Sunday, January 14, 2007

midterm paper วรารัตน์ ระวังการ

Applied Linguistics
Test on Language Acquisition

1. Explain the differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D.Krashen
Answer แตกต่างกันตรงที่ First Language Acquisition เป็นภาษาที่เรามีมาตั้งแต่เกิดซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาแม่ เด็กจะเรียนรู้ภาษาได้จากประสบการณ์แล้วก็เริ่มซึมซับเข้าไปในสมองจึงทำให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาดีกว่าการเรียนรู้ภาษาที่สอง ภาษาที่หนึ่งเด็กจะเรียนรู้และซึมซับเข้าไปตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา พอเกิดมาก็จะเริ่มพูดภาษาที่หนึ่งได้ดี Noam Chomsky เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนที่เกิดมานั้นจะมีภาษามากับยีนส์ของคู่กับมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า อุปกรณ์ทางภาษา ( Linguist Acquisition Device -LAD ) จึงทำให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และมีการแสดงออกทางภาษาที่เป็น First Language ได้ แต่ Krashen เชื่อว่า เด็กที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการแสดงออกทางภาษา ส่วน Second Language Acquisition เป็นภาษาที่เราต้องเรียนรู้และได้รับการฝึกฝนเพื่อที่จะทำให้พูดภาษาที่สองได้และสิ่งแวดล้ออมรอบๆตัวยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการในการพูดภาษาที่สอง
เหมือนกันตรงที่ ทั้งภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองต้องอาศัยการเรียนรู้ทั้งสิ้น
First Language Acquisition เรียนรู้จากประสบการณ์และการซึมซับ เช่น พ่อแม่ พี่น้องและคนรอบข้าง
Second Language Acquisition เรียนรู้จากการได้รับการฝึกฝนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัว เช่น การเข้าเรียนในชั้นเรียน


2. Explain and present the relationship of the following terms
a. Critical Age Hypothesis อายุทางภาษา
Answer อายุทางภาษาจะเริ่มจากการพูดของเด็กตั้งแต่ยังเล็กโดยการพูดนั้นจะไม่ได้เน้นที่ไวยากรณ์ แต่ก็สามารถที่จะข้าใจความหมายของคำพูดนั้นๆได้ เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะค่อยๆมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น ถ้ามีการเรียนรู้และได้รับการฝึกฝนเด็กก็จะเริ่มใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้องและมีการดัดแปลง ผสมผสานคำทางภาษาจึงทำให้เกิดคำและภาษาใหม่ๆ

b. Innateness theory ทฤษฎีที่มีมาตั้งแต่เกิด
Answer ทฤษฎีที่มีมาตั้งแต่เกิดเป็นทฤษฎีที่สนับสนุนว่าคนเราทุกคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดซึ่งแต่ละคนจะมีชิพทางการเรียนรู้ภาษาไม่เท่ากันจึงทำให้เรียนรู้ภาษาได้ไม่เท่ากันและอีกอย่างหนึ่งก็คือสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กและการให้กำลังใจและการแสริมกำลังใจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเรียนภาษา

c. Universal Grammar ความสามารถในการรับรู้ภาษา
Answer คนเราทุกคนมีความสามารถในการรับรู้ภาษาได้เท่าๆกันแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะรับรู้ภาษาได้มากน้อยเพียงใด เด็กที่เกิดมาจะมีชิพที่บ่งบอกถึงความสามารถในการรับรู้ภาษาของแต่ละบุคคล เช่น เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ขวบ ขึ้นไป ถ้าได้รับรู้ภาษาไหนก่อนก็จะพูดภาษานั้นได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าเด็กจะไปอยู่ที่อื่นหรือต่างประเทศ เด็กก็ยังจะพูดภาษาที่หนึ่งได้ไม่ลืม และยังมีสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวที่มีผลต่อการรับรู้ภาษาของเด็ก เมื่อเด็กได้ฟังหรือได้ยินภาษาอื่นบ่อยๆ เด็กก็จะเกิดการรับรู้ภาษาที่สองและถ้าได้ฝึกฝนหรือเรียนรู้ก็จะสามารถพูดได้ดี

d. Parameter Setting คุณลักษณะเฉพาะในการตั้งค่าภาษาของแต่ละบุคคล
Answer คุณลักษณะเฉพาะในตั้งค่าภาษาของแต่ละคนจะแตกต่างกันอาจขึ้นอยู่กับว่า
เด็กที่พูดไม่ได้ เริ่มรับภาษาใดก่อนก็เริ่มตั้งค่าที่แตกต่างกันในแต่ละภาษา ซึ่งอาจจะจดจำจากพ่อแม่ สิ่งแวดล้อมหรือความเคยชินที่ได้ยิน เช่น เมื่อได้ยินเสียงพ่อแม่เด็กก็จะเริ่มจำได้ และเมื่อได้ยินอีกครั้งเด็กก็จะมีปฏิกิริยาตอบกลับ เช่น หัวเราะดีใจ หรือเข้าไปหา แต่หากได้ยินเสียงคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่เด็กก็จะไม่ดีใจ นิ่งเฉย ไม่พูด หรือร้องไห้


3. Revisit the following hypotheses
a. Acquired System and Learned System?How are they manifested in SLA?
Answer Acquired System(ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ) เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจ เรียนรู้จากประสบการณ์ ความเคยชิน แต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มาก การเรียนรู้แบบซึมซับนี้จึงคล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนภาษาที่หนึ่ง การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ (Meaningful Interaction) โดยที่ผู้เรียนไม ได้ใส่ใจที่จะนำกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาใช้ในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า (Communicative Act)
Learned System (ระบบการเรียนรู้แบบใส่ใจ) ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียน หรือ มีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น กฏเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือ ความตั้งใจในการที่จะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ทั้ง Acquired System และ Learned System เป็นระบบการเรียนรู้ภาษาที่สอง ซึ่งการที่จะพูดภาษาที่สองได้นั้นจะต้องอาศัยการเรียนรู้จากการเรียนรู้แบบซึมซับและการเรียนรู้แบบใส่ใจ คือ การที่เด็กเรียนรู้ภาษาที่สองจากประสบการณ์หรือการเรียนในห้องเรียน มีการฝึกฝนตลอดเวลา จึงทำให้เด็กพูดภาษาที่สองได้ดี


b. Monitor Hypothesis?Why do we need this hypothesis?Does the First language acquistion require this qualification?
Answer Monitor Hypothesis (สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ) สมมติฐานนี้แสดงถึงอิทธิพลของคำระบบหนึ่งที่มีต่อระบบหนึ่ง ระบบการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการเรียนรู้อย่างใส่ใจ( Practical result of the Learned System or learned grammar) หากจะต้องแบ่งบทบาทของ Acquired System และ Learned System แล้ว สิ่งที่เป็นการแสดงออกทางภาษาหรือที่เราเรียกว่า Initiator Utterance คือ Acqusition ก่อนแล้วตัวที่ตรวจสอบหรือปรับปรุง (Monitor or Editor) แสดงออกทางภาษาก็คือ Learning System หรือความรู้ทางไวยากรณ์
เราต้องการสมมติฐานนี้เพราะว่าตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผน ปรับปรุง การแก้ไขและแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้นเมื่อมีการรวมกันของปัจจัยทั้ง 3 คือ 1) ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ 2) ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษาหรือแนวทางการปรับปรุง 3) ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา เมื่อมีปัจจัย 3 ประการ ผู้เรียนก็จะเกิดการปรับปรุงและสมมติฐานการตรวจสอบก็จะเกิดขึ้นเอง
การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งไม่มีข้อจำกัดในการเรียนรู้เพราะว่าผู้ที่ใช้ภาษาที่หนึ่งย่อมจะมีความรู้ในตัวภาษา( Competence) ที่มีมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา


c. Affective Filter Hypothesis?What do you think about this?
Answer Affective Filter Hypothesis (สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้)เป็นปัจจัยการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ (Motivation) ความมั่นใจ (Self-Confidence) หรือความหงุดหงิดหรือความอดทนในการเรียนรู้(Anxiety) Krash กล่าวถึงผู้เรียนที่มีแรงจูงใจสูง ความมั่นใจสูงและความเครียดต่ำมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม ผู้เรียนที่ตรงกันข้ามคือมีความมั่นใจต่ำ หงุดหงิดง่ายก็จะสร้างตัวปิดกั้นการเรียนรู้( Affective Filter Mental Block) เมื่อตัวปิดกั้นหรือ Filter เหล่านี้ทำหน้าที่ ได้ดีการเรียนรู้ ก็จะเกิดปัญหา
ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเด็กชอบภาษาใดภาษาหนึ่งแล้วย่อมจะทำให้เด็กเกิดแรงจูงใจ มั่นใจมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนรู้ภาษานั้นซึ่งก็คือตัวเอื้อนั่นเอง แต่ถ้าเด็กไม่ชอบภาษานั้นแล้วไม่ว่าจะมีสิ่งจูงใจหรือไม่มีเด็กก็ไม่สนใจที่จะเรียนยิ่งถ้าหากไปบังคับให้เด็กเรียนเด็กก็จะยิ่งออกห่างการเรียนรู้ภาษานั้นไปเรื่อยๆเสมือนกับว่าตัวปิดกั้นนั้นกำลังเกิดขึ้นกับตัวเด็ก
4. Discuse he period of language acquisition (this should include the perception and production period.Case study or tangible examples are highly appreciated.
Answer
1-2เดือน - เด็กจะมีพื้นฐานและความรู้สึกในการแยกเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เห็นว่าเด็กจะมีส่วนประกอบของหูที่สมบูรณ์ในระยะเวลา 3 เดือน จึงทำให้เด็กสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในทางตรงกันข้ามในการมองเห็นของเด็กจะเริ่มต้นมองเห็นหลังจากการเกิดต่ำกว่า 4 เดือน - เด็กจะมีการดูดนมอย่างแรงถ้าได้ยินเสียงที่ทำให้ตกใจ6-10 เดือน - เด็กจะมีการหันมามองในที่มาของเสียงถ้ามีเสียงที่คล้ายคลึงกันเด็กจะไม่มีการตอบสนองแต่ถ้ามีเสียงที่ต่างกันเด็กจะมีเสียงตอบสนอง6 เดือน - เด็กจะมีการหันมามองในที่มาของเสียง- ถ้ามีเสียงที่คล้ายคลึงกันเด็กจะไม่มีการตอบสนองแต่ถ้ามีเสียงที่ต่างกันเด็กจะมีเสียงตอบสนองจากผลการวิจัย- เด็กสามารถแยกแยะเสียงที่ต่างกันได้ เช่น เสียง [ ta ] กับ [ da ]- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงที่เป็นเสียงระเบิดได้- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงที่เป็นเสียงที่เกิดจากทางนาสิกและไม่ได้เกิดจากทางนาสิกได้- เด็กสามารถที่จะแยกเสียงที่เกิดจากฐานกรณ์ต่าง ๆ ได้- เด็กยังไม่สามรถที่แยกเสียงที่เกิดจากเสียงที่เสียดแทรกได้6 เดือนแรก - พยายามแยกเสียงต่าง ๆได้ เช่น เสียงของพ่อ แม่6 เดือนหลัง -เริ่มจับความหมายของคำ การรับรู้ของเด็กจะเหมือนกับการรับรู้ของผู้ใหญ่สมมุติ E กับ A เป็นสระที่อยู่ในภาษาอังกฤษ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษก็จะรู้ว่าความหมายว่าเป็นอย่างไร8– 10 เดือน - เด็กสามารถแยกเสียงได้10 –12 เดือน เด็กจะไม่สามารถแยกเสียงได้ชั่วขณะ แต่เมื่อโตขึ้นมาอีกก็จะสามรถแยกเสียงได้อีก12 เดือนหลัง- ระบบการเคลื่อนไหวทำงานได้ดีขึ้นในการแยกแยะเสียงกระบวนการในการออกเสียงทำงานได้ดีขึ้น เด็กยังแยกเสียงสูงต่ำไม่ได้การพูดของเด็ก2-4 เดือน เด็กยังแยกเสียงที่สูง-ต่ำ ไม่ได้ เริ่มมีเสียงพยัญชนะ สระ มากขึ้น เริ่มมีการล้อเลียนเสียงช่วง 1 ปีแรก- อวัยวะทำงานได้ดีขึ้น- สามารถออกเสียงพยัญชนะได้บ้าง- เด็กจะสามารถทำเสียงที่เกิดจากริมฝีปากได้ดีกว่าที่อยู่หลังตรงลำคอ- เสียงที่เป็นเสียงที่เสียดแทรกเด็กยังไม่สามรถทำได้ ส่วนมากเสียงที่เด็กสามารถทำได้ก็ คือ เสียงที่ใช้กล้ามเนื้อ- สามารถที่จะพูดเสียงสระที่เป็นพื้นฐานได้ [ i a u ]เด็กสามารถที่จะพูดคำที่ประกอบด้วยพยัญชนะ 1 ตัว และสระ 1 ตัว ได้

Wararat Rawanggan
47031020166
B.ED
jar_166@yahoo.com

No comments:

Blog Archive