Sunday, January 14, 2007

midterm paper น.ส.จิตติพร เชื้อเมืองพาน

Applied Linguistics
Test on Language Acquisition
1. Explain the differences & similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition.
Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen.
ภาษาที่ 1 ต่างจาก ภาษาที่สอง 2 คือ ผู้ที่ใช้ภาษาที่1 จะมี competence ในภาษานั้น100% และมี performance เพิ่มขั้นตามศักยภาพของแต่ละคน ส่วนภาษาที่2 ผู้ที่ใช้ภาษาที่ 1 ไปแล้ว การที่จะเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้ดีนั้นย่อมน้อยเพราะว่า ภาษาที่ 2 จะมี competence ลดลงไม่เท่ากับ ภาษาที่ 1 ดังนั้น performance ที่แสดงออกมาย่อมลดลงตามไปด้วย ตามที่ทฤษฎีของ Noam Chomsky กล่าวว่ามนุษย์มีอุปกรณ์ทางภาษา [Linguistic Acquisition Device] ติดมากับสมอง และเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ เมื่อเด็กเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง[First Language ] เด็กจึงเรียนรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่สองของ Stephen D. Krashen เรื่องสมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้ คือการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งเมื่อเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษาและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสนทนาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็เชื่อมโยงถึงสมมติฐานเรื่องการตรวจสอบเพื่อให้การแสดงออกทางภาษาดียิ่งขึ้น ส่วนการเรียนรู้ภาษาที่สองเนื่องจาก Noam Chomsky กล่าวว่ามนุษย์มีอุปกรณ์ทางภาษาติดตัวมาเมื่อเชื่อมโยงกับสมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้ของ Stephen Krashen การจัดสภาพการเรียนรู้ให้เป็นธรรมชาติรวมถึงระบบการเรียนรู้อย่างใส่ใจ และใช้สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาที่สองได้เป็นอย่างดี แต่การเรียนรู้ภาษาที่สองก็ต่างจากการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งตรงที่ผู้เรียนต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างใส่ใจและใช้สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบมาเป็นส่วนช่วยอย่างมาก และผู้เรียนจะประสบผลมากหรือน้อยก็เป็นไปตามสมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้ เพราะแต่ละคนมีลำดับขั้นการใช้ภาษาไม่เท่ากัน

2. Explain and present the relationship of the following terms.

a. Critical Age Hypothesis
กล่าวถึงเด็กมีความสามารถพิเศษในการรับรู้ทางด้านภาษาโดยเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 2 ขวบจนถึงอายุประมาณ 12ขวบแต่ในการศึกษาภายหลังพบว่าการเรียนรู้ทางด้านภาษาเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุประมาณ 5 ขวบ กล่าวคือ ถ้าหากเด็กไม่ได้รับการศึกษาตั้งแต่เกิดหรือเกินวัยที่จะเรียนรู้ เด็กกะจะไม่สามารถเรียนรู้ได้ เช่น อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ พูดผิดๆถูก พูดผิดไวยากรณ์ ไม่เข้าใจสำนวนสุภาษิตเป็นต้น ดังนั้นวัยจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของแต่ละคน

b. Innateness theory
ทฤษฎีนี้กล่าวถึงมนุษย์ที่ถูกกำหนดให้เป็นไปตามธรรมชาติทางพันธุกรรมในการเรียนรู้ทางภาษาในสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนภาษาแต่กำเนิด เพราะเป็นสิ่งที่เด็กได้ยินทุกๆวันจนเป็นการเรียนรู้แบบซึมซับอีกทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กและการให้กำลังใจ การเสริมแรงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษาเช่นเด็กเรียนรู้ที่จะพูด สื่อสาร และโต้ตอบได้อย่างเป็นธรรมชาติเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เด็กแต่ละคนจะมีตัวรองรับภาษามาตั้งแต่กำเนิด เมื่อเด็กเกิดขึ้นมาตัวรองรับภาษานั้นก็จะทำหน้าที่สังเคราะห์ให้เด็กพูดออกมา
c. Universal Grammar
Universal Grammar คือ หลักไวยากรณ์สากล Noam Chomsky เชื่อว่าสมองของมนุษย์มีกลไกที่จะจัดการด้านภาษาถึงแม้แต่ละภาษาจะมีโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างกัน โดยเด็กสามารถเรียนรู้ที่จะสื่อสารและเรียนรู้ที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในทุกๆ คน จะมีไวยากรณ์ที่เป็นสากลอยู่ในตัวอยู่แล้วตั้งแต่กำเนิด สามารถรับได้ทุกภาษา แต่เมื่อเราใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งกับภาษาที่1 ตัวไวยากรณ์สากลนี้ก็จะทำหน้าที่รับข้อมูลของภาษานั้นๆ ทำให้เราเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อเราเรียนภาษาที่2 ตัวไวยากรณ์สากลก็จะทำงานได้ไม่ค่อยดีเนื่องจากมันเก็บข้อมูลของภาษาที่1ไว้เป็นส่วนมาก

d. Parameter Setting
Parameter Setting คือการบอกคำตอบว่าทำไมเราถึงใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ได้อย่างหลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการจำ แต่เป็นการเข้าใจภาษาและสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติว่า การที่เราจะใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเราต้องตั้งค่าตัวภาษาก่อนเพราะในแต่ละภาษาจะมีความแตกต่างกันดังนั้นการตั้งค่าภาษาจึงเป็นเรื่องจำเป็นมากในการใช้ภาษา เช่น เราจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เราก็ต้องมีประสบการณ์ทางภาษาอังกฤษก่อนจากนั้นก็ใช้ตัวไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษและแสดงออกมาเป็น performance

3. Revisit the following hypotheses

a. Acquired System and Learned System. How are they manifested in SLA ?
คือ ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับและระบบการเรียนรู้ที่ต้องใส่ใจเรียนรู้
ซึ่งระบบการเรียนรู้แบบซึมซับนั้น หมายถึง ผลของการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษาและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเกิดการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้การที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่1 การสนทนาที่เป็นธรรมชาติ และมีความสำคัญในชีวิตประจำวัน โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า
ส่วนระบบการเรียนรู้แบบต้องใส่ใจ หมายถึง การเรียนรู้ในห้องเรียน ที่มีการสอนกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ เป็นต้น
เหตุที่มันเป็นการเรียนรู้ภาษาที่2 คือ การเรียนรู้ภาษาที่2 สามารถเรียนรู้ได้ 2 ทางที่กล่าวมาขั้นต้น ถ้าต้องการรู้แบบพอฟังได้ก็แบบที่ 1 ถ้าต้องการแบบฟัง พูด อ่าน เขียน ก็ต้องใช้แบบที่2 เพราะภาษาที่2 จะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องอาศัยการฝึกฝน แต่ในทรรศนะของ Krashen เห็นว่าการเรียนรู้ในระบบแรกมีความสำคัญกว่าระบบที่ 2
b. Monitor Hypothesis. Why do we need this hypothesis ? Does the first the language acquisition require this qualification ?
สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ หมายถึง ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาที่ 2 ไปแล้วแล้วมาตรวจสอบว่าสิ่งที่เรียนไปนั้นถูกต้องมากน้อยเพียงใด แล้วนำมาปรับปรุง สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบเป็นความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้แบบ acquisition กับแบบ learning คือเมื่อมีการแสดงออกทางด้านภาษา ก็จะต้องมีการเรียนรู้ที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขการใช้ภาษาให้ดียิ่งขึ้น การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งก็จำเป็นต้องใช้สมมติฐานนี้ เช่นเด็กเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจก็ต้องรู้จักการตรวจสอบ
ทำไมเราต้องอาศัยทฤษฎีการตรวจสอบเพราะว่า ทำให้เราทราบถึงความถูกต้องของภาษา การพูด สนทนาของเราว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เพื่อให้ผลที่ออกมาเป็นไปในทิศทางบวก
สมมติฐานนี้ไม่มีคุณสมบัติเกี่ยวข้องกับภาษาที่ 1 เพราะ การเรียนรู้ภาษาที่1 ไม่เหมือนกับการเรียนรู้ ภาษาที่ 2 เพราะต้องตรวจสอบความถูกต้องเสมอ และ ผู้ที่ศึกษาภาษาที่1 จะมี competence อยู่แล้ว 100% ไม่เรียนรู้ก็พูดได้ สื่อสารได้ และ performance ทีก็จะแสดงออกมาได้เต็มที่

c. Affective Filter Hypothesis. What do you think about this ?
สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้ คือ สมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการเรียนรู้ซึ่งได้แก่ แรงจูงใจ ความมั่นใจ และความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้ เช่นผู้เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูง และความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามผู้เรียนที่มีความมั่นใจต่ำ และแรงจูงใจต่ำ หงุดหงิดง่าย ก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้ และเมื่อตัวปิดกั้น(Filter) เหล่านี้ทำหน้าที่ได้ดีการเรียนรู้ก็จะเกิดปัญหา ทำให้การเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ สรุปคือ แรงจูงใจ ความมั่นใจ และความอดทน เป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated.
ช่วงระยะเวลาในการพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้ออกเป็นดังนี้
1. การร้องไห้ เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารพใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กมักจะแสดงอาการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่เขาต้องการสื่อให้เราทราบ หรือทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา
2. เริ่มพูดได้ เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ คือ เด็กจะยังพูดออกมาเป็นคำยังไม่ได้แต่จะมีการออกเสียง เช่นเสียงหม่ำๆ เป็นต้น เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง จากเสียงที่ได้ยิน หรือเป็นการเลียนแบบเสียง และเด็กมักจะแสดงท่าทางประกอบการพูดด้วย
3. พูดคำเดียวหรือวลีเดียว เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ ในช่วงอายุ 14-20 เดือน โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน เช่น พ่อ แม่ ไฟ โต๊ะ เป็นต้น แต่เด็กจะยังออกเสียงไม่ชัด เช่น คำว่า”พ่อ” เป็น “ป๋อ” , “วัว” เป็น “โบ” เป็นต้น เพราะเด็กยังติดกับทฤษฎีการเลียนเสียงอยู่
4. พูดสองคำ เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือนจะสามารถเริ่มต้นพูด 2 คำได้ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น คำว่า”แม่กิน” ก็หมายถึงว่าเด็กต้องการกินของที่แม่ถือมา หรือ คำว่า “หมาไป” ก็เป็นการไล่หมาให้ไปไกลๆ หรือ คำว่า “พ่องาน” หมายถึงว่า พ่อไปทำงานแล้วเป็นต้น
5. เริ่มพูดได้เป็นประโยค คือหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการดังกล่าวในข้างต้นจนถึงสามารถพูดได้เป็นประโยค โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เห็นเพียงว่าตลก น่าหัวเราและไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะจำประโยคนั้นไปพูดอีกจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง จึงมีกำหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย

นางสาวจิตติพร เชื้อเมืองพาน
รหัส 47031020163
คณะครุศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ปี3
Section 01
Email : noinar-@hotmail.com

No comments:

Blog Archive