Sunday, January 14, 2007

midterm peper ( สุนทรี ศิริภูวนันท์)

Applied Linguistics [Language Acquisition]
1. Explain the differences & similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition.
Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen.
Noam Chomsky กล่าวว่ามนุษย์มีอุปกรณ์ทางภาษา [Linguistic Acquisition Device] ติดมากับสมอง และเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ เมื่อเด็กเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง
[First Language ] เด็กจึงเรียนรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของ Stephen D. Krashen เรื่องสมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้ คือการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งเมื่อเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษาและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสนทนาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็เชื่อมโยงถึงสมมติฐานเรื่องการตรวจสอบเพื่อให้การแสดงออกทางภาษาดียิ่งขึ้น ส่วนการเรียนรู้ภาษาที่สองเนื่องจาก Noam Chomsky กล่าวว่ามนุษย์มีอุปกรณ์ทางภาษาติดตัวมาเมื่อเชื่อมโยงกับสมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้ของ Stephen Krashen การจัดสภาพการเรียนรู้ให้เป็นธรรมชาติรวมถึงระบบการเรียนรู้อย่างใส่ใจ และใช้สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาที่สองได้เป็นอย่างดี แต่การเรียนรู้ภาษาที่สองก็ต่างจากการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งตรงที่ผู้เรียนต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างใส่ใจและใช้สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบมาเป็นส่วนช่วยอย่างมาก และผู้เรียนจะประสบผลมากหรือน้อยก็เป็นไปตามสมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้
2. Explain and present the relationship of the following terms.
a. Critical Age Hypothesis
กล่าวถึงเด็กมีความสามารถพิเศษในการรับรู้ทางด้านภาษาโดยเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 2 ขวบจนถึงอายุประมาณ 13
แต่ในการศึกษาภายหลังกล่าวว่าการเรียนรู้ทางด้านภาษาเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุประมาณ 5 ขวบ
b. Innateness theory
ทฤษฎีที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
ทฤษฎีนี้ได้เสนอเกี่ยวกับการเรียนภาษาของมนุษย์มีมาตั้งแต่กำเนิดขณะที่การเรียนแบบและการให้กำลังใจก็เป็นส่วนประกอบของการเรียนภาษาความสามารถในการเรียนภาษานั้นจะต้องมีมาตั้งแต่กำเนิด โดยปกติทั่วไปแล้วเด็กต้องการที่จะเรียนภาษาในช่วงที่มีอายุเหมาะสม เราจะสามารถเปรียบการเรียนภาษาของเด็กๆกับการที่เด็กได้เรียนรู้การเดินขึ้นเวทีอย่างมั่นใจ ทั้งสองแบบนี้จะเกิดขึ้นโดยการพยายามเพียงเล็กน้อย การเรียนภาษาได้เร็วขึ้น เด็กจะเรียนการพูดเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร จะต้องปฏิบัติตามหลักการพูดโดยเด็กอายุ 3 ปีถ้าเด็กมีอายุต่ำกว่านั้นจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในการสนทนาของผู้ใหญ่ที่พูดเร็วทำให้หลักการในการพูดผิดไป การใช้คำแสลงและภาษาพูดที่สับสน และในการพูดที่ไม่สมบูรณ์หรือย่อประโยคเด็กจะต้องได้รับการแก้ไขประโยคต่างๆให้ถูกต้องก่อนมิฉะนั้นเด็กจะได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ทำให้เกิดปัญหา
การเขียนมิได้มีมาตั้งแต่กำเนิด การเขียนเป็นการเขียนบรรยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เราสามารถสืบเสาะได้ และจะต้องมีการสอนเป็นพิเศษถ้าเปรียบเทียบกับการพูดได้นั้นการพูดไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมหรือฝึกซ้อม ส่วนความสามารถในการพูดภาษาจะมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด Noam Chomsky ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเด็กที่เกิดมากับกระบวนการการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ซึ่งเขาเรียกว่า เครื่องมือที่ได้มาทางภาษา หรือ LAD เขาได้อ้างถึง LAD เชื่อมต่อกับภาษาสากล และได้มีการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และได้เปิดโอกาส ทฤษฎีนี้ยากที่จะทำการทดสอบ Noam Chomsky ได้ยอมรับว่ามีอะไรบางส่วนได้มีอิทธิพลกับทฤษฎี เช่น สิ่งแวดล้อมและการให้กำลังใจมีส่วนช่วยในการเรียนภาษา
c. Universal Grammar
Noam Chomsky เชื่อว่าสมองของมนุษย์มีกลไกที่จะจัดการด้านภาษาถึงแม้แต่ละภาษาจะมีโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างกัน โดยเด็กสามารถเรียนรู้ที่จะสื่อสารและเรียนรู้ที่จะแก้ไขข้อผิดพลาด
d. Parameter Setting
คือการบอกคำตอบว่าทำไมเราถึงใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ได้อย่างหลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการจำ แต่เป็นการเข้าใจภาษาและสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติ
3. Revisit the following hypotheses
a . Acquired System and Learned System. How are they manifested in SLA ?
สมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้
การที่ผู้เรียนจะสามารถแสดงออกซึ่งภาษาที่สองได้นั้นมาจากระบบคือระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) และระบบที่ต้องใส่ใจการเรียนรู้ (Learned System) การเรียนรู้แบบซึมซับเป็นการเรียนรู้แบบไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทางภาษามากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนภาษาที่หนึ่ง กับการสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาใช้ในการพูดแต่จะสนใจ ในประโยชน์ในเนื้อหาของการสื่อสารมากกว่า เช่นเมื่อเราไปอยู่สิ่งแวดล้อมใหม่นานๆ เราจะซึมซับภาษาของประเทศนั้นๆจากเดิมที่เราไม่มีความรู้พื้นฐานอะไรเลยเกี่ยวกับภาษาที่สองตอนแรกๆเราอาจจะยังฟังไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อเราได้อยู่สภาพแวดล้อมนั้นนานเข้าเราก็จะเริ่มสนทนาได้มันเป็นการเรียนรู้ภาษาที่สองแบบไม่ตั้งใจเหมือนเป็นการสร้างภาษาระหว่างความผิด- ถูก
ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียนหรือมีการสอนกันอย่างจริงจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือคามตั้งใจที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น เราอาจต้องใช้ไวยากรณ์เข้ามาช่วยในเรื่องของการเขียนเพื่อจะให้ลึกซึ้งในภาษาที่สองควรจะมีการเน้นในเรื่องไวยากรณ์ในเรื่องของการเขียน แต่เมื่อเป็นภาษาพูดเราอาจจะไม่เน้นในเรื่องของไวยากรณ์
ดังนั้นเราจะเห็นว่าการซึมซับกับการเรียนรู้เป็นส่วยสำคัญของการเรียนภาษาที่สอง เพราะการซึมซับทำให้เราได้ในเรื่องของตัวภาษาและไวยากรณ์ แต่การเรียนเรื่องนี้จะทำให้เราไม่อยากที่จะเรียนภาษาที่สองเพราะมันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อเพราะอาจจะเป็นเนื้อหาทางวิชาการล้วนๆ


b. Monitor Hypothesis. Why do we need this hypothesis ? Does the first the language acquisition require this qualification ?
สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบเป็นความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้แบบ acquisition กับแบบ learning คือเมื่อมีการแสดงออกทางด้านภาษา ก็จะต้องมีการเรียนรู้ที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขการใช้ภาษาให้ดียิ่งขึ้น
การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งก็จำเป็นต้องใช้สมมติฐานนี้ เช่นเด็กเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจก็ต้องรู้จักการตรวจสอบ Monitor Hypothesis ไม่ใช่เพียงแค่บอกว่าคืออะไรแต่ยังแดงถึงอิทธิพลของคำระบบหนึ่งที่มีต่อระบบหนึ่ง และระบบการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นเป็นผลจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจ ตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุง การแก้ไขและแสดงออกทางภาษาดีขึ้นเมื่อมีปัจจัยสามประการคือ
1.ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2.ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้อทางภาษาหรือแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข
3.ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา
เมื่อ มีปัจจัยสามประการผู้เรียนก็จะเกิดการปรับและสมมติฐานการตรวจสอบจะเกิดขึ้นเองประเด็นที่น่าสนใจสำหรับสมมติฐานการตรวจสอบ Krashen ได้ใช้ปัจจัยทางจิตวิทยาหรือบุคลิกภาพของคนมาจัดกลุ่มผู้เรียนรู้ภาษาที่สองออกเป็น 3 กลุ่มโดยดูจากพฤติกรรมการนำการตรวจสอบเข้าไปใช้ กลุ่มที่หนึ่ง คือกลุ่มที่ใช้การตรวจสอบตลอดเวลา (Over - users) กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ยังไม่ได้สร้างความรู้ทางภาษาและไม่ชอบที่จะนำ เอาสมมติฐานการตรวจสอบไปใช้ (Under- Users) กลุ่มที่สามคือกลุ่มที่เรียนรู้และใช้การตรวจสอบอย่างเหมาะสม (Optimal - Users) คนที่มีบุคลิกโดดเด่น พูดเก่งหรือแสดงออกมากกว่าปกติ (Extrovert)ก็จะใช้การตรวจสอบน้อยหรือเป็นพวก Under users ในขณะเดียวกันกับพวกเก็บตัว (Introvert)หรือผู้ที่เน้นความถูกต้องทุกกระเบียดนิ้ว (Perfectionist) ก็จะใช้การตรวจสอบมากเป็นพวก Over Users

c. Affective Filter Hypothesis. What do you think about this ?
สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้
ปัจจัยการเรียนรู้เหล่านี้ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self – confidence) หรือความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้ (Anxiety) ถ้าผู้เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูงและความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนภาษาที่สองได้อย่างประสบผลสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้เรียนมีความมั่นใจต่ำหงุดหงิดง่ายก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้ และเมื่อตัวปิดกั้นเหล่านี้ทำหน้าที่ได้ดี การเรียนรู้ก็จะเกิดปัญหา
ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้าเห็นด้วยที่ว่า เมื่อคนเรามีความมั่นใจสูงและมีความเครียดต่ำก็จะทำให้งาน
คิดว่าการเรียนรู้ภาษาที่สองสมมติฐานนี้มีส่วนสำคัญมากเช่นกัน ถ้าหากผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ มั่นใจในการสื่อสาร มีความอดทนในการเรียนรู้ก็จะประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้เรียนมีตัวปิดกั้นการเรียนรู้ก็จะทำให้ผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จ




4.Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period. Case study or tangible examples are highly appreciated.)
การรับรู้ภาษาของมนุษย์แบ่งออกเป็น
ก่อนการรับรู้
1- 2 เดือน
เด็กจะมีพื้นฐานและความรู้สึกในการแยกเสียงพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เห็นว่าเด็กจะมีส่วนประกอบที่สมบูรณ์ในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเด็กจะได้ยินเสียงต่างๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในทางตรงกันข้ามการมองเห็นของเด็กจะเริ่มมองเห็นหลังจากที่เด็กคลอด
ต่ำกว่า 11 เดือน
เด็กจะมีการดูดมนอย่างรุนแรง และใช้ความเงียบ ถ้าเด็กได้ยินเสียงเด็กจะตกใจ
6 – 10 เดือน
เด็กจะมีการหันมองหาตามทิศทางของเสียง
6 เดือน
จากการวิจัย
- เด็กสมารถแยกแยะเสียงที่ต่างกันได้ เช่น เสียง (ma) กับ (na)
- เด็กสามารถแยกเสียงระเบิดได้
- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงตามฐานกรณ์ต่างๆได้
6 เดือนแรก
พยายามแยกเสียงต่างๆได้ เช่น เสียง พ่อ เสียงแม่ เสียงสัตว์ร้อง
6 เดือนหลัง
เด็กจะเริ่มจับความหมายคำ การรับรู้ของเด็กจะเริ่มเหมือนกับผู้ใหญ่ สมมติ B และ A เป็นภาษาท้องถิ่นในภาษาอังกฤษ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษก็จะรู้ว่าความหมายมันเป็นอย่างไร
8 – 10 เดือน
แยกเสียงได้
10-12 เดือน
เด็กจะไม่สามารถแยกเสียงได้ชั่วคราว แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กก็จะสามารถได้เหมือนเดิม
12 เดือนหลัง
- ระบบการเคลื่อนไหวการแยกแยะต่างๆจะทำงานได้ดีขึ้น
- ระบบการออกเสียงทำงนได้ดีขึ้น
- เด็กจะยังแยกเสียงญาติไม่ได้
การพูดของเด็ก
2-4 เดือน
- เด็กยังแยกเสียงญาติไม่ได้
- เริ่มมีเสียงพยัญชนะสระมากขึ้น เริ่มมีการเลียนเสียง
ช่วง 1 ปีแรก
- อวัยวะทำงานได้ดีขึ้น
- สามารถแยกเสียงพยัญชนะได้
- เด็กแยกเสียงที่ริมฝีปากได้ดีกว่าเสียงที่อยู่ในลำคอ
- เสียงที่เป็นเสียงเสียดแทรกเด็กจะยังไม่สามารถฟังได้
- สระที่เป็นพื้นฐาน ( A I U ) เด็กจะสามารถพูดได้
- เด็กสามารถที่จะพูดคำที่มีพยัญชนะ 1 ตัว และสระต่างๆ ได้

นางสาวสุนทรี ศิริภูวนันท์
47031020135
English Education 3
Sun.siri@hotmail.com

No comments:

Blog Archive