สามารถออกเสียงพยัญชนะ สระได้บ้าง
- เสียงที่เกิดจากริมฝีปากเด็กจะทำได้ดีกว่าเสียงที่เกิดจากเพดานอ่อน และลำคอ
- เด็กจะพูดเสียงระเบิด และเสียงนาสิกได้เป็นปกติมากขึ้น
- เสียงเสียดแทรกจะไม่ค่อยมี เพราะต้องใช้กล้ามเนื้อในการบังคับมาก
- ออกเสียงสระที่เป็นพื้น i,a,u ได้
- สามารถพูดคำที่ประกอบด้วยพยัญชนะ ตัว 1 และสระ 1 ตัว (CV)
- ออกเสียงคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะไม่ได้
- ออกเสียงเสียดแทรก และเสียงรัวลิ้นไม่ได้
- คำแรกที่เด็กพูดได้จะประกอบด้วย 1 หรือ 2 พยางค์



นางสาวพัชรี หอมดอก รหัส 47031020157
วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์
E-mail : patcharee.nak.eng@hotmail.com

No comments:

Blog Archive