Sunday, January 14, 2007

midterm peper ( วิสิทธิศักดิ์ แผ้วผา)

Applied Linguistics

1. Explain the differences & similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Kashen
Answer: ความเหมือนกันคือ มนุษย์เราเกิดมาได้เรียนรู้ภาษาแม่กับแม่ของเราตั้งแต่อยู่ในท้องแล้วเพราะยามที่คนเราอยู่ในครรภ์ของแม่ บุตรน้อยก็ได้รับการสื่อสารโดยแม่จะเป็นผู้ที่สื่อสารด้วย พอคลอดออกมาก็ได้รับฟังภาษาและเด็กน้อยก็ได้เรียนรู้ภาษาที่หนึ่งหรือภาษาแม่ตั้งแต่เด็กๆ และเด็กอาจพูดสื่อสารโดยไม่คำนึงถึงตัวไวยากรณ์แต่อย่างใดและพูดสนทนาที่เป็นธรรมชาติ ซึ่ง Noam Chomsky เชื่อว่ามนุษย์มีสิ่งทีเรียกว่าอุปกรณ์ทางภาษา (LAD) ติดมากับสมองแล้วและเป็นตัวส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากสังคมที่เขาอยู่ เพราะเด็กจะมี Performance และที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่ธรรมชาติเป็นตัวป้อนภาษาให้แก่เด็กทั้งสิ้น ซึ่งเด็กจะค่อยๆเรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาจนใช้ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ สมมติฐานของKrashen ที่เห็นว่าระบบการเรียนรู้แบบซึมซับซึ่งจะต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งซึ่งดารสนทนาเป็นไปตามธรรมชาติโดยเด็กไม่ได้คำนึงถึงการนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจในอรรถรสในการสื่อสารมากกว่า และเหมือนอีกประการคือเน้นการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติมากว่าที่จะมาตรวจสอบในการพูด
ที่แตกต่างกันก็คือภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองจะมีลักษณะการพูดที่แตกต่างกันก็คือมนุษย์จะพูดภาษาที่หนึ่งได้คล่องกว่าภาษาที่สองเพราะเกิดจากการซึมซับมาแต่เด็กๆและเป็นที่คุ้นเคยในการสรเข้าใจในหมู่คณะจนเป็นธรรมชาติโดยที่ไม่ต้องมาใช้สมมติฐานการตรวจสอบของKrashen สมมติฐานของอายุทางภาษานี้ เด็กจะต้องใช้เวลาในการการศึกษามากพอสมควร เด็กจะเรียนรู้ภาษาได้ดีถ้าพวกเขาได้เรียนรู้จากที่บ้านโดยการเลียนแบบหรือมีพรสวรรค์ในการใช้ภาษา และขีดจำกัดและกฎบังคับจะเป็นหัวใจหลักของการพูดภาษา

2. Explain and present the relationship of the following terms
Answer: A. Critical age Hypothesis คือ parading วัยในการเรียนรู้ภาษา = ถ้าหากเราเลือกที่จะพัฒนาภาษาหนึ่ง แต่ภาษาอื่นก็จะสูญเสียไปทีละน้อย เช่นเดียวกับถ้าหาก computer ที่มีการเปิด window หนึ่งก็ต้องปิดอีกwindow หนึ่งก่อน และ performance ต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม อารมณ์ เหตุผล ถ้า competence ไม่เกิดการพัฒนา performance ก็จะไม่มีการพัฒนาไปด้วย
B. Innateness theory คือ เป็นทฤษฎีที่มีมาตั้งแต่กำเนิด กล่าวว่า เด็กแต่ละคนมีความสามารถในด้านการเรียนภาษามาตั้งแต่เกิด ซึ่งอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กและการให้กำลังใจอีกทั้งการเสริมกำลังใจทีเป็นปัจจัยหนึ่งของการเรียนภาษา พร้อมกับช่วงอายุของเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้มาตั้งแต่กำเนิดอยู่แล้ว
C.Universal Grammar คือ ไวยากรณ์โดยทั่วไปแล้วนั้นเป็นตัววางแผนปรับปรุงการใช้ภาษาว่าเป็นไปตามโครงสร้างของประโยคหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่
D. Parameter setting คือ

3. Revisit the following hypotheses
A. Acquired system and learned system? How are they manifested in SLA?
Answer: การที่เราจะเรียนรู้ภาษาที่สองได้ดีและเป็นธรรมชาตินั้นจะต้องสัมผัสภาษาบ่อยๆ เรียนรู้แบบการซึมซับและจะต้องมีความเอาใจใส่ต่อการเรียนรู้ภาษาอีกด้วย ทั้งนี้จึงนำสมมติฐานของKrashen มาใช้คือระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับและระบบที่ต้องใส่ใจต่อการเรียน กล่าวคือ การเรียนรู้แบบซึมซับเป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจแต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศต่อการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้จึงคล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กได้เรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจในการนำหลรักไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ของเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า
ส่วนการเรียนรู้ที่ต้องใจใส่ เป็นระบบการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือมีการเรียนการสอนกันอย่างเป็นจริงเป็นจังและระบบนี้ก็จะมีหลักไวยากรณ์มาควบคุมการออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา และถ้าหากนำพื้นฐานการพูดแบบซึมซับมารวมกับระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจก็จะทำให้ผู้นั้นพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์อีกด้วย
B. Monitor hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisition require this qualification?
Answer: สมมติฐานนี้เป็นเรื่องของการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการการตรวจสอบและตัดสินในการพูดโดยตรวจสอบจาก learn system ก่อนที่จะมีการสื่อสารกับacquire system ว่าถูกหรือผิด และและจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่ผู้เรียนต้องการเนื่องจาก 1. ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ 2.เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางในการปรับปรุง 3.ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษาเมื่อผู้เรียนมีทั้งสามข้อนี้ผู้เรียนจึงสามารถนำไปแก้ไขเพื่อความสมบูรณ์ในการใช้ภาษา และภาษาที่หนึ่งก็ยังต้องการระบบนี้อยู่เช่นกันเนื่องจากการอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มากและตามสถานการณ์ต่างๆจึงต้องมีการตรวจสอบคำหรือการพูดที่เหมาะสมกับกาลเทศะ และบุคคลอีกด้วย

C. Affective Filter hypothesis? What do you think about this?
Answer: เป็นสมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วยแรงจูงใจ ความมั่นใจ และความอดทนต่อการเรียนรู้ นั่นหมายถึงถ้าหากผู้เรียนมีแรงจูงใจสูง มีความมั่นใจสูง และมีความเครียดต่ำ ก็มีแนวโน้มว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบผลสำเร็จ และในทางตรงกันข้ามถ้าผู้เรียนมีความมั่นใจต่ำ แรงจูงใจต่ำ มีความเครียดสูง หงุดหงิดง่ายก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้ เพราะผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนภาษาที่สองเพราะเขาเรียนไม่รู้เรื่องแล้วจะเรียนไปทำไม ตัวปิดกั้นนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหากับเขาอย่างแน่นอน

4. Discus then period of language acquisition.
Answer : เช่นทารกวัย 0-4 เดือนจะไม่สามารถใช้ภาษาพูดได้อย่างชำนาญแต่มักจะร้องไห้เพื่อแสดงความรู้สึกตามที่เขาต้องการ ทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุวัย 10-16 เดือนจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็นซึ่งเป็นพัฒนาการของเด็ก พอเด้กเริ่มพูดได้ เด็กก็จะเริ่มมีการออกเสียงก่อนการพูดเป็นคำ เด็กก็จะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง มักเรียนแบบเสียงที่ได้ยิน เด็กมักจะเริ่มพูดครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 14-20 เดือนและเด็กอายุ 18-24 เดือนเด็กจะเขาใจความหมายของคำเมื่อพูดได้หลายคำ ในหนึ่งเดือนจะพูดคำใหม่ได้ประมาณ 22-37 คำ


นายวิสิทธิศักดิ์ แผ้วผา รหัส 47031020128
คณะครุศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ปีที่ 3
sam_phaewphar@yahoo.com

No comments:

Blog Archive