Friday, January 12, 2007

midterm paper (Som-u-sa Sakdaduang)

ข้อสอบกลางภาษา วิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์
1. Explain the differences & Similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen (10 %)
ตอบ ภาษาที่ 1 ต่างจาก ภาษาที่สอง 2 คือ ผู้ที่ศึกษารับรู้และใช้ภาษาที่1 จะมี competence 100% และมี performance เพิ่มขั้นตามศักยภาพทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม ส่วนภาษาที่2 ผู้ที่ใช้ภาษาที่ 1 ไปแล้ว การที่จะเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้ดีนั้นย่อมน้อยเพราะว่า ภาษาที่ 2 จะมี competence ลดลงไม่เท่ากับ ภาษาที่ 1 ดังนั้น performance ที่แสดงออกมาย่อมลดลงตามไปด้วย ดังจะกล่าวในทฤษฎีของนักทฤษฎีดังต่อไปนี้
ภาษาที่ 1 ทฤษฏีของ Noam Chomshy คือมนุษย์มีภาษาที่ละเอียดซับซ้อนต่างจากสัตว์ การเรียนรู้ภาษาสามารถแบ่งออกเป็นความรู้ทางเสียง ทางไวยากรณ์ และความหมาย ซึ่งจะมีในมนุษย์เท่านั้น เมื่อมนุษย์ได้รับประสบการณ์รวมกับอุปกรณ์ทางภาษาที่มีอยู่แล้วนั้นก็จะทำให้เกิดองค์ความรู้ขึ้นมา และถ้ามนุษย์อาศัยแต่ประสบการณ์ไม่มีการเรียนรู้ก็จะเกิดปัญหาในภาษาเช่น ใช้ผิด ไม่ถูกหลักไวยากรณ์ เป็นต้น ดังนั้นนอกจากประสบการณ์ที่มีอยู่แล้วนั้นต้องบวกกับการศึกษาเรียนรู้จึงจะสามารถเข้าใจและใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง
ภาษาที่ 2 ทฤษฎีของ Stephen D. Krashen จะพูดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของภาษาที่สองคือการเรียนรู้ภาษาที่สองนั้นเกิดขึ้นได้หลายทาง
1. การเรียนรู้แบบซึมซับ คือไม่ได้ตั้งใจเรียนแต่ได้ยิน ได้เห็น ได้รับรู้บ่อยๆ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ภายในสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย
2. การเรียนรู้แบบต้องใส่ใจเรียนรู้ คือ มีการสอนอย่างเป็นจริงเป็นจัง ต้องเข้าชั้นเรียน เรียนในคาบ เป็นความรู้เชิงวิชาการ มีหลักสูตร เช่นการเรียนกฎไวยากรณ์ การออกเสียง เป็นต้น

2. Explain and present the relationship of the following terms (10%)
a. Critical Age Hypothesis

วัยในการเรียนรู้มีผลต่อการเรียนรู้ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้จะช้าลงหรือยุติลงเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป กล่าวคือ ถ้าหากเด็กไม่ได้รับการศึกษาตั้งแต่เกิดหรือเกินวัยที่จะเรียนรู้ เด็กกะจะไม่สามารถเรียนรู้ได้ เช่น อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ พูดผิดๆถูก พูดผิดไวยากรณ์ ไม่เข้าใจสำนวนสุภาษิตเป็นต้น ดังนั้นวัยจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
b. Innateness theory
ทฤษฎีที่มีมาแต่กำเนิด เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนภาษาแต่กำเนิด เพราะเป็นสิ่งที่เด็กได้ยินทุกๆวันจนเป็นการเรียนรู้แบบซึมซับอีกทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กและการให้กำลังใจ การเสริมแรงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษา เช่นแม่พยายามให้ลูกเรียกตัวเองว่า “แม่” ก็จะพยายามหาสิ่งเร้าเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก เช่น การปรบมือ การโอบกอด เป็นต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เด็กแต่ละคนจะมีตัวรองรับภาษามาตั้งแต่กำเนิด เมื่อเด็กเกิดขึ้นมาตัวรองรับภาษานั้นก็จะทำหน้าที่สังเคราะห์ให้เด็กพูดออกมา
c. Universal Grammar
หลักไวยากรณ์สากล คือ ในทุกๆ คน จะมีไวยากรณ์ที่เป็นสากลอยู่ในตัวอยู่แล้วตั้งแต่กำเนิด สามารถรับได้ทุกภาษา แต่เมื่อเราใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งกับภาษาที่1 ตัวไวยากรณ์สากลนี้ก็จะทำหน้าที่รับข้อมูลของภาษานั้นๆ ทำให้เราเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อเราเรียนภาษาที่2 ตัวไวยากรณ์สากลก็จะทำงานได้ไม่ค่อยดีเนื่องจากมันเก็บข้อมูลของภาษาที่1ไว้เป็นส่วนมาก
d. Parameter Setting
ข้อจำกัดของภาษาที่การใช้ต้องมีการตั้งค่าโดยเฉพาะ ก็หมายถึงว่า การที่เราจะใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเราต้องตั้งค่าตัวภาษาก่อนเพราะในแต่ละภาษาจะมีความแตกต่างกันดังนั้นการตั้งค่าภาษาจึงเป็นเรื่องจำเป็นมากในการใช้ภาษา เช่น เราจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เราก็ต้องมีประสบการณ์ทางภาษาอังกฤษก่อนจากนั้นก็ใช้ตัวไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษและแสดงออกมาเป็น performance

3. Revisit the following hypotheses (10%)
a. Acquired system and Learned System? How are they manifested in SLA?
ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับและระบบการเรียนรู้ที่ต้องใส่ใจเรียนรู้
ระบบการเรียนรู้แบบซึมซับ หมายถึง การเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจ แต่เนื่องจากว่ามีเหตุ หรือสถานการณ์ที่เอื้อต่อการเกิดการเรียนรู้ เช่น เป็นคนไทยแต่มีพี่เขยเป็นชาวอังกฤษ ก็ได้ยินพี่เขยพูดภาษาอังกฤษทุกวัน ก็อาจเกิดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
ระบบการเรียนรู้แบบต้องใส่ใจ หมายถึง การเรียนรู้ในห้องเรียน หรือการเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน เป็นต้น
เหตุที่มันเป็นการเรียนรู้ภาษาที่2 คือ การเรียนรู้ภาษาที่2 สามารถเรียนรู้ได้ 2 ทางที่กล่าวมาขั้นต้น ถ้าต้องการรู้แบบพอฟังได้ก็แบบที่ 1 ถ้าต้องการแบบฟัง พูด อ่าน เขียน ก็ต้องใช้แบบที่2 เพราะภาษาที่2 จะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องอาศัยการฝึกฝน
b. Monitor Hypothesis? Why do we need this hypothesis? Dose the First language acquisition require this qualification?
สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ หมายถึง ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาที่ 2 ไปแล้วแล้วมาตรวจสอบว่าสิ่งที่เรียนไปนั้นถูกต้องมากน้อยเพียงใด แล้วนำมาปรับปรุง Krashen แบ่งสมมติฐานนี้ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ตรวจสอบตลอดเวลา คือ พวกที่คิดก่อนพูดทุกๆ ครั้ง หรือไม่ค่อยพูด
กลุ่มที่ 2 ไม่ค่อยตรวจสอบ คือ พวกที่พูดโดยไม่คิด หรือสักแต่จะพูด
กลุ่มที่ 3 ใช้การตรวจสอบอย่างเหมาะสม คือ พวกที่คิดก่อนพูดในเรื่องที่จำเป็นต้องคิด
ทำไมเราต้องอาศัยทฤษฎีการตรวจสอบเพราะว่า ทำให้เราทราบถึงความถูกต้องของภาษา การพูด สนทนาของเราว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เพื่อให้ผลที่ออกมาเป็นไปในทิศทางบวก
สมมติฐานนี้ไม่มีคุณสมบัติเกี่ยวข้องกับภาษาที่ 1 เพราะ การเรียนรู้ภาษาที่1 ไม่เหมือนกับการเรียนรู้ ภาษาที่ 2 เพราะต้องตรวจสอบความถูกต้องเสมอ และ ผู้ที่ศึกษาภาษาที่1 จะมี competence อยู่แล้ว 100% ไม่เรียนรู้ก็พูดได้ สื่อสารได้ performance ที่แสดงออกมาได้เต็มที่
c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
สมมติฐานตัวเอื้อ/ปิดกั้นการเรียนรู้ คือ สมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ ความมั่นใจ และความอดทนในการเรียน เพราะผู้เรียนที่มีแรงจูงใจมากและมั่นใจว่าตนเองจะสามารถทำได้ก็จะไม่เครียด ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาที่ 2 ก็จะง่ายขึ้นและประสบผลสำเร็จ เช่นเดียวกับ ผู้ที่ขาดแรงจูงใจไม่มี ความมั่นใจ ไม่อดทน ก็จะสร้างเกาะปิดกั้นตนเองออกจากการเรียนรู้ทำให้การเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ สรุปคือ แรงจูงใจ ความมั่นใจ และความอดทน เป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
แรงจูงใจ คือ สิ่งที่ช่วยให้เกิดกำลังใจในทางบวก และเป็นพลังให้เกิดการเรียนรู้
ความมั่นใจ คือ การเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่และคิดว่าไม่เกินความสามารถของเราถ้าเรามีความพยายามเพียงพอ
ความอดทน คือ อดทนต่ออุปสรรคที่เราเผชิญอยู่และเราต้องผ่านมันไปได้

4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated. (10%)
ช่วงระยะเวลาในการพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้ออกเป็นดังนี้
1. การร้องไห้ เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารพใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กมักจะแสดงอาการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่เขาต้องการสื่อให้เราทราบ หรือทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา
2. เริ่มพูดได้ เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ คือ เด็กจะยังพูดออกมาเป็นคำยังไม่ได้แต่จะมีการออกเสียง เช่นเสียงหม่ำๆ เป็นต้น เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง จากเสียงที่ได้ยิน หรือเป็นการเลียนแบบเสียง และเด็กมักจะแสดงท่าทางประกอบการพูดด้วย
3. พูดคำเดียวหรือวลีเดียว เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ ในช่วงอายุ 14-20 เดือน โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน เช่น พ่อ แม่ ไฟ โต๊ะ เป็นต้น แต่เด็กจะยังออกเสียงไม่ชัด เช่น คำว่า”พ่อ” เป็น “ป๋อ” , “วัว” เป็น “โบ” เป็นต้น เพราะเด็กยังติดกับทฤษฎีการเลียนเสียงอยู่
4. พูดสองคำ เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือนจะสามารถเริ่มต้นพูด 2 คำได้ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น คำว่า”แม่กิน” ก็หมายถึงว่าเด็กต้องการกินของที่แม่ถือมา หรือ คำว่า “หมาไป” ก็เป็นการไล่หมาให้ไปไกลๆ หรือ คำว่า “พ่องาน” หมายถึงว่า พ่อไปทำงานแล้วเป็นต้น
5. เริ่มพูดได้เป็นประโยค คือหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการดังกล่าวในข้างต้นจนถึงสามารถพูดได้เป็นประโยค โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เห็นเพียงว่าตลก น่าหัวเราและไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะจำประโยคนั้นไปพูดอีกจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง จึงมีกำหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย


น.ส.โสมอุษา ศักดิ์ดาดวง
รหัส 47031020161
เอกภาษาอังกฤษ คบ.5 ปี
Section 01
E-mail somusasakdaduang@yahoo.com

No comments:

Blog Archive