Sunday, January 14, 2007

Midterm paperนายพิสิฐ สิทธิวงศ์

วิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์

1. ความแตกต่างของภาษาที่1และภาษาที่2 ภาษาที่1 First Language Acquisition เป็นภาษาที่ติดตัวเราตั้งแต่เกิดหรือที่เรียกว่าภาษาแม่ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีมาตามธรรมชาติ อย่างเช่นในภาษาที่1เด็กที่เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยพูดภาษาไทยได้ดีแต่พอไปอยู่ที่ต่างประเทศพูดภาษาต่างประเทศไม่คล่องซึ่งเป็นผลมาจากเด็กได้มีชิบทางภาษานั้นมาแต่กำเนิดจึงพูดได้ดีซึ่งเป็นภาษาที่1ถ้าจะให้พูดภาษาต่างประเทศได้ดีนั้นต้องได้รับการฝึกฝนถึงจะพูดได้ดี มนุษย์ทุกคนจะมีcompetence 100% เหมือนกันส่วน Perforemance นั้นอาจออกมาไม่เท่ากัน ส่วนภาษาที่ 2 จะเป็นภาษาที่ต้องแสวงหา จะต้องเรียนรู้เอง ตามลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้ เช่น ผู้เรียนสามารถเข้าใจไวยากรณ์บางเรื่องได้ในช่วงต้นของการเรียนรู้ ขณะเดียวกันบางเรื่องต้องใช้เวลานานหรือผู้เรียนเข้าใจในช่วงหลังของการเรียนรู้ภาษา ซึ่งจะไปเกี่ยวกับวัยในการเรียนรู้ แต่จะอาศัยการฝึกฝน นำภาษาที่ 1 มาประยุกต์ใช้ในภาษาที่ 2 ให้เกิดการพัฒนาขึ้น การที่จะเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้ดีนั้นจะต้องมาจากระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ จากนั้นถ้าได้รับการพัฒนาขึ้นอีกก็จะเป็นระบบที่จะต้องใส่ใจเรียนรู้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการพัฒนาก็จะกลายเป็นจุดแข็ง เช่น การเล่นกีตาร์ เมื่อเล่นเป็นแล้วก็ต้องใส่ใจขึ้นอีก ถึงขั้น solo ไม่เป็นก็จะกลายเป็นจุดแข็งหรือไม่เกิดการพัฒนาขึ้นอีก ภาษาที่1 และภาษาที่ 2 มีความคล้ายกันคือเป็นภาษาทีใช้ในการติดต่อสื่อสารเหมือนกัน มีระบบเสียงสระ พยัญชนะที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันทั้งหมด เช่น เสียงวรรณยุกต์
2. ( a ) Critical Age Hypothesis
คือ อายุทางภาษา เด็กจะมีการเรียนรู้อย่างช้า ๆ ซึ่งเป็นไปตามลำดับขั้นจอนของการเรียนรู้ ผู้ใหญ่นั้นจะมีการเรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กเนื่องจากผู้ใหญ่มีความสามารถในการรับรู้ทางภาษามากกว่าเด็ก แต่พอนาน ๆ ไป เริ่มมีตัวปิดกั้นทางภาษา แต่เด็กถึงแม้จะเรียนรู้ได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ รับได้น้อยกว่าแต่ก็สามารถรับไปได้เรื่อย ๆ เนื่องจากไม่มีตัวปิดกั้นทางภาษานั่นเอง
( b ) Innateness Theory
ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กฝึกการเลียนเสียงพูด ซึ่งเด็ก
สามารถทำการสนทยาโต้ตอบกับผู้ใหญ่สามารถเลียนเสียงจากคนและสภาพแวดล้อม นอกจากนั้นเด็กสามารถเลียนเสียงคำมาแบบผิด ๆ เนื่องจากผู้ใหญ่มักใช้คำแสลงมา
ใช้ในการสนทนา Chomsky วิธีการได้รับภาษา LAD : Language acquisition
device เปิดโอกาสให้เด็กเกิดการได้ยินเสียงเพื่อต้องการทราบปัจจัยภายนอก
สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อภาษาของเด็ก
( c ) Universal Grammar
Universal Grammar คือ ความสามารถในการรับรู้ภาษาเด็กที่เรียนภาษาที่ 2 อาจมี Universal Grammar ได้เนื่องจากเด็กเกิดการซึมซับการเรียนรู้และการซึมซับนั้นต้องอาศัยการใส่ใจในตัวภาษานั้นด้วยและสิ่งนี้เองก็จะเป็น competence อีกรูปแบบหนึ่งของภาษาที่ 2 ที่เด็กสะสมไว้เรื่อย ๆเช่นกัน และเมื่อเด็กนำไปใช้ก็จะใช้ได้ถูก พูดได้คล่อง แต่อาจจะไม่ค่อยชัดก็ได้
( d ) Parameter Setting
Parameter Setting ก็คือ การสร้างค่าไวยากรณ์ ซึ่งมีอยู่ในทุกภาษา อย่างเช่น ในประเทศไทย เมื่อเด็กได้ยินภาษาไทยมาตั้งแต่ยังเล็ก เด็กก็จะตั้งค่า set ไวยากรณ์ หรือ competence นั้นไว้ จนเต็มและเกิดการแสดงออก performance ได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาก็จะมีปัญหาทางการเรียนรู้ภาษาที่ 2 เนื่องจากเกิดการสูญเสียทางอวัยวะในการออกเสียง ซึ่งเมื่อเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการ set ค่าทาง parameter ในตัวของเขาเอง และเมื่อเขาไปอยู่ที่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เขาเกิดการตั้งค่าทางไวยากรณ์นั้นไว้อีก และเมื่อเขากลับมาเมืองไทยเขาอาจจะพูดไทยไม่ค่อยชัด เนื่องจากเกิดการสูญเสียอวัยวะทางการออกเสียงอีก เป็นต้น
3.( a ) Acquired System and Learned System
Acquired System คือระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ ซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือสภาพทางภาษาจากสังคมที่เขาอยู่ เป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และค่อย ๆ สะสมความรู้ นอกจากนี้รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่ 1 ในช่วงการเรียนรู้ดังกล่าวนี้ เด็กจะมรการสนทนาที่เป็นธรรมชาติละมีความสำคัญ โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูด แต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางกการสื่อสารมากกว่า
Learn System คือ ระบบที่ต้องใส่ใจเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือมีการเรียนการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือความตั้งใจในการนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการจัดการสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็ก เพื่อเป็นการฝึกฝนทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ก่อนเข้าสู่ระดับที่ยากมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เด็กก็ยังสามารถซึมซับเข้าไปในตัวของเด็กเองทั้ง ๆ ที่เด็กเองก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะรับมันเข้ามา
( b ) Monitor Hypothesis
Monitor Hypothesis คือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่ม โดย
Krashen
1. กลุ่มที่ใช้การตรวจสอบตลอดเวลา ( Over-users )
2. กลุ่มที่ยังไม่ได้สร้างความรู้ทางภาษาและไม่ชอบที่จะนำเอาสมมติฐานการตรวจสอบทางภาษาไปใช้ ( Under-users )
3. กลุ่มที่เรียนรู้และใช้การตรวจสอบอย่างเหมาะสม ( Optimal-users )
เพื่อใช้ในการตรวจสอบพวกที่ชอบแสดงออกมากกว่าพวกอื่น ๆ ( Extrovert ) และพวกที่เก็บตัว ( Introvert )
ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการตรวจสอบการใช้ภาษาแม่เนื่องจากในปัจจุบันนี้มรการนำเอาคำหรือภาษาจากที่อื่นมาใช้ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการออกเสียงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้เกิดความสับสนทางภาษาให้กับผู้ที่ต้องการที่จะเรียนรู้ภาษานี้
( c ) Affective Filter Hypothesis
Affective Filter Hypothesis คือสมมติฐานตัวเอื้อ / ปิดกั้นการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ ( Motivation ) ความมั่นใจ ( Self-Confidence ) ความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้ Krashen กล่าวถึงผู้ที่แรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูงและความเครียดต่ำ มีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม ผู้เรียนที่มีความมั่นใจต่ำ ละมีแรงจูงใจต่ำและหงุดหงิดง่าย ก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้ เมื่อตัวปิดกั้นเหล่านี้ทำหน้าที่ได้ดี การเรียนรู้ก็จะเกิดปัญหา
ข้าพเจ้าคิดว่าสมมติฐานนี้เป็นแนวทางในการแก้ไขไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ เมื่อเด็กมีปัญหาหรือเกิดตัวปิดกั้นขึ้นก็จะทำให้การเรียนรู้ลดลง หากมุ่งสอนให้เด็กมีความมุ่งมั่น อดทนต่อการรับรู้หรือจากการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เด็กก็จะไม่เบื่อ อยากและสนใจที่จะรับรู้สิ่งนั้น ๆ
4.ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็กและอิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก
ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 1 – 2 เดือน สามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เด็กอายุช่วง ต่ำกว่า 4 เดือน เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก
3. เด็กอายุช่วง 6 – 10 เดือน เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียงและให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นสิ่งแปลกใหม่และจะรู้สึกเบื่อ ๆ กับสิ่งที่เหมือนเดิมและไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้โดยสามารถแยกแยะเสียงที่ได้ยินทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง อีกทั้งยังสามารถบอกเสียงสระที่เกี่ยวกับเสียงพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย 1 ตัวไว้
อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 6 เดือนแรก เด็กจะพยายามแยกเสียง
2.เด็กอายุช่วง 6 เดือน เด็กจะเริ่มจับความหมายโดยการรับรู้ของเด็กจะเหมือน
ผู้ใหญ่ เช่น ด.ช. ก และ ด.ช. ข อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาไทยได้ เด็กก็จะรู้
ความหมายว่าพูดว่าอย่างไร
3.เด็กอายุช่วง 8 – 10 เดือน เด็กสามารถแยกเสียงได้
4. เด็กอายุช่วง 10 – 12 เดือน ถ้าเด็กจะแยกเสียงไม่ได้ เมื่อโตขึ้นเด็กจะเริ่มแยก
เสียงได้อีกครั้ง ระบบการเคลื่อนไหวและการแยกแยกการออกเสียงได้ดีขึ้น

นายพิสิฐ สิทธิวงศ์
English Education
47031020149
E-mail : Prompt_29@hotmail.com

No comments:

Blog Archive