Saturday, January 13, 2007

Midterm นางสาวปราณี กวางนอน

1. Explain the differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition ? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen (10%)
First Language Acquisition ( การเรียนรู้ภาษาที่1)
Child Language Acquisition or First Language Acquisition เป็นคำเดียวกันตั้งแต่เราลืมตาเกิดมาเราก็เริ่มเรียนรู้ภาษาที่1 จากการซึมซับจากพ่อแม่หรือบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบๆข้าง ที่เราอยู่และเมื่อยังเด็กเราก็ยังอาจจะพูดไม่ค่อยได้ แต่เมื่อเริ่มโตขึ้นเด็กก็เริ่มเรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นและให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ภาษา หลังจากที่เขามี Competence ( ความรู้สึกนึกคิด) และ Performance (การกระทำต่างๆเกิดขึ้น) ไม่มากเด็กก็จะมีมากขึ้นและเมื่อเด็กเริ่มรู้ความหมายของคำ , คำศัพท์และระบบเสียง (Parameter) เมื่อนั้นเขาก็จะพยายามที่จะสื่อสารและพยามที่จะพูดไม่นานเมื่อเขาโตขึ้นเขาก็จะสื่อสารและพูดคำเหล่านั้นออกมาได้เป็นประโยคและมาความหมาย และเขาก็จะสามารถที่จะสื่อสารหรือกระทำตามความนึกคิดของเขาได้ ซึ่งภาษา First Language Acquisition เป็นภาษาแรกที่เราพูดและสื่อสารได้ดี

Second Language Acquisition ( ภาษาที่2)
ภาษาที่2 เป็นภาษาที่เราเริ่มเรียนเมื่อโตแล้ว ซึ่งเราไม่มีทั้ง Competence และ Performance เลย เป็นภาษาที่เราต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่จากสภาพแวดล้อมใหม่ซึ่งเราจะเริ่มเรียนรู้ได้ดี หรือไม่ดีขึ้นอยู่กับความสนใจและความใส่ใจของบุคคลนั้น

Differences Language

First Language Acquisition
1. ภาษาที่1 เราเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก
2. ภาษาที่1 เราสามารถสื่อสารได้ดีเพราะเรามี Competence และ Performance มาก
3. ภาษาที่1 เราเรียนรู้มานานไม่ต้องปรับตัวเรียนรู้เองโดยอัตโนมัติ

Second Language Acquisition
1. ภาษาที่2 เราเริ่มเรียนรู้เมื่อโต
2. ภาษาที่2 เราสื่อสารได้ไม่ค่อยดีนักเพราะเรา Competence และ Performance ไม่มาก
3. ภาษาที่2 เราต้องอาศัยการปรับตัวและเรียนรู้เอง




Similarities Language

First Language Acquisition
1. ภาษาที่1 มีระบบโครงสร้างทางภาษา
( Parameter )
2. ภาษาที่1 ใช้ในการสื่อสาร
3. ภาษาที่1 มี Competence และ Performance


Second Language Acquisition
1. ภาษาที่2 ก็มีระบบโคลงสร้างทางภาษา ( Parameter )เหมือนกัน
2. ภาษาที่2 ใช้ในการสื่อสาร
3. ภาษาที่2 ก็มี Competence และ Performance



2. Explain and present the relationship of the following terms (10%)
a. Critical Age Hypothesis
b. Innateness theory
c. Universal Grammar
d. Parameter Setting

a. Critical Age Hypothesis (วัยในการเรียนรู้ภาษา)
Critical Age Hypothesis เกี่ยวข้องกับ Competence และ Performance เพราะต้องอาศัยพัฒนาการตั้งแต่เล็กมาจึงจะมี C/P สูงขึ้นสำหรับวัยในการเรียนรู้เด็ก Lenneberg เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์จะอ่อนกำลังและอาจยุติลงเมื่ออายุ 12 ปีขึ้นไป หากไม่มีประสบการณ์ทางภาษาและการเรียนรู้ในช่วงนี้การเรียนรู้ภาษาจะทำให้ภาษาไม่สมบูรณ์ในกรณีของ Genie คือเด็กที่น่าสงสารที่พ่อแม่ของเธอเข้าใจว่าเธอเป็นปัญญาอ่อนก็เลยกักขังไว้ในบ้านโดยไม่ให้พบกับผู้คนไม่มีประสบการณ์ทางภาษาไม่เคยพบใครเลยต่อมาเธอก็ไม่สามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างสมบูรณ์ จากข้างตนเราคงเห็นแล้วว่าวัยในการเรียนรู้ภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญเป็นสิ่งกระต้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก
b. Innateness theory (ทฤษฏีที่มีมาแต่กำเนิด)
ทฤษฎีนี้พูดถึงเมื่อเรายังเด็กเรายังพูดไม่ได้แต่ว่าเมื่อเราเริ่มที่จะโตเริ่มรู้ภาษาเราก็จะพูดได้มันเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาโดยอัตโนมัติ มันเป็นการเปิดรับภาษาของเด็ก
การรับภาษามาอย่างรวดเร็วและการศึกษาหาความรู้ทำให้เด็กพูดเก่งเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น
ในทางกลับกันผู้ใหญ่พูดอย่างรวดเร็วและทำความผิดไวยากรณ์ใช้ใช้คำแสลงและศัพท์เฉพาะกลุ่มและทำให้เกิดประโยคที่บกพร่องหรือถูกย่อทำให้เด็กก็พูดผิดไปด้วยทำให้เด็กๆๆเรียนรู้ไวยากรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
นอกจากนี้ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมด้านการพูดของเด็กก็คือสภาพแวดล้อมรอบๆๆข้างเด็กด้วย
c. Universal Grammar (ไวยากรณ์สากล)
Universal Grammar หรือไวยากรณ์สากล คือหลักหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่เป็นแม่แบบเป็นแบบแผนในการที่จะใช้ประโยชน์ต่างๆได้อย่างถูกต้องเหมาะสมถูกต้องตามหลัก เป็นสิ่งที่จะทำให้เด็กมีความรู้และใช้ไวยากรณ์ได้ดีการเรียนรู้โครงสร้างของไวยากรณ์และความหลากหลายของกฎเกณฑ์ จะทำให้คุณแยกแยะ โครงสร้างได้ตามลักษณะทางภาษา
ไวยากรณ์สากล มันพยายามอธิบายการรับมาของภาษาในธรรมดาบรรยายภาษาที่จำเพาะ. ทฤษฎีอันนี้ไม่อ้างว่าภาษามนุษย์ทั้งหมดมีไวยากรณ์ที่เหมือนกัน ไวยากรณ์ สากล จะเสนอกฎกำหนดที่น่าสนใจอธิบายถึงภาษาที่เด็กๆได้มาภาษาของพวกเขา
d. Parameter Setting
Parameter คือ ข้อจำกัดและลักษณะเฉพาะของภาษาเมื่อเด็กได้เรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่ง ก็จะมีการเซตค่าเมื่อเขาเรียนภาษาที่1แล้ว เด็กก็จะเริ่มสนใจและเรียนรู้ภาษาที่2 แต่เมื่อเราเริ่มเรียนภาษาที่2 แล้ว ภาษาต่อไปก็จะเป็นภาษาที่2 เหมือนกัน First Language_2,3,4,5 เป็น Second Language


ตัวอย่าง
Can P swim / P can swim
Sleeps J alone last night / J sleeps alone last night

3. Revist the following hypotheses (10%)
a. Acquired System and Learned System? How are they Manifested in SLA?
b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition require this qualification?
c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?

a. Acquired System and Learned System? How are they Manifested in SLA?
Acquired System (การเรียนรู้แบบซึมซับ) เป็นผลมาจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจแต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสภาพบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่1 การสนทนาที่เป็นธรรมชาติ โดยที่ผู้เรียนไม่สนใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ เนื้อหาอรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า
Learned System (ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ) เป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือมีการสอนกันอย่างจริงจังระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการเช่นกฎเกณฑ์ไวยากรณ์การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษาหรือความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Knowledge about the language)
ก็อย่างเช่นเราเรียนรู้ภาษาที่สองเมื่อเราเรียนรู้อย่างจริงจังเราและใส่ใจแล้วเราก็จะเริ่มซึมซับภาษาที่สองและสามารถที่จะนำไปใช้ได้
มันได้ถูกแสดงออกให้เห็นในภาษาที่สองคือเมื่อเราศึกษาภาษาที่สองอย่างจริงจังแล้วเราก็จะสามารถที่จะพูดสื่อสารกับบุคคลอื่นได้

b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition require this qualification?
Monitor Hypothesis (สมมุติฐานเรื่องการตรวจสอบ) สมมุติฐานนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบ Acquisition กันแบบ Learning ว่าเป็นอย่างไรนอกจากนั้นยังแสดงถึงอิทธิพลของระบบ Learning ที่มีต่อ Acquisition
เหตุที่เราต้องตรวจสอบเพราะเราจะได้วางแผนปรับปรุงแก้ไขและเพื่อการแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้น ซึ่งเมื่อเราได้แก้ไขปรับปรุงแล้วจะทำให้เราใช้ภาษาได้ดีในระดับหนึ่งผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและสมมุติฐานการตรวจสอบก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
First language acquisition จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบเพราะบางครั้งการใช้ไวยากรณ์ก็ไม่ถูกต้องอาจจะใช้ผิดเพี้ยนจึงน่าจะมีการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้การใช้ภาษาดีขึ้นและผู้เรียนเกิดความคิดถึงความถูกต้องของกฎเกณฑ์ทางภาษา

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
Affective Filter Hypothesis (สมมุติฐานตัวเอื้อ / ปิดกั้นการเรียนรู้) สมมุติฐานตัวเอื้อหรือปิดกั้นการเรียนรู้จะประกอบไปด้วยแรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self-Confidence) หรือความหงุดหงิด ความอดทนในการเรียนรู้ (Anxiety)
ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเราไม่มีตัวเอื้อในการที่จะเรียนรู้เราก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้ ตัวอย่างเช่นผู้เรียนที่มีแรงจูงใจสูงความมั่นใจสูงและความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่2 ได้อย่างสำเร็จในทางตรงกันข้ามถ้าผู้เรียนมีความมั่นใจต่ำและแรงจูงใจต่ำหงุดหงิดง่าย ก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้ (Affective Filter Mental Block) เมื่อตัวปิดกั้นหรือ Filter เหล่านี้หน้าที่ได้ดี การเรียนรู้ก็จะเกิดปัญหา

4. Discuss “ he period of language acquisition (This should include the perception and production period. Case study or tangible examples are highly appreciated. (10%)
การรับเข้ามาของภาษานั้นเด็กสามารถรับรู้ได้ดังนี้
ช่วงอายุ
1-2 เดือน
พฤติกรรมของเด็ก
เด็กจะสามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วงอายุ
ต่ำกว่า 4 เดือน
พฤติกรรมของเด็ก
เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก

ช่วงอายุ
6-10 เดือน
พฤติกรรมของเด็ก
เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียงเด็กจะให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นสิ่งแปลกใหม่และจะรู้สึกเบื่อกับสิ่งที่เหมือนเดิม ในช่วงนี้เด็กจะสามารถแยกแยะเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงก้อง ไม่ก้อง และสามารถที่จะแยกความแตกต่างของเสียงแทรกได้

อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัว
ช่วงอายุ
6 เดือนแรก
พฤติกรรมของเด็ก
พยายามแยกเสียง

ช่วงอายุ
6 เดือนหลัง
พฤติกรรมของเด็ก
เริ่มจับความหมายการรับรู้ของเด็กจะเหมือนกับผู้ใหญ่ เช่น เมื่อเด็กอยู่ในสะภาพแวดล้อมที่พูดภาษาอังกฤษเด็กก็จะสามารถรู้ความหมายต้องพูดว่าอย่างไร

ช่วงอายุ
8-10 เดือน
พฤติกรรมของเด็ก
แยกสียงได้

ช่วงอายุ
10-12 เดือน
พฤติกรรมของเด็ก
เด็กจะแยกเสียงไม่ได้แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอีกเด็กก็จะสามารถแยกเสียงได้อีกครั้งในช่วงหลัง 12 เดือน ระบบการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีขึ้นการแยกแยะการออกเสียงได้ดีขึ้น


ตัวอย่าง
เด็กคนหนึ่งเขาปฏิเสธที่จะพูด พ่อและแม่ก็พยายามที่จะกระตุ้นเขาโดยการใช้ของเล่นและพูดชื่อของเล่นช้าๆและซ้ำไปซ้ำมา เพื่อพยายามให้เขาได้พูดและใช้เกมส์เป็นตัวกระตุ้นให้เขามีความกระตือรือร้นที่จะเล่น จากการที่เขาปฏิเสธการพูดเขาก็ให้ความสนใจต่อการพูดต่างๆนอกจากนี้เขายังตั้งใจที่จะฟังว่าผู้ใหญ่พูดกันอย่างไรไม่นานเขาก็เชื่อมโยงคำศัพท์ที่มากขึ้นและตอนนั้นเขาพยายามที่จะพูดและเขาก็พูดได้
จากตัวอย่างได้แสดงให้เห็นแล้วว่าพัฒนาการการรับรู้ทางภาษามันจะเป็นไปตามธรรมชาติและก็ขึ้นอยู่กับตัวเด็กแต่ละคนว่าเขาจะรับรู้ภาษาและพูดมันได้เมื่อไรอีกทั้งพ่อแม่และบุคคลรอบข้างก็มีส่วนในการช่วยเหลือตัวเด็ก


นางสาวปราณี กวางนอน
4703102113
English Education
E-mail :: pranee_kwangnon@yahoo.com

No comments:

Blog Archive