Monday, January 15, 2007

Midterm paper ( นายยงยุทธ จิตอารี )

ภาษาศาสตร์ประยุกต์
1. ภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 นั้นค่อนข้างมีความสัมพันธ์กันในแง่ของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร แต่ภาษาที่ 1 นั้นเปรียบเป็นภาษาแม่ ยกตัวอย่างที่เห็น ชัดเจน ก็คือ ภาษาไทยของเรานั่นเอง เป็นภาษาที่เราพูดและใช้มาตั้งแต่เด็กๆ เกิดการซึมซับและเรียนรู้มาเป็นเวลายาวนาน ส่วนภาษที่ 2 คือภาษาที่เรานั้นรับรู้เพิ่มเข้ามา โดยอาศัยการฝึกฝนและเรียนรู้เช่นเดียวกับภาษาแม่ แต่ว่าช่องว่างของหน่วยความจำอาจมีไม่มากเท่ากับภาษาที่ 1 ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือภาษาอังกฤษ ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอและต้องมีสภาพแวดล้อมที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยบางครั้งอาจมีการเปรียบเทียบความรู้ที่มีจากภาษาที่ 1กับภาษาที่ 2 เพื่อนำไปสู่การปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆตามความเหมาะสม
Noam Chomsky บอกว่ามนุษย์มีภาษาที่ละเอียดซับซ้อน แตกต่างจากสัตว์ นั่นแสดงว่า สิ่งที่อยู่ในสมองมนุษย์ นั้นมีอะไรที่น่าสนใจมากทีเดียว ภาษาและความรู้ทางภาษา แบ่งออกเป็นความรู้ทางเสียง ทางไวยากรณ์และความหมาย เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณลักษะเฉพาะของมนุษย์เท่านั้น เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับภาษาใดมาบวกกับอุปกรณ์ทาภาษาที่มีอยู่แล้ว ก็จะทำให้เด็กเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ทางภาษาขึ้นมาใช้ได้ โดยจะแตกต่างกับสัตว์ ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ทางภาษาเหมือนกับมนุษย์ นอกจกนี้เด็กจะค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้ได้เป็นอย่างดี
สำหรับ Stephen Krashen จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเรียนรู้ภาษาที่ 2 โดยมีสมมติฐาน 5 ประการดังนี้
1. สมมติฐานระหว่างการซึมซับกับการเรียนรู้
2. สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ
3. สมมติฐานว่าด้วยลำดับขั้นตามธรรมชาติ
4. สมมติฐานเรื่องปัจจัยนำเข้า
5. สมมติบานเรื่องตัวปิดกั้นการเรียนรู้

2.
(a) Critical Age Hypothesis
Case study have indicated that a child who is exposed to language by the time they reach there early teens, will not be able to fully learn it. There have been cases of children discovered in the wild that could never learn to communicate linguistically, or were able to learn vocabulary and context, but never grammar and syntax. Much of the current information on this topic refers to children who were born deaf to hearing parents who were not aware they were deaf. Research shows that deaf children that are exposed to American Sign Language (ASL) before age 6, did much better with morphologically complex signs that those not exposed till after age 12. The conclusion is that language can be acquired later in life, but without much syntax or inflectional morphology.
(b) Innateness Theory
This theory outs forward that humans have a genetic predisposition to learn language. While imitation and reinforcement are certainly factors in speech learning is exposure to it in a natural environment during the critical-age period. This can be compared to a child’s natural ability to learn how to walk at a specific stage in the development. Both appear to occur naturally and with little effort. Language acquisition is rapid, children learn to speak well enough to communicate and hold regular conversations by the age of three, under less than ideal learning conditions. Conversely, adult speak quickly, make grammatical errors, use slang and jargon, and produce incomplete or abbreviated sentences.
(c) Universal Grammar : การที่ได้อยู่ที่ใด ก็จะสามารถพัฒนาและพูดภาษานั้นได้
The road-map children use to plot a course in grammar information enables them to project beyond their experience, rather than being securely tied to it. Children are therefore expected to form grammars that deviate in certain respects from those of adult speakers of the target language. But, like Rome, all roads lead to the same destination; at some point, children achieve a stable state that is equivalent to that of adult in the linguistic community. From this perspective, the errors that arise in the course of language acquisition are not the result of defective grammars ; rather, language-learners sometimes speak a foreign language ( metaphorically speaking ) This is the continuity assumption : the proposal that child language can differ from each other. As a general research strategy, advocates of the continuity assumption suppose that explanations of differences in behavior between children and adults should invoke minimal differences in cognitive mechanism, including linguistic principles.
(d) Parameter Setting
Structural variation permitted in natural languages (perhaps limiting the range of variation to a series of binary choices). Since universal principles of grammatical structure don’t have to be learned, the child’s structural learning task is limited to that of parameter-setting (i.e. determining an appropriate setting for each of the relevant structural parameters).
The assumption that acquiring the syntactic structure of a language involves the relatively simple task of setting a number of structural parameter at their appropriate value provides a natural way of accounting for the fact that structural learning is a remarkably rapid and error-free process in young children.
3.
(a) การเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบซึมซับนี้ คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ (Meaningful Interaction) โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูด แต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรถทางการสื่อสารมากกว่า
ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ (Learned System) ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียนหรือมีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือ ความตั้งใจในการเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
(b) Monitor Hypothesis สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ
สมมติฐานนี้ตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้แบบAcquisition กับแบบLearning ระบบการตรวจสอบเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจและแบบซึมซับ ตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุง การแก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้นเมื่อมีการประจวบเหมาะกันของปัจจัยสามประการ (1) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างพียงพอ (2) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุง (3) ผู้เรียน รู้กฎเกณฑ์ทางภาษา เมื่อมีปัจจัยสามประการ ผู้เรียนก็จะเกดการปรับและสมมติฐานการตรวจสอบจะเกิดขึ้นเอง
(c) Affective Filter Hypothesis สมมติฐานตัวเอื้อ/ ปิดกั้นการเรียนรู้
ปัจจัยการเรียนรู้เหล่านี้ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ(Motivation) ความมั่นใจ (Self-Confidence) หรือความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้ (Anxiety ) ผู้ที่มีแรงจูงใจสูง หงุดหงิดง่ายและความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบผลสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามกับผู้ที่มีความมั่นใจต่ำ แรงจูงใจต่ำ ก็จะสร้างการปิดกั้นการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้การเรียนรู้เกิดปัญหาขึ้น
4.
พัฒนาการของภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารที่สำคัญคือ
1. การรับรู้และเข้าใจภาษา
2. การแสดงออกและการพูด (ดังตาราง)
การพัฒนาของภาษาพูด ทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออก จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย
1. ระบบการได้ยินที่ปกติ
2. ระบบการแปลข้อมูลในสมองที่ปกติ
3. ระบบการออกเสียงที่ปกติ
4. สิ่งเร้าจากภายนอกที่เหมาะสม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เด็ก ต้องการพูดเป็นการสื่อสาร
เมื่อมีคำพูดจากบุคคลหนึ่งไปยังเด็กทารก คลื่นเสียงจากผู้พูด จะผ่านทางหูเด็กไปยังสมองแล้วเกิดการแปลงข้อมูล พร้อมกับการสั่งให้ร่างกายของเด็กทารกนั้นแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ได้
การตอบโต้เป็นเสียงหรือคำพูดนั้น ต้องอาศัยการประสานงาน ระหว่างกล้ามเนื้อ กระดูกและกระดูกอ่อน ที่จะช่วยให้เกิดลมพุ่งจากปอด ผ่านหลอดลม และช่วยบังคับกระแสลมผ่ายสายเสียงไปยังลำคอ เพดาน ฟัน ขากรรไกร และริมฝีปาก
การประสานงานของส่วนต่างๆ ในการเปล่งเสียงนี้ ต้องอาศัยเวลาในการช่วยให้เกิดการทำงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน เด็กเองจะต้องเรียนรู้และรู้จักสังเกตเวลาโต้ตอบกับผู้อื่น จนกระทั่งสามารถใช้การพูดเป็นการสื่อความหมายกับผู้อื่นได้
ตารางแสดงพัฒนาการของภาษาและการพูดในเด็กปกติ
อายุ พัฒนาการด้านการรับรู้ พัฒนาการด้านการแสดงออก
และการพูด
แรกเกิด-1 เดือน ได้ยินเสียงดัง, ได้ยินเสียงพูดอาจหันเวลาตื่นเต็มที่ สะดุ้ง ผวา กะพริบตา หรือ
หยุดฟังเริ่มทำเสียงในคอ
2 เดือน สนใจเวลามีคนใกล้และพูดคุย สบตา ยิ้ม ส่งเสียงอ้อแอ้
3-4 เดือน หันหาเสียงพูด (ข้างๆ) ส่งเสียงโต้ตอบ ทำเสียง "อาอือ"
หัวเราะเสียงดัง
6-9 เดือน หันหาเสียงกระดิ่งข้างๆ บนและล่าง เล่นเสียงสูงๆ ต่ำๆ
เริ่มมีเสียงพยัญชนะ
10-12 เดือน ทำตามคำสั่งง่าย ๆ
โดยท่าทางประกอบคำสั่ง (One Step Command Without Gesture) เปล่งเสียงซ้ำๆ เลียนเสียงพูด
พูดอย่างมีความหมาย 1 คำ
12-15 เดือน - พูดคำโดยที่มีความหมาย 3-6 คำ
พูดเลียนคำท้าย
15-18 เดือน ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ 1 ขั้น
(One Step Command Without Gesture) พูดคำที่มีความหมายทีละ 1-2
คำติดกัน ชี้อวัยวะร่างกายตามบอกได้
2 ปี เข้าใจ "บน ล่าง ข้าง ๆ " พูดเป็นวลี 2-3 คำ พูดอาจไม่ชัด
และตะกุกตะกัก แต่คนในครอบครัว
ฟังเข้าใจประมาณครึ่งหนึ่ง
3 ปี รู้จักเพศของตนเอง พูดเป็นประโยค 3-4 คำได้
มักใช้เฉพาะคำสำคัญที่เป็นเนื้อหา
เช่น คำนาม กริยา บางคำอาจไม่ชัด
แต่คนทั่วไปจะฟังเข้าใจประมาณ
ครึ่งหนึ่ง
4 ปี เข้าใจคำวิเศษณ์ เช่น ร้อน เย็น ใหญ่ เล็ก รู้จักสี 4 สี พูดเรียงลำดับในประโยคได้ถูก
เล่าเรื่องให้คนทั่วไปฟังเข้าใจได้
คำพูดส่วนใหญ่จะชัดเจน และมีจังหวะปกติ ยกเว้นบางพยัญชนะ
เช่น ส, ร, ล, ช
5 ปี เข้าใจความหมายของศัพท์ คำตรงข้าม
และคำเหมือน ใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้อง
อธิบายความหมายได้
พูดชัดเกือบทั้งหมด จังหวะปกติ
8 ปี เข้าใจก่อน-หลังได้ดี สามารถพูดเป็นประโยค เรียบเรียงได้
เช่นเดียวกับผู้ใหญ่

นายยงยุทธ จิตอารี
47031020150
B.Ed English
e-mail : jitaree1985@hotmail.com

No comments:

Blog Archive