Monday, January 15, 2007

Midterm paper (นางสาวสุภาพร ชุ่มกลิ่น)

1. Explain the differances & Similarites of First Language Acquistition and Second Language Acquistion ? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen (10%)
สมมุติฐานการเรียนรู้ภาษาของ Noam Chomsky เชื่อว่า ภาษามากับยีนของคู่ กับมนุษย์ มนุษย์มีภาษาที่ละเอียด ซับซ้อน แตกต่างจากสัตว์ มนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษาที่ติดมากับสมองเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษา
สมมุติฐานการเรียนรู้ภาษาของ Stephen D. Krashen ได้กล่าวว่า มีการเรียนรู้อยู่ 2 รูปแบบ คือ การเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquisittion) กับการเรียนรู้อย่างใส่ใจ (Learning) การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษานั้นๆ การเรียนรู้อย่างใส่ใจ คล้ายกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เรียนรู้จากห้องเรียนหรือมีการสอนแบบจริงจัง
ความแตกต่างระหว่าง First Language Acquisition หรือ L1 กับ Second Language Acquisition หรือ L2 คือ L1 เป็นภาษาแรกที่เราใช้พูด ใช้สื่อสาร โดยที่เรามี ความรู้ในตัวภาษา(competence) 100% แต่การแสดงออกหรือการใช้ภาษา (performance) อาจไม่เต็ม 100 ขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์ ร่างกายและสังคม ภาษาที่หนึ่งนี้ เราสามารถใช้สื่อสารได้โดยอาจไม่ต้องเรียน เป็นกระบวนการที่เรียนรู้โดยธรรมชาติ และเราสามารถสื่อสารกับคนรอบข้างก่อนเข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ การพัฒนาก็เริ่มตั้งแต่ยังพูดไม่ได้นั่นเอง โดยที่เราซึมซับเอาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือ ภาษาท้องถิ่น พ่อแม่พูดภาษาไทย ลูกก็จะพูดภาษาไทยด้วย ส่วน L2 นั้น เป็นภาษาที่เพิ่มเติมมาจากภาษาที่หนึ่ง เป็นภาษาที่ไม่เกิดขึ้นตั้งแต่แรก ท้องถิ่นอาจไม่ใช้ภาษานี้ในการสื่อสาร แต่เป็นภาษาที่เราสนใจจะเรียนรู้เพิ่มเติม นั้นก็คือ L2 นั้นต้องอาศัยการเรียนรู้ ดังนั้น competence จึงไม่เต็ม 100 เท่า L1 และ performance ก็คงไม่เท่ากับ L1 เช่นกัน แต่เป็นภาษาที่เราสามารถพัฒนาได้
ความเหมือนระหว่าง First Language Acquisition หรือ L1 และ Second Language Acquisition หรือ L2 คือ L1และ L2 เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารได้เหมือนกัน และเป็นภาษาที่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ และ พัฒนาได้

2. Explain and present the relationship of the following term (10%)

a. Critical Age Hypothesis
Critical Age Hypothesis คือ สมมุติฐานของวัยในการเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์จะเรียนรู้ได้ดี เมื่ออายุยังน้อยอยู่ หรือ ช่วงอายุที่สามารถรับภาษาได้ดี ก็คือ ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 2 ขวบ จะเรียนรู้ได้เร็วมาก และการเรียนรู้ภาษาจะเรียนรู้ได้ยากมากขึ้นหรืออาจยุติลงได้เมื่ออายุ 12 ปี ขึ้นไป หากไม่มีประสบการณ์ทางภาษาและการเรียนรู้ภาษาในช่วงนี้ การเรียนรู้ภาษาและการเกิดความรู้ รวมถึงการแสดงออกจะไม่ค่อยสมบูรณ์เห็นได้จากการที่เราสามารถรับภาษาแรกของเราได้โดยง่าย และมีความรู้ในภาษานี้ดี ตั้งแต่ยังเด็ก และหาจะเรียนภาษาที่สองในช่วงอายุนี้ก็คงเกิดความสับสนบ้างแต่เด็กก็จะค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้ได้เป็นอย่างดี

b. Innateness Theory
Innateness Theory เป็นทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิดในการเรียนรู้ภาษา โดยที่มนุษย์ทุกคนมีสิ่งที่เรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษา (Linguistic Acquisition Device – LAD) ติดมากับสมองและเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากสังคมที่เขาอยู่ อุปกรณ์ทางภาษานี้ เป็นระบบที่เปิดกว้างพร้อมจะเข้ากับสภาพแวดล้อมทางภาษาไหนก็ได้ และเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมใดๆก็จะมีการค่อยๆปรับคุณลักษณะทางภาษาในภาษานั้น สิ่งที่เด็กค่อยๆ ปรับก็กลายเป็นความรู้ในภาษานั้น และความรู้ที่ดีในภาษานั้นก็ทำให้เกิดการแสดงออกทางภาษาได้อย่างดี

c. Universal Grammar
Universal Grammar ไวยากรณ์สากล หรือ หลักการที่เป็นสากลที่รองรับทุกๆภาษา โดยที่ทุกคนเกิดมาจะมี Universal Grammar ที่จะรองรับภาษาใดก็ได้ และใน UG มี Competence (ความรู้ในตัวภาษา) Performance (การใช้ภาษา) Universal Grammarใน L1 จะมี Competence เต็มร้อย แต่Performance อาจไม่เต็มร้อย สรุปก็คือ Universal Grammar เหมือน ship ในการเรียนรู้ภาษาและรองรับทุกภาษา

d. Parameter Setting
Parameter Setting คือการตั้งข้อจำกัดหรือลักษณะเฉพาะทางภาษา ภาษาทุกภาษามีลักษณะเฉพาะทางภาษาของตนเอง ดังนั้นในการเรียนรู้ภาษานั้นต้อง set ค่าลักษณะเฉพาะทางภาษา จะมีการ set เมื่อได้รับประสบการณ์จากภาษานั้นๆ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมใดๆ เด็กก็จะมีการ set คุณลักษณะเฉพาะทางภาษา ในภาษานั้น สิ่งที่เด็ก ค่อยๆ set ก็กลายมาเป็นความรู้ในภาษานั้นๆ

ความสัมพันธ์ของ a,b,c & d นั้น เป็นสิ่งที่สนับสนุนหรือทำให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษา จากข้อb. ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด ที่ทุกคนมีในการเรียนรู้ภาษา โดยมีสิ่งที่เรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษาในการเปิดรับภาษาต่างๆ เช่นเดียวกัน ข้อ c. หลักการที่เป็นสากลที่รองรับทุกๆภาษา โดยที่มีวัยในการเรียนรู้ภาษาข้อ aเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ จะเรียนรู้ภาษาได้ดีเมื่อช่วงอายุตั้งแต่เกิดถึง 12 ปี แต่หลังจากนั้นก็จะเรียนได้ยากขึ้น และในการเรียนรู้ภาษาใดๆนั้น ก็ต้องมีการตั้งลักษณะเฉพาะทางภาษา (ข้อd) ในภาษานั้น เพราะภาษาทุกภาษาก็จะมีลักษณะเฉพาะของตน

3. Revisit the following hypotheses (10%)

a. Acquired System and Learned System? How are they manifested in SLA?
Acquired System หรือ ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ เป็นผลมาจากการเรียนรู้แบบไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจไปที่หระโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า
Learned System หรือ ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือมีการสอนกันอย่างจริงจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
การที่ผู้เรียนจะสามารถแสดงออกซึ่งภาษาที่สองได้ดีนั้นมาจากระบบ คือ ระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ และระบบแบบใส่ใจ ในการเรียนภาษาที่สองนั้นต้องอาศัยทั้ง 2 ระบบนี้ ระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับนี้ก็คล้ายกับการที่เราได้ยินอะไรหลายๆครั้งก็จำได้หรือเรียนรู้ได้ในอัตโนมัติ เช่น การดูโฆษณา อีกทั้งในการเรียนรู้ภาษาที่ 2 นั้นก็ต้องเรียนรู้แบบใส่ใจด้วยถึงจะเกิดการพัฒนาและเรียนรู้ได้ดีขึ้น

b. Mornitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition requir this qualification?
Mornitor Hypothesis หรือ สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ ระบบการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นหรือเป็นผลโดยตรงจาการเรียนอย่างใส่ใจ ตัวที่ตรวจสอบการเรือปรับปรุงแรแสดงออกทางภาษา ก็คือ ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ หรือ ความรู้ทางไวยากรณ์ ตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง และแก้ไข และการแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้น เมื่อมี 3 ปัจจัยนี้ และเมื่อมีปัจจัย 3ข้อนี้ ผู้เรียนจะเกิดการปรับและสมมติฐานการตรวจสอบจะเกิดขึ้นเอง
1.ผู้เรียนต้องเคยได้ใช้ภาษามาก่อน หรือ ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2.ผู้เริ่มคิดถึงความถูกต้อง แนวทางการปรับปรุงและแก้ไข
3.ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา รู้ความถูกต้อง
Krashen ได้จัดกลุ่มผู้เรียนรู้ภาษาที่สองออกเป็นสามกลุ่มโดยพิจารณาจากพฤติกรรมระบบการตรวจสอบ (Mornitoring System) กลุ่มที่1 คือ กลุ่มที่ใช้การตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา (Over users) กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่ยังไม่ได้สร้างความรู้ทางภาษาไม่ชอบเอา Mornitoring System ไปใช้ (Under users) กลุ่มที่สาม คือกลุ่มที่เรียนรู้และใช้การตรวจสอบอย่างเหมาะสม (Optimal users)
คนที่มีบุคลิกภาพโดดเด่น พูดเก่ง หรือ แสดงออกมากกว่าคนอื่นๆ เรียกว่า Extrovert ก็ใช้การตรวจสอบน้อยหรือเป็นพวก Under users ในขณะเดียวกันพวกเก็บตัว หรือ Introvert หรือ ผู้ที่เน้นความถูกต้องทุกระเบียบนิ้ว ก็จะใช้การตรวจสอบมากหรือเป็นพวก Over users ไม่ค่อยพูดกลัวผิด
เหตุผลที่เราต้องการสมมติฐานนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ทราบถึงความผิดพลาดในการใช้ภาษา และเพื่อให้ใช้ได้อย่างถูกต้อง แต่หากใช้มากเกินไปก็อาจทำให้เป็นพวก Over users ได้ ไม่กล้าที่จะพูดเพราะกลัวผิด แต่หากไม่ใช้เลยอย่างพวก Under users ก็จะทำให้ใช้ภาษาได้ไม่เหมาะสมนัก พูดไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจ และจะดีมากหากแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองด้วยตนเอง
ภาษาแรกนั้นอาจไม่ค่อยได้ใช้สมมติฐานนี้ เพราะ เป็นภาษาที่เรารู้ดีอยู่แล้ว คือ มี competence เต็ม 100 แต่ performance ไม่เต็ม 100 แต่ก็ใช้ในการพูดสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องกลัวผิด แต่บางครั้งอาจจะใช้ในกรณีที่มี ภาษาเกิดขึ้นใหม่ เช่น ภาษาวัยรุ่น

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
Affective Filter Hypothesis หรือ สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้ ปัจจัยการเรียนรู้เหล่านี้ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ ความมั่นใจ หรือ ความหงุดหงิด หรือ ความอดทนในหารเรียนรู้ Krashen ได้กล่าวว่า ผู้ที่เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูง หรือ ความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามคือ ถ้าผู้เรียนมีความมั่นใจต่ำ หงุดหงิดง่าย ก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้
ข้าพเจ้าคิดว่าทุกคนมีสิทธิที่จะเกิดตามสมมติฐานดังกล่าวได้ ยิ่งเป็นผู้เรียนที่อายุมากขึ้นข้าพเจ้าคิดว่าก็จะมีตัวปิดกั้นมากขึ้น อาจจะขึ้นอยู่กับ อารมณ์ ความคิด ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ถ้าหากตัวปิดกั้นเหล่านี้ทำหน้าที่ได้ดี ก็จะทำให้การเรียนรู้เกิดปัญหา เช่น เด็กกับผู้ใหญ่ แข่งกันเรียนรู้ภาษา ในตอนแรกผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดีกว่า แต่ก็ได้ไม่นานก็จะหยุด เพราะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เด็กจะมีการเรียนรู้ได้เรื่อยๆ และได้ดีกว่าตอนแรก เพราะ Acquired System หรือ ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ




4.Disscuss the period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible example are highly appreciated. (10%)

ทฤษฎีของการเรียนรู้ภาษาของเด็ก (CLA)
1. Imitation Theory – เด็กๆไม่สามารถเลียนแบบ ไวยาการณ์ คำ ไม่ได้ทั้งหมด(ไม่สมบูรณ์) เป็น step แรกๆเท่านั้น
2. ทฤษฎีการเสริมแรง – CDS คือ การปรับปรุงแก้ไขภาษาเด็ก –Motherese (body talk)การเจ้ากี้เจ้าการ –
การเสริมแรงแทบจะไม่มีผลเลยกับเด็ก จะแก้ไม่แก้ก็ไม่มีผล ขึ้นอยู่กับสภาวะทางกายเด็กจะเรียนรู้เองเมื่อโตขึ้น
3.Innateness Theory มีมาแต่กำเนิด
LAD “Language Acquisition Device” เป็นอุปกรณ์ทางภาษาที่อยู่ในตัวเด็ก เป็นอุปกรณ์ที่เปิดรับภาษาไหนก็ได้
4. Test –
1. Fetal Heart Rate Test (การเต้นของหัวใจเด็ก)
- เมื่อสนใจในสิ่งที่ได้ยิน(สิ่งเร้า)การเต้นของหัวใจจะลดลง เมื่อสิ่งเร้านั้นหายไปก็จะกลับมาเป็นปกติ
2. Infant sucking Test การทดสอบการดูดนมของทารก
- เมื่อได้ยอนเสียง เด็กจะดูดนมแรงและเร็วขึ้น
3. Head Turn Test การทดสอบการหันศีรษะของเด็ก
- เมื่อได้ยินเสียงจากทิศทางที่แตกต่างกัน เด็กจะหันศีรษะไปทางทิศทางที่มาของเสียง เด็กมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าจะตอบโต้ได้ดีมากโดยเฉพาะเสียง มันจะส่งผลไปที่หัวใจ แล้วจะเกิดการพัฒนาได้ดีทางภาษา
5. การร้องให้ Crying
เด็กก่อนคลอดมีการรับรู้ (Perception) โดยการใช้ test 1. อัตราการเต้นของหัวใจ เด็กจะมีปฏิกิริยากับเสียงของแม่ เด็กจะเข้าใจอารมณ์ของแม่(รับรู้)
ทารกวัย 0-4 เดือนจะไม่สามารถใช้ภาษาพุดได้ชำนาญ แต่มักจะร้องให้เพื่อแสดงความรู้สึกตามที่เขาต้องการ ทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ10-16สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็นซึ่งเป็นพัฒนาการของเด็ก
6. การเริ่มพูดได้ Babbling เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง เด็กมักจะเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน เด็กมักจะแสดงทำทางประกอบการพูด เช่น ชี้มือชี้ไม้ เมื่อต้องการสิ่งของที่ชอบ
- 4-6 เดือน เริ่มใช้เสียง(ออกเสียง)ร้อง
9-12 เดือน เริ่มพูดเลียนแบบเสียงผู้ใหญ่
- เด็กจะพูดเป็นเสียงก่อน หลายๆเสียงเป็นคำ แต่อาจไม่ชัดเจน ผู้ปกครองไม่ควรใช้เสียงตะคอก
7. One Word/Holophrases คำเดียว/วลีเรื่อง
- 14-20 เดือน เริ่มพูดคำ content ไม่เรียน function เพราะไม่เห็นเป็นรูปธรรม
- เด็กจะเข้าใจความหมายของคำ
- 18-24 เดือน เด็กจะพูดได้หลายคำ
- ใน 1 เดือนจะพูดคำใหม่ ได้ประมาณ 22-37 คำ
8. Two word Phrases (2คำที่เป็นวลี)
- เรียน content 2 คำ แต่มีsyntax รู้จัก word order (เรียนได้) เช่น Daddy gone(Daddy has gone) , Doggie mine(Doggie is mine) เด็กเริ่มรู้ว่าใครเป็นผู้กระทำ เช่น I love you ,You love me.
9. Multi-Word Phrases
- เด็กจะได้คำศัพท์ 50 คำ
- เด็กจะเริ่มเชื่อมคำ2คำเข้าด้วยกันเพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง และการกระทำ
- เด็กอายุ 12-14 เดือน เด็กสามารถจำประโยคที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องได้ เด็กสามารถแยกแยะความแตกต่างได้
10. Critical Age Hyphothesis (สมมุติของอายุทางภาษา)
- เด็กจะต้องใช้เวลาในการศึกษามากพอสมควร
- เด็กจะเรียนรู้ภาษาได้ดีถ้าพวกเขาได้เรียนรู้จากที่บ้านเขาเอง โดยการเลียนแบบหรือมีพรสวรรค์ในการใช้ภาษา
- ขีดจำกัดและกฎข้อบังคับจะเป็นหัวใจหลักของการพูดภาษา


การรับรู้ภาษาของเด็ก

ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
1-2 เดือน
เด็กจะสามารถแยกแยะเสียงการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่ำกว่า 4 เดือน
เสียงจะมีอิทธิพลต่อการดูดนมของเด็ก
6-10 เดือน
เด็กจะหันมาดูในทางที่มาของเสียง (เด็กจะมีสมาธิสั้น) เด็กจะให้ความสนใจกับเสียงที่เป็นสิ่งแปลกใหม่และจะรู้สึกเบื่อๆกับสิ่งที่เหมือนเดิมและไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้
- สามารถแยกแยะสียงที่ได้ยินได้
- สามารถแยกแยะเสียงก้อง กับเสียงไม่ก้องได้ ระหว่างเสียง [ta] vs [da]
- สามารถแยกตำแหน่งของการเกิดเสียง (ฐานกรณ์) การออกเสียงพยางค์ต้นและพยางค์ท้าย
- สามารถแยกเสียงที่เกิดจากการะเบิด(stop)กับเสียงขึ้นจมูก (nasals) [ba] vs [ma]
- สามารถแยกเสียงที่เกิดจากการห่อลิ้นและไม่ห่อ [rs] vs [la]
- สามารถแยกเสียงสระที่เกี่ยวกับเสียงพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย 1 ตัว
- สามารถบอกเสียงสระที่เกิดจากการออกเสียงทางปากและจมูก
- สามารถแยกเสียง [EE][EE] ซึ่งเกิดจากเสียงขึ้นจมูกและไม่ขึ้นจมูก
- สามารถบอกเหตุผลโดยรวมเกี่ยวกับความสามารถที่แตกต่างของการออกเสียงแทรก


อิทธิพลจากภาษาที่อยู่รอบตัว

ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
6 เดือนแรก
พยายามแยกเสียง
6 เดือนหลัง
เริ่มจับความหมาย การรับรู้ของเด็กจะเหมือนกับผู้ใหญ่ สมมุติ E กับ A เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พูดภาษาอังกฤษได้ เด็กจะรู้ความหมายว่าพูดอย่างไร
8-10 เดือน
แยกเสียงได้
10-12 เดือน
เด็กจะแยกแยะเสียงไม่ได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอีก เด็กก็จะสามารถเริ่มแยกเสียงได้อีกครั้ง ในช่วงหลัง12เดือน ระบบการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีขึ้น การแยกแยะการออกเสียงได้ดีขึ้น

การพูดการออกเสียง

ช่วงอายุ
พฤติกรรมของเด็ก
2-4 เดือน
- ยังแยกแยะเสียงสูงต่ำไม่ได้
- เริ่มมีเสียงพยัญชนะ สระมากขึ้น เริ่มมีอาการล้อเลียนเสียง
ช่วง1ปีแรก
- ช่วงแรกอวัยวะทำงานดีขึ้น
- สามารถออกเสียงพยัญชนะ สระ ได้บ้าง
- เสียงริมฝีปาก เด็กจะทำได้ดีกว่าเสียงที่อยู่ข้างหลังตรงลำคอ
- เสียงแทรกจะไม่ค่อยมี จะใช้กล้ามเนื้อ
- เสียงสระที่เป็นพื้น i,a,u
- CV พยัญชนะ1ตัว สระ1ตัว


ชื่อ นางสาวสุภาพร ชุ่มกลิ่น
รหัส 47031020158
B.ED.
E-mail : oomsom@hotmail.com

No comments:

Blog Archive