วิชา ภาษาศาสตร์ประยุกต์
1. การเรียนภาษารู้ภาษาที่ 1 และการเรียนรู้ภาษาที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ การเรียนรู้ภาษาที่ 1 ผู้เรียนจะมีพัฒนาการตั้งแต่ยังพูดไม่ได้กล่าวคือ สิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมทางภาษาจากสังคมที่เขาอยู่เป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และซึมซับภาษาจากสภาพแวดล้อมนั้น และ ก็เกิดการสะสมไปเรื่อย ๆ จนเต็มหรือเกิดความรู้ที่เด็กสะสมไว้ ( competence ) ในภาษานั้นและความรู้ที่เด็กสะสมไว้นั้นก็จะทำให้เกิดการแสดงออกทางภาษานั้นได้เป็นอย่างดี ( performance ) แต่การเรียนรู้ภาษาที่ 2 ผู้เรียนจะใช้ competence ที่มีอยู่แล้วในภาษาที่ 1 มาใช้ปนกับการเรียนรู้ในภาษาที่ 2 ดังนั้น performance ที่แสดงออกมาจึงคล้ายกับภาษาที่ 1 เช่นคำว่า This is a book เด็กจะพูดว่า ดีส อีส อะ บุก หรือตัวอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งมีพ่อแม่เป็นชาวอังกฤษ ภาษาที่ 1 ของเด็กคนนั้นก็คือ ภาษาอังกฤษ เมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้นต้องการเรียนภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาที่ 2 ในตอนนี้ การเรียนของเขาก็จะเกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากอวัยวะในการออกเสียงของเขาได้ปรับเข้ากับภาษาที่ 1 ไปแล้ว เมื่อเข้าเรียนภาษาที่ 2 เขาก็จะใช้ competence ที่เขามีอยู่มาใช้ปนกับการเรียนภาษาที่ 2 ดังนั้น performance ที่แสดงออกมาจึงคล้ายกับภาษาที่ 1 ของเขา เช่น คำว่า ใครขายไข่ไก่ เขาก็จะพูดว่า ใคร ใคร ใคร ใคร เป็นต้น แต่ถ้าเขาได้รับประสบการณ์และการฝึกฝนบ่อย ๆ เขาก็อาจเกิดการซึมซับเอาภาษานั้นไปด้วย แต่อาจจะได้ไม่เต็มนัก
2. ( a ) Critical Age Hypothesis
ถ้าจะกล่าวว่าอายุมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาโดยเฉพาะ ภาษาที่ 2 ดิฉันคิดว่าอายุมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาที่ 2 อย่างแน่นอน เนื่องจากเด็กจะมีพัฒนาการทางด้านภาษามาตั้งแต่เด็กอยู่แล้วและเกดการซึมซับไปเรื่อย ๆ หรือต้องใช้เวลาในการศึกษามากพอสมควร เด็กจึงเกิดการเรียนรู้ภาษาที่ 1 ได้เป็นอย่างดี และเมื่อโตขึ้นอวัยวะในการออกเสียงของเด็กก็จะถูกปรับให้เข้ากับภาษาที่ 1 ไปแล้ว ทำให้มีปัญหาในการออกเสียงภาษาที่ 2 กล่าวโดยสรุปก็คือ เด็กสามารถเรียนรู้ภาษที่ 2 ได้ดีกว่าผู้ใหญ่
( b ) Innateness Theory
คือ ทฤษฎีที่มีมาตั้งแต่กำเนิด กล่าวคือเด็กแต่ละคนจะมี ความสามารถในการเรียนภาษามาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก เป็นตัวส่งเสริมหรือเป็นปัจจัยหนึ่งของการเรียนภาษาเริ่มต้นขึ้นและทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสะสมความรู้ไปเรื่อย ๆ จนเต็ม เช่น เด็กอายุช่วงอายุ 6 เดือนแรก พ่อแม่เรียกชื่อลูก เด็กก็จะพยายามแยกเสียงแต่ไม่รู้ความหมาย เมื่อเด็กอายุประมาณ 6 เดือนหลัง เด็กก็จะเริ่มจับความหมายได้ว่าถ้าพ่อแม่เรียกชื่อนี้แสดงว่า เรียกชื่อเด็ก ในช่วงหลัง เด็กอายุได้ 10 เดือน เด็กก็จะสามารถแยกเสียงได้และเริ่มพูดตามและรู้ความหมายได้บ้าง เช่น แม่พูดว่า ม่ำ ม่ำ เมื่อให้เด็กกินอาหารเสริม ลูกก็จะพูดตามและเริ่มจับความหมายได้ และเมื่อเด็กหิวขึ้นมาเด็กก็จะพูดว่า ม่ำ ม่ำ แม่ก่ก็จะรู้ได้ทันที่ว่าเด็กหิว
( c ) Universal Grammar
Universal Grammar คือ ไวยากรณ์สากล หรือตัวไวยากรณ์ที่สามารถใช้ได้หรือรองรับได้หลายภาษา กล่าวคือ เด็กที่เรียนภาษาที่ 2 อาจมี Universal Grammar ได้เนื่องจากเด็กเกิดการซึมซับการเรียนรู้และการซึมซับนั้นต้องอาศัยการใส่ใจในตัวภาษานั้นด้วยและสิ่งนี้เองก็จะเป็น competence อีกรูปแบบหนึ่งของภาษาที่ 2
ที่เด็กสะสมไว้เรื่อย ๆเช่นกัน และเมื่อเด็กนำไปใช้ก็จะใช้ได้ถูก พูดได้คล่อง แต่อาจจะไม่ค่อยชัดก็ได้
( d ) Parameter Setting
Parameter Setting ก็คือ การสร้างค่าไวยากรณ์ ในที่นี้ก็อาจหมายถึง คนที่พูดภาษาเดียว เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ เมื่อเด็กได้ยินภาษาไทยมาตั้งแต่ยังเล็ก เด็กก็จะตั้งค่า set ไวยากรณ์ หรือ competence นั้นไว้ จนเต็มและเกิดการแสดงออก performance ได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาก็จะมีปัญหาทางการเรียนรู้ภาษาที่ 2 เนื่องจากเกิดการสูญเสียทางอวัยวะในการออกเสียง ซึ่งเมื่อเขาเรียนภาษาที่ 2 เขาต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการ set ค่าทาง parameter ในตัวของเขาเอง และเมื่อเขาไปอยู่ที่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เขาเกิดการตั้งค่าทางไวยากรณ์นั้นไว้อีก และเมื่อเขากลับมาเมืองไทยเขาอาจจะพูดไทยไม่ค่อยชัด เนื่องจากเกิดการสูญเสียอวัยวะทางการออกเสียงอีก เป็นต้น
3.( a ) Acquired System and Learned System
Acquired System คือระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ ซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือสภาพทางภาษาจากสังคมที่เขาอยู่ เป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และค่อย ๆ สะสมความรู้ competence ไปเรื่อย ๆ จนเต็ม โดยที่เด็กไม่ได้ใส่ใจหรือไม่รู้ตัว แต่เขาก็สามารถแสดงออกมา performance ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเด็กสนใจประโยชน์ทางเนื้อหาการสื่อสารมากกว่า
Learned System คือระบบการมเรียนรู้แบบใส่ใจซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่มาจากห้องเรียนและมีการสอนกันอย่างจริงจังโดยที่เด็กมีความตั้งใจหรือใส่ใจในการเรียนและ ตั้งค่าไวยากรณ์นั้นไว้และเกิดการเอาใจใส่ ฝึกฝนและสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับและระบบดารเรียนรู้แบบใส่ใจแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ในห้องเรียนมาตั้งแต่เด็กหรืออนุบาลเด็กก็จะเริ่มซึมซับตัวภาษาที่ 2 นั้นไว้โดยไม่ได้ตั้งใจเช่นกันและเมื่อเด็กโตขึ้นมาเด็กมีความสนใจตั้งใจและใส่ใจที่จะเรียนภาษาที่ 2 อย่างจริงจัง เด็กก็จะส่ามารถนำเอาไวยากรณ์ที่ set ไว้ไปใช้ประโยชน์ได้ถูก
( b ) Monitor Hypothesis
Monitor Hypothesis คือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ พูดง่าย ๆก็คือ สิ่งที่บ่งบอกว่าผิดหรือถูกซึ่งเป็นตัวที่ตรวจสอบหรือปรับปรุงการแสดงออกทางภาษานั่นก็คือ Learning System หรือความรู้ทางไวยากรณ์ ซึ่งตัวสมมติฐานนี้จำทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง แก้ไข และการแสดงออกทางภาษาที่ดี แต่ถ้าถามว่าทำไมต้องมีการตรวจสอบ ก็เพราะว่าผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอและเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุงและผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา หรือพูดง่าย ๆก็คือ ผู้เรียนต้องการแก้ไขข้อผิดพลาดทางด้านภาษา เนื่องจากผู้เรียนมีความรู้ความใส่ใจในภาษานั้นเป็นอย่างดี
ส่วนภาษาที่ 1 ดิฉันคิดว่าน่าจะมีการตรวจสอบทางภาษา เนื่องจากผู้เรียนบางคนยังพูดภาษาแม่ หรือภาษาที่ 1 ผิดหรือเพี้ยน หรือไม่สุภาพ จึงต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น.
( c ) Affective Filter Hypothesis
Affective Filter Hypothesis คือสมมติฐานตัวเอื้อ / ปิดกั้นการเรียนรู้ซึ่งก็ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ ความมั่นใจ ความหงุดหงิด หรือความอดทนต่อการเรียนรู้ กล่าวโดยสรุปก็คือ ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูง และความอดทนสูงและความเครียดต่ำ ก็จะเป็นตัวเอื้อให้การเรียน รู้ประสบความสำเร็จสูง แต่ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจต่ำ ขาดความมั่นใจ หงุดหงิดง่าย ก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนและการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ก็จะเกิดปัญหา
4.ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็กและอิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก
ช่วงอายุของการรับรู้ทางภาษาของเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 1 – 2 เดือน สามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เด็กอายุช่วง ต่ำกว่า 4 เดือน เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก
3. เด็กอายุช่วง 6 – 10 เดือน เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียงและให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นสิ่งแปลกใหม่และจะรู้สึกเบื่อ ๆ กับสิ่งที่เหมือนเดิมและไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้โดยสามารถแยกแยะเสียงที่ได้ยินทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง อีกทั้งยังสามารถบอกเสียงสระที่เกี่ยวกับเสียงพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย 1 ตัวไว้
อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัวเด็ก มีดังนี้
1. เด็กอายุช่วง 6 เดือนแรก เด็กจะพยายามแยกเสียง
2.เด็กอายุช่วง 6 เดือน เด็กจะเริ่มจับความหมายโดยการรับรู้ของเด็กจะเหมือน
ผู้ใหญ่ เช่น ด.ช. ก และ ด.ช. ข อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาไทยได้ เด็กก็จะรู้
ความหมายว่าพูดว่าอย่างไร
3.เด็กอายุช่วง 8 – 10 เดือน เด็กสามารถแยกเสียงได้
4. เด็กอายุช่วง 10 – 12 เดือน ถ้าเด็กจะแยกเสียงไม่ได้ เมื่อโตขึ้นเด็กจะเริ่มแยก
เสียงได้อีกครั้ง ระบบการเคลื่อนไหวและการแยกแยกการออกเสียงได้ดีขึ้น
น.ส.ศศิวรรณ เทียนทอง
47031020130
English Education
E-mail. sasiwanpook@hotmail.com
Saturday, January 13, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Blog Archive
-
▼
2007
(44)
-
▼
January
(44)
- หมดเวลาส่งข้อสอบแล้ว
- Midterm paper (นายชริญญา อมรวัฒนาพงษ์)
- Midterm paper ( นายยงยุทธ จิตอารี )
- Midterm paper (นางสาวสุภาพร ชุ่มกลิ่น)
- Midterm Ketsarin khayak
- Midterm Ketsarin khayak
- Midterm Ketsarin khayak
- Midterm Ketsarin khayak
- midterm yang jian lin (กลิกา)
- midterm Wanlika Thanuchon
- midterm Fei Zhao ( วิโรจน์ ) Or ( ภาพภูม )
- midterm Guoying Li (นิรุชา)
- midterm - Woraluk Taya
- midterm Chu Mei (โสมวรรณ)
- midterm paper นาย ยอดรัก วรรณศักดิ์เจริญ
- midterm paper นาย สุทธิพงษ์ เกียรติยศ
- midterm peper ( วิสิทธิศักดิ์ แผ้วผา)
- midterm paper (Araya Nguemnunjai )
- midterm paper (Araya Nguemnunjai )
- midterm peper ( สุนทรี ศิริภูวนันท์)
- midterm paper (Jutamas naakmoon)
- midterm paper (Jutamas naakmoon)
- Midterm paperนายพิสิฐ สิทธิวงศ์
- Midtermนางสาวนิตยา แก้วทองมา
- Midterm paper (Nucharin Siwichai 47031020111)
- Midterm Paper (MissOrasa Poonsawat 47031020139)
- Midterm paper [Sukanya Tawsan]
- Midterm paper [Duangporn Wongyai]
- Midterm paper [Sirinapa Srivichai]
- midterm paper ประทุม บัวแก้ว
- midterm paper วรารัตน์ ระวังการ
- midterm paper น.ส.จิตติพร เชื้อเมืองพาน
- Midterm paper [Onteera Doungtadum]
- midterm paper วราภรณ์ หินเพ็ชร
- midterm paper มินตรา เขียวชะอุ่ม
- Miterm paper น.ส. พิมพ์ใจ จ๊อดดวงจันทร์
- midterm paper (พวงพยอม ถึงสุข)
- Midterm paper ( Patcharee Homdok )
- midterm paper (วัชรีภรณ์ อุปนันไชย)
- Midterm น.ส.ศศิวรรณ เทียนทอง
- Midterm น.ส.นิศาชล แก้วกันทะ
- Midterm นางสาวปราณี กวางนอน
- midterm paper (Kamlaitip Joojiam)
- midterm paper (Som-u-sa Sakdaduang)
-
▼
January
(44)
No comments:
Post a Comment