Sunday, January 14, 2007

midterm paper ประทุม บัวแก้ว

Applied Linguistics
Test on Language Acquisition
1. Explain the differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D.Krashen
ตอบ
สิ่งที่เหมือนกันในการรับรู้ภาษาที่หนึ่งกับการเรียนรู้ภาษาที่สองคือ
การเรียนรู้ภาษาต้องอาศัยประสบการณ์เหมือนกัน เพราะมนุษย์มีอุปกรณ์ทางภาษา(LAD) ติดมากับสมองและเป็นตัวเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาเมื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษานอกจากนี้มนุษย์ยังสามารถซึมซับภาษาทั้งจากสภาพแวดล้อมได้เหมือนกัน เพราะอุปกรณ์ทางภาษา(LAD) เป็นระบบเปิดกว้าง พร้อมจะเข้ากับสภาพแวดล้อมทางภาษาไหนก็ได้ และเมื่อออยู่ในสภาพแวดล้อมใดก็จะมีการค่อยๆ ปรับคุณลักษณะเฉพาะทางภาษา (Priciples and Parameter Theory) ในภาษานั้น สิ่งที่เด็กค่อยๆ ปรับก็กลายมาเป็น Gramma หรือความรู้ในภาษานั้น(competence)
ความแตกต่างของการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง
1. การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง เป็นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา แต่การเรียนรู้ภาษาที่สองเป็นการเรียนรู้ที่มาทีหลัง
2. การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง จะง่ายกว่าการเรียนรู้ภาษาที่สองเพราะเด็กจะมีตัวความรู้ในภาษาที่หนึ่งอยู่แล้วเมื่อเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งก็จะทำให้เข้าใจได้ง่าย แต่ถ้าเรียนภาษาที่สองก็จะเข้าใจยากกว่าเพราะไม่มีความรูพื้นฐานในภาษาที่สอง
3. สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษา ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาที่หนึ่งก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง ถ้ามีโอกาสอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาที่สองก็จะช่วยให้เด็กได้ซึมซับภาษาที่สองพร้องทั้งยังมีโอกาสในการฝึกฝนภาษาที่สองด้วย ดังนั้นถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษาใดก็จะมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษานั้น
4. ภาษาที่หนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในตัวแล้วเมื่อไม่ได้ใช้ก็จะไม่ลืม หรือลืมเพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อมีโอกาสที่ต้องใช้ก็สามารถใช้ได้ แต่ภาษาที่สองเมื่อไม่ได้ใช้ก็จะลืม เมื่อถึงเวลาใช้ก็อาจใช้ไม่ได้เลยหรืออใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น


2. Explain and present the relationship of the following terms
ตอบ
a. Critical Age Hypothesis
อายุทางภาษาจะเริ่มจากการพูดของเด็กตั้งแต่ยังเล็กโดยการพูดนั้นจะไม่ได้เน้นที่ไวยากรณ์ แต่ก็สามารถที่จะข้าใจความหมายของคำพูดนั้นๆได้ เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะค่อยๆมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น ถ้ามีการเรียนรู้และได้รับการฝึกฝนเด็กก็จะเริ่มใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้องและมีการดัดแปลง ผสมผสานคำทางภาษาจึงทำให้เกิดคำและภาษาใหม่ๆ
การรับรู้ภาษาของมนุษย์แบ่งออกเป็น
ก่อนการรับรู้
อายุของเด็ก
ความหมาย
1- 2 เดือน
เด็กจะมีพื้นฐานและความรู้สึกในการแยกเสียงพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เห็นว่าเด็กจะมีส่วนประกอบที่สมบูรณ์ในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเด็กจะได้ยินเสียงต่างๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในทางตรงกันข้ามการมองเห็นของเด็กจะเริ่มมองเห็นหลังจากที่เด็กคลอด
ต่ำกว่า 11 เดือน
เด็กจะมีการดูดมนอย่างรุนแรง และใช้ความเงียบ ถ้าเด็กได้ยินเสียงเด็กจะตกใจ
6 – 10 เดือน
เด็กจะมีการหันมองหาตามทิศทางของเสียง
6 เดือน
จากการวิจัย
- เด็กสมารถแยกแยะเสียงที่ต่างกันได้ เช่น เสียง (ma) กับ (na)
- เด็กสามารถแยกเสียงระเบิดได้
- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงตามฐานกรณ์ต่างๆได้
6 เดือนแรก
พยายามแยกเสียงต่างๆได้ เช่น เสียง พ่อ เสียงแม่ เสียงสัตว์ร้อง
6 เดือนหลัง
เด็กจะเริ่มจับความหมายคำ การรับรู้ของเด็กจะเริ่มเหมือนกับผู้ใหญ่ สมมติ B และ A เป็นผู้สนทนาในภาษาอังกฤษ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษก็จะรู้ว่าความหมายมันเป็นอย่างไร
8 – 10 เดือน
แยกเสียงได้
10-12 เดือน
เด็กจะไม่สามารถแยกเสียงได้ชั่วคราว แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กก็จะสามารถได้เหมือนเดิม
12 เดือนหลัง
- ระบบการเคลื่อนไหวการแยกแยะต่างๆจะทำงานได้ดีขึ้น
- ระบบการออกเสียงทำงนได้ดีขึ้น
- เด็กจะยังแยกเสียงญาติไม่ได้
การพูดของเด็ก
2-4 เดือน
- เด็กยังแยกเสียงญาติไม่ได้
- เริ่มมีเสียงพยัญชนะสระมากขึ้น เริ่มมีการเลียนเสียง
ช่วงหนึ่งปีแรก
- อวัยวะทำงานได้ดีขึ้น
- สามารถแยกเสียงพยัญชนะได้
- เด็กแยกเสียงที่ริมฝีปากได้ดีกว่าเสียงที่อยู่ในลำคอ
- เสียงที่เป็นเสียงเสียดแทรกเด็กจะยังไม่สามารถฟังได้
- สระที่เป็นพื้นฐาน ( A I U ) เด็กจะสามารถพูดได้
- เด็กสามารถที่จะพูดคำที่มีพยัญชนะ 1 ตัว และสระต่างๆ ได้

b. Innateness Theory
ทฤษฎีที่มีมาตั้งแต่เกิดเป็นทฤษฎีที่สนับสนุนว่าคนเราทุกคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดซึ่งแต่ละคนจะมีชิพทางการเรียนรู้ภาษาไม่เท่ากันจึงทำให้เรียนรู้ภาษาได้ไม่เท่ากันและอีกอย่างหนึ่งก็คือสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กและการให้กำลังใจและการแสริมกำลังใจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเรียนภาษา

c. Universal Grammar
หลักไวยากรณ์สากล Noam Chomsky เชื่อว่าสมองของมนุษย์มีกลไกที่จะจัดการด้านภาษาถึงแม้แต่ละภาษาจะมีโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างกัน โดยเด็กสามารถเรียนรู้ที่จะสื่อสารและเรียนรู้ที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในทุกๆ คน จะมีไวยากรณ์ที่เป็นสากลอยู่ในตัวอยู่แล้วตั้งแต่กำเนิด สามารถรับได้ทุกภาษา แต่เมื่อเราใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งกับภาษาที่1 ตัวไวยากรณ์สากลนี้ก็จะทำหน้าที่รับข้อมูลของภาษานั้นๆ ทำให้เราเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อเราเรียนภาษาที่2 ตัวไวยากรณ์สากลก็จะทำงานได้ไม่ค่อยดีเนื่องจากมันเก็บข้อมูลของภาษาที่1ไว้เป็นส่วนมาก
คนเราทุกคนมีความสามารถในการรับรู้ภาษาได้เท่าๆกันแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะรับรู้ภาษาได้มากน้อยเพียงใด เด็กที่เกิดมาจะมีชิพที่บ่งบอกถึงความสามารถในการรับรู้ภาษาของแต่ละบุคคล เช่น เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ขวบ ขึ้นไป ถ้าได้รับรู้ภาษาไหนก่อนก็จะพูดภาษานั้นได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าเด็กจะไปอยู่ที่อื่นหรือต่างประเทศ เด็กก็ยังจะพูดภาษาที่หนึ่งได้ไม่ลืม และยังมีสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวที่มีผลต่อการรับรู้ภาษาของเด็ก เมื่อเด็กได้ฟังหรือได้ยินภาษาอื่นบ่อยๆ เด็กก็จะเกิดการรับรู้ภาษาที่สองและถ้าได้ฝึกฝนหรือเรียนรู้ก็จะสามารถพูดได้ดี

d. Parameter Setting
เป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้ภาษาของแต่ละคนจะแตกต่างกันอาจขึ้นอยู่กับหลายๆ สาเหตุ เช่น พันธุกรรม สภาพแวดล้อม ความบกพร่องหรือความพิการของอวัยวะในการรับรู้ หรือสาเหตุอื่นที่เกิดขึ้นในขณะที่มารดาตั้งครรภ์

3. Revisit the following hypotheses
a. Acquired System and Learned System? How are they manifested in SLA?
ตอบ เป็นระบบการเรียนรู้แบบซึมซับและระบบการเรียนรู้ที่ต้องใส่ใจเรียนรู้
Acquired System (ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ) เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจ เรียนรู้จากประสบการณ์ ความเคยชิน แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มาก การเรียนรู้แบบซึมซับนี้จึงคล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ (Meaningful Interaction) โดยที่ผู้เรียนไม ได้ใส่ใจที่จะนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาใช้ในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า (Communicative Act)
Learned System (ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ) ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือ มีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฏเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือ ความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ทั้ง Acquired System และ Learned System เป็นระบบการเรียนรู้ภาษาที่สอง ซึ่งการที่จะพูดภาษาที่สองได้นั้นจะต้องอาศัยการเรียนรู้จากการเรียนรู้แบบซึมซับและการเรียนรู้แบบใส่ใจ คือ การที่เด็กเรียนรู้ภาษาที่สองจากประสบการณ์หรือการเรียนในห้องเรียน มีการฝึกฝนตลอดเวลา จึงทำให้เด็กพูดภาษาที่สองได้ดี

b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Does the First language acquisitions require this qualification?
ตอบ
Monitor Hypothesis (สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ) สมมติฐานนี้แสดงถึงอิทธิพลของคำระบบหนึ่งที่มีต่อระบบหนึ่ง ระบบการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจ (Practical result of the Learned System or learned grammar) หากจะต้องแบ่งบทบาทของ Acquired System และ Learned System แล้ว สิ่งที่เป็นการแสดงออกทางภาษาหรือที่เราเรียกว่า Initiator Utterance คือ Acquisition ก่อนแล้วตัวที่ตรวจสอบหรือปรับปรุง (Monitor or Editor) แสดงออกทางภาษาก็คือ Learning System หรือความรู้ทางไวยากรณ์
เราต้องการสมมติฐานนี้เพราะว่าตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง การแก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้นเมื่อมีการรวมกันของปัจจัยทั้ง 3 คือ 1) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ 2) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุง 3) ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา เมื่อมีปัจจัย 3 ประการ ผู้เรียนก็จะเกิดการปรับปรุงและสมมติฐานการตรวจสอบก็จะเกิดขึ้นเอง
การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งไม่มีข้อจำกัดในการเรียนรู้เพราะว่าผู้ที่ใช้ภาษาที่หนึ่งย่อมจะมีความรู้ในตัวภาษา( Competence) ที่มีมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา

c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
ตอบ
Affective Filter Hypothesis (สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้)เป็นปัจจัยการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self-Confidence) หรือความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้(Anxiety) Krash กล่าวถึงผู้เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูงและความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม ผู้เรียนที่ตรงกันข้ามคือมีความมั่นใจต่ำ หงุดหงิดง่ายก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้( Affective Filter Mental Block) เมื่อตัวปิดกั้นหรือ Filter เหล่านี้ทำหน้าที่ ได้ดีการเรียนรู้ ก็จะเกิดปัญหา
ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเด็กชอบภาษาใดภาษาหนึ่งแล้วย่อมจะทำให้เด็กเกิดแรงจูงใจ มั่นใจมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนรู้ภาษานั้นซึ่งก็คือตัวเอื้อนั่นเอง แต่ถ้าเด็กไม่ชอบภาษานั้นแล้วไม่ว่าจะมีสิ่งจูงใจหรือไม่มีเด็กก็ไม่สนใจที่จะเรียนยิ่งถ้าหากไปบังคับให้เด็กเรียนเด็กก็จะยิ่งออกห่างการเรียนรู้ภาษานั้นไปเรื่อยๆเสมือนกับว่าตัวปิดกั้นนั้นกำลังเกิดขึ้นกับตัวเด็ก

4. Disuse he period of language acquisition (this should include the perception and production period. Case study or tangible examples are highly appreciated.
ตอบ ช่วงระยะเวลาในการพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้ออกเป็นดังนี้1. การร้องไห้ เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารพใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กมักจะแสดงอาการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่เขาต้องการสื่อให้เราทราบ หรือทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา2. เริ่มพูดได้ เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ คือ เด็กจะยังพูดออกมาเป็นคำยังไม่ได้แต่จะมีการออกเสียง เช่นเสียงหม่ำๆ เป็นต้น เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง จากเสียงที่ได้ยิน หรือเป็นการเลียนแบบเสียง และเด็กมักจะแสดงท่าทางประกอบการพูดด้วย3. พูดคำเดียวหรือวลีเดียว เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ ในช่วงอายุ 14-20 เดือน โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน เช่น พ่อ แม่ ไฟ โต๊ะ เป็นต้น แต่เด็กจะยังออกเสียงไม่ชัด เช่น คำว่า”พ่อ” เป็น “ป๋อ” , “วัว” เป็น “โบ” เป็นต้น เพราะเด็กยังติดกับทฤษฎีการเลียนเสียงอยู่4. พูดสองคำ เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือนจะสามารถเริ่มต้นพูด 2 คำได้ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น คำว่า”แม่กิน” ก็หมายถึงว่าเด็กต้องการกินของที่แม่ถือมา หรือ คำว่า “หมาไป” ก็เป็นการไล่หมาให้ไปไกลๆ หรือ คำว่า “พ่องาน” หมายถึงว่า พ่อไปทำงานแล้วเป็นต้น5. เริ่มพูดได้เป็นประโยค คือหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการดังกล่าวในข้างต้นจนถึงสามารถพูดได้เป็นประโยค โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เห็นเพียงว่าตลก น่าหัวเราและไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะจำประโยคนั้นไปพูดอีกจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง จึงมีกำหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย

ประทุม บัวแก้ว
47031020112
B.ED
pratoom_bua@hotmail.com

No comments:

Blog Archive