Sunday, January 14, 2007

Midtermนางสาวนิตยา แก้วทองมา

วิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์

1. ความแตกต่างของภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ภาษาได้ตั้งแต่ยังไม่เกิด เมื่อเด็กเกิดมาพ่อแม่ก็จะให้ความอบอุ่นเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ก็จะฝึกให้ลูกหัดออกเสียงเรียกชื่อพ่อกับแม่ แต่แด็กจะพูดชื่อที่ง่ายต่อการออกเสียง ทั้งนี้เนื่องจากระบบอวัยวะในช่องปากและฟันของเด็กยังไม่สมบูรณ์ดี เด็กจะมี competence มาแต่ไหนแต่ไรคือ ก่อนคลอด พ่อกับแม่จะทำการพูดกับลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง ลูกจะเกิดการซึมซับอย่างช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง มนุษย์ทุกคนจะมี competence และ performance เหมือนกัน แต่จะแสดง performance ได้ไม่เต็มที่ 100% ฉะนั้นการที่เด็กพูดไม่ชัดหรือพูด ยักษ์ใหญ่ไล่ยักษ์เล็กอะไรแบบนี้ช้า ไม่คล่อง ก็เป็นเพราะสาเหตุทางอวัยวะ และสมองทำให้ performance ไม่สมบูรณ์ ถ้ามีพี่เลี้ยงพูดภาษาอีสานใส่เด็กที่กำลังหัดพูด เด็กก็จะพูดภาษาอีสานออกมาก่อนเป็นอันดับแรก เพราะ competence ยังไม่สมบูรณ์ดี นี่กรณีที่เกิดขึ้นในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ถ้าพูดภาษาไทยในบ้านเกิดเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่ 1 อยู่แล้ว แล้วย้ายไปอยู่ที่อเมริกา ก็ยังพูดภาษาไทยอยู่ดี ถึงแม้ผู้ใหญ่จะมีการเรียนรู้ภาษาดีกว่าเด็กเพราะมีตัวปิดกั้นอยู่แค่นั้น แต่เด็กจะรับไปเรื่อย ๆ แต่รับน้อยกว่าผู้ใหญ่เพราะไม่มีตัวปิดกั้นความรู้ด้านภาษา ส่วนความเหมือนของภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 นั้น ทั้งภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเหมือนกัน มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของระบบเสียง ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกันตรงเสียงพยัญชนะ เสียงสระ อาจมีมากน้อยต่างกันแต่โดยรวมแล้วต่างก็มีความสำคัญจะต่างกันก็ตรงที่เสียงวรรณยุกต์เพราะในภาษาอังกฤษไม่มีเสียงวรรณยุกต์แต่ภาษาไทยมี ส่วนภาษาอังกฤษมี Intonation หรือทำนองเสียงซึ่งก็ต่างกับเสียงในภาษาไทย เป็นต้น Noam Chomsky ได้บอกว่ามนุษย์มีภาษาที่ละเอียด ซับซ้อน เด็กที่อยู่ในท้องจะได้รับการเรียนรู้ทางภาษาจากสิ่งแวดล้อมที่รับเข้ามาโดยการซึมซับแบบธรรมชาติ เมื่อเด็กเกิดมาแล้วใช้ภาษาเดิมเป็นภาษาแม่และได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติมบวกประสบการณ์ก็จะยิ่งให้เด็กได้มีองค์ความรู้ที่มากขึ้นแต่จะทำให้เด็กเกิดการสับสน เพราะในขณะที่เด็กเรียนรู้ไม่ได้มีการตรวจสอบ ส่วนของ Krashen นั้นคล้ายกับของ Chomsky แต่จะเน้นที่ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับและมีกระบวนการตรวจสอบเข้ามาเกี่ยวข้องในการใช้ภาษา

2. ( a ) Critical Age Hypothesis
การที่เด็กอยู่กับสัตว์แล้วสามารถพูดภาษาสัตว์ได้ ตามที่ Chomsky ได้บอกไว้ว่ามนุษย์มีชิพอยู่ในตนเองได้เรียนรู้ภาษาไหนก็สามารถเรียนรู้ภาษานั้นได้เหมือนกับเด็กที่มี competence อยู่ในความคิดแล้วเริ่มมีการพัฒนาขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การซึมซับที่สั่งสมขึ้นเรื่อย ๆ หรือเช่นถ้าเรามีความรู้ทางภาษาอังกฤษอยู่บ้างแล้วละได้มีการเรียนรู้พัฒนาขึ้นตามสภาพแวดล้อม เช่น เรื่อ syntax, morphology เป็นต้น เด็กตั้งแต่ก่อนคลอด competence จะเพิ่มมากขึ้นในช่วง 12 ปี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีขีดความสามารถในการรับรู้ทางภาษา เหมือนเวลาที่เรียนภาษาที่ 2 ผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กก็จะเรียนรู้ได้ดีกว่า รับเข้ามามากกว่าเด็กแต่ก็มีตัวปิดกั้น ก็จะหยุดอยู่แค่นั้น แต่เด็กจะรับไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีตัวปิดกั้นทางภาษา โดยเด็กจะต้องใช้เวลาในการศึกษามากพอสมควร เด็กจะเรียนรู้ภาษาได้ดีถ้าพวกเขาได้เรียนรู้จากที่บ้านเขาเอง
( b ) Innateness Theory
คือ ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด ช่วงอายุที่เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้ดีคือ 3 ขวบ เช่น ความสามารถในการโต้ตอบ สามารถเลียนเสียงจากสภาพแวดล้อม บางทีเด็กอาจเลียนเสียงแบบผิด ๆ วิธีการได้รับภาษาของเด็กได้เปิดโอกาสให้เด็กฝึกการคาดคะเนจากการได้ยิน ทฤษฎีนี้ยากแก่การตรวจสอบ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยภายนอก สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อภาษาของเด็ก เช่น เด็กแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนภาษามาตั้งแต่กำเนิด สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก การให้กำลังใจและการเสริมกำลังใจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเรียนภาษา และช่วงอายุที่เด็กสามารถเรียนภาษาได้มาตั้งแต่กำเนิด
( c ) Universal Grammar
Universal Grammar คือ เป็นตัวไวยากรณ์ที่สามารถใช้ได้หรือรองรับได้หลายภาษา
เด็กที่ได้รับการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ก็จะมี Universal Grammar ได้เนื่องจากเด็กเกิดการซึมซับการ
เรียนรู้จากการที่ได้รับประสบการณ์หรือการสั่งสมความรู้มาการใช้ไวยากรณ์ในการสื่อสารจะมีอยู่
ใน competence ของเด็กอยู่แล้ว และสามารถแสดงหรือสามารถใช้สื่อความได้
( d ) Parameter Setting
ในช่วงเด็กมี language acquisition device (LAD) อยู่ ซึ่งเป็นเครื่องมืออยู่ที่ตัวของเด็กเอง เหมือนกับชิพที่ใช้เป็นเครื่องมือสากลในการเรียนและรับการเรียนรู้ทางภาษา โดยอาศัยประสบการณ์ในการใช้ภาษารวมทั้งไวยากรณ์หรือหลักการในการนำภาษาไปใช้ ซึ่งมีอยู่ใน competence และ performance ของเด็กยู่แล้ว การที่เด็กจะมี LAD ได้ก็ต้องประกอยไปด้วย หลักการคือ principles และ parameter ในการเรียนรู้หรือรับภาษาก็ต้องมีการตั้งค่าไวยากรณ์ (setting) เมื่อเด็กมีการ set parameter เช่น
A. Maria parla Francese.
B. Maria speaks French.
C. Parla Francese.
D.Speaks French.
จะเห็นได้ว่าไม่มีประธาน ประธานเป็น null subject ละไว้เป็นที่รู้กันว่าเป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ เมื่อเด็กมี parameter เด็กจะ set ให้สมบูรณ์เพื่อที่พร้อมที่จะรับประสบการณ์และการเรียนที่แปลกใหม่ได้ แล้วเด็กก็จะเกิด competence แล้วกลายมาเป็นการกรทำหรือการแสดงออกมาให้เห็น หรือ performance นั่นเอง parameter มีข้อจำกัดและมีลักษณะเฉพาะของแต่ละภาษาในการที่เด็กจะเรียนรู้ภาษานั้น ๆ โดยจะต้องมีการ set ให้รู้เป็นภาษาเฉพาะ เช่นในการที่เด็กไปอยู่ต่างประเทศ เด็กก็ต้องมีการ set competence ใหม่ก็จะทำให้เด็กเกิดการสับสนและเกิดปัญหาในการออกเสียง เมื่อต้องการที่จะกลับไปพูดภาษาแม่หรือภาษาที่ 1 ก็อาจทำให้พูดไม่คล่องหรือชัดเหมือนเมื่อก่อน

3.( a ) Acquired System and Learned System
Acquired System คือระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Krashen ต้องการเน้นให้
เห็นถึงความสำคัญ การเรียนรู้แบบซึมซับอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือเราไม่ได้
ตั้งใจที่จะรับหรทอต้องการที่จะเรียนรู้ แต่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่แวดล้อมไปได้สิ่ง
ที่เอื้อต่อการเกิดการซึมซับทางภาษา เช่นเด็กที่อยู่ในท้องได้ยินเสียงพ่อกับแม่คุยกันเป็นภาษาที่
แม่ ตอนคลอดลูกเกิดมาพ่อกับแม่ก็ใช้ภาษาเดิมในการสื่อสาร ลูกก็สามารถใช้ภาษาเดียวกันกับ
พ่อแม่ในการพูดสื่อสารได้ เนื่องจากเด็กจะค่อย ๆ เกิดการสะสมการเรียนรู้มาอย่างละนิด
ละหน่อย ความคิด competence ต่าง ๆ ทำให้เด็กสามารถแสดง performance ตามที่เด็กต้อง
การได้โดยไม่ต้องรับการเรียนรู้เพิ่มเติมได้
Learned System คือ ระบบที่ต้องใส่ใจเรียนรู้ ซึ่งเด็กจะได้รับมาจากห้องเรียนหรือการจัดการเรียนการสอนของครูในห้องเรียน เด็กจะได้รับประสบการณ์ที่มาจากการเรียนรู้โดยตรง เด็กจะมีการตั้งค่าไวยากรณ์และมีการใส่ใจในการเรียนรู้มาใช้ในการพูด รวมถึงการออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักของภาษา และคำนึงถึงการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ข้าพเจ้าคิดว่า เมื่อเด็กได้รับการเรียนภาษาที่2 เมื่อตอนที่ยังเด็กอยู่ เด็กก็ยังสามารถรับเข้ามาได้ แต่อาจช้าแต่ก็รับได้เรื่อย ๆ ยิ่งปัจจุบันนี้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้เริ่มตั้งแต่เรียนชั้นระดับอนุบาลเป็นต้นมา ทำให้เด็กมุ่งที่จะให้ความสนใจและได้ทำการศึกษาหาความรู้ตั้งแต่ตอนเด็กอย่างเอาจริงเอาจัง และจะทำให้เด็กสามารถ set ค่าไวยากรณ์ในการใช้ภาษาให้เกิดความถูกต้องได้
( b ) Monitor Hypothesis
Monitor Hypothesis คือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ Krashen บอกว่าไม่ควรมี Monitor มากนัก ควรให้ผู้เรียนแก้ไขเอง ระบบการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นหรือเป็นผลโดยตรงจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจ ซึ่งระบบการตรวจสอบนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง การแก้ไขและการแสดงออกทางภาษา เช่น เวลาที่เราเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เราก็มานั่งเรียนว่าเป็นยังไง หากเราเรียนเรื่องการออกเสียง Monitor ก็จะบอกว่าผิดหรือถูก ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ conscious การเรียนในห้อง Learned System เกิดจาก Monitor ว่าเราถูกหรือผิดในการออกเสียงภาษาอังกฤษว่าขบวนการในการออกเสียงของเด็กคนหนึ่งดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน ผู้เรียนต้องเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษา ต้องมีกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษาและผู้เรียนเองก็ต้องอยากทราบข้อผิดพลาดของตนเอง เมื่อผู้เรียนทราบข้อผิดพลาดของตนเองแล้วก็สามารถทำการแก้ไขและสามารถปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาขึ้นได้
ข้าพเจ้าคิดว่าในการใช้ภาษาที่1 บางครั้งอาจยังใช้ไม่ค่อยเหมาะสมกับสถานการณ์และบุคคลมากนัก ควรมีการตรวจสอบทางภาษาเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการนำไปใช้ ยิ่งในปัจจุบันมีการนำคำศัพท์ของต่างประเทศมาใช้รวมทั้งคำแสลงต่าง ๆ ทำให้เกิดความหลากหลายทางภาษา และทำให้เกิดความสับสนต่อ competence ของเด็ก และในที่สุดก็จะทำให้ performance ของเด็กเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
( c ) Affective Filter Hypothesis
Affective Filter Hypothesis คือสมมติฐานตัวเอื้อ / ปิดกั้นการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ ( Motivation ) ความมั่นใจ ( Self-Confidence ) ความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้ ผู้ที่มีแรงจูงใจสูงหรือมาก ความมั่นใจสูง ความเครียดต่ำ มีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้ดีกว่าผู้ที่มีแรงจูงใจต่ำ ความมั่นใจต่ำ เป็นคนหงุดหงิดง่าย ก็จะทำให้เกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ได้มากกว่า เหมือนกับการเรียนดนตรี เรียนไปก็ชอบ แต่พอเรียนไปนาน ๆ ก็น่าเบื่อ หงุดหงิดง่ายทำให้เกิดตัวปิดกั้นการเรียนรู้ และก็เหมือนเด็กกับผู้ใหญ่ เมื่อเวลาเรียน ผู้ใหญ่จะรับเข้ามามากกว่าเด็ก แต่ผู้ใหญ่จะมีตัวปิดกั้นง่ายกว่าเด็ก การเรียนรู้ก็จะหยุดอยู่แค่นั้น แต่เด็ก จะรับไปเรื่อย ๆ ถึงจะรับได้น้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่เกิดตัวปิดกั้นความรู้ได้ยากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้บ่อยและมากกว่า
ข้าพเจ้าคิดว่าสมมติฐานเรื่องนี้จำทำให้ผู้ที่มีตัวปิดกั้นการเรียนรู้ ไม่เกิดการพัฒนาในการเรียนรู้ภาษาที่ 2 เหมือนการอิ่มตัวแล้ว ไม่อยากที่จะหาความรู้หรือรับเข้ามาแล้ว เมื่อไม่ต้องการ ก็จะยิ่งมีตัวปิดกั้นมาก ดังนั้นในการเรียนรู้สิ่งใด ข้าพเจ้าคิดว่าความมีความมุ่งมั่น อดทน ที่จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามา เพื่อที่เราจะได้ประสบความสำเร็จตามสิ่งที่มุ่งหวังได้

4.ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็กและอิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก
ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 1 – 2 เดือน สามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เด็กอายุช่วง ต่ำกว่า 4 เดือน เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก
3. เด็กอายุช่วง 6 – 10 เดือน เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียงและให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นสิ่งแปลกใหม่และจะรู้สึกเบื่อ ๆ กับสิ่งที่เหมือนเดิมและไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้โดยสามารถแยกแยะเสียงที่ได้ยินทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง อีกทั้งยังสามารถบอกเสียงสระที่เกี่ยวกับเสียงพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย 1 ตัวไว้
อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 6 เดือนแรก เด็กจะพยายามแยกเสียง
2.เด็กอายุช่วง 6 เดือน เด็กจะเริ่มจับความหมายโดยการรับรู้ของเด็กจะเหมือน
ผู้ใหญ่ เช่น ด.ช. ก และ ด.ช. ข อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาไทยได้ เด็กก็จะรู้
ความหมายว่าพูดว่าอย่างไร
3.เด็กอายุช่วง 8 – 10 เดือน เด็กสามารถแยกเสียงได้
4. เด็กอายุช่วง 10 – 12 เดือน ถ้าเด็กจะแยกเสียงไม่ได้ เมื่อโตขึ้นเด็กจะเริ่มแยก
เสียงได้อีกครั้ง ระบบการเคลื่อนไหวและการแยกแยกการออกเสียงได้ดีขึ้น

นางสาวนิตยา แก้วทองมา
English Education
47031020159
E-mail : Nittayameo159@yahoo.com
Nobita_Kung_59@hotmail.com

No comments:

Blog Archive