Applied Linguistics
Test on Language Acquisition
1. Explain the differences and similarities of First Language Acquisition and Second Language Acquisition ? Employ the linguistic hypothesis initiated by Noam Chomsky and Stephen D. Krashen.
Answer : แตกต่างกันตรงที่
First Language Acquisition นั้นเราสามารถที่จะรับรู้ได้ตั้งแต่ก่อนพัฒนาการ ซึ่งนับตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หลังจากคลอดออกมา พ่อแม่ก็คอยเลี้ยงดูสอนให้พูดจาทำให้เกิดการซึมซับและสามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่วในที่สุด
Second Language Acquisition นั้นเป็นภาษาที่เราสามารถรับรู้ได้โดย การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เกิดจากการที่เราได้เรียนรู้จากเจ้าของภาษาหรือครูผู้สอน ซึ่งในการเรียนและรับรู้ภาษาที่2นี้จะยาก กว่าภาษาที่1 เนื่องจากเราไม่มีพื้นฐานของภาษานั้นมาก่อนเลยพ่อแม่พี่ น้องของเราก็ไม่ได้ใช้ภาษานั้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องมา เริ่มต้นใหม่ ซึ่งแต่ละคนนั้นก็สามารถที่จะรับรู้ภาษาที่2ได้ แต่ระดับความสามารถในการรับรู้และใช้ภาษาอาจจะไม่ดีเท่ากับภาษาที่1
เหมือนกันตรงที่ การรับรู้ภาษาทั้ง 2ภาษาต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนและเรียนรู้เหมือนกัน
First Language Acquisition ต้องฝึกฝนโดยอาศัยการซึมซับ จาก สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว
Second Language Acquisition ต้องฝึกฝนโดยการเรียนรู้จากครู อาจารย์ เจ้าของภาษา และสื่อต่างๆ
2. Explain and present the relationship of the following term.
a. Critical Age Hypothesis สมมุตติฐานของอายุทางภาษา
เด็กที่เริ่มพูดได้นั้น จะพูดไม่ตรงตรงตามไวยากรณ์แต่ก็สามารถที่จะทำให้พ่อแม่ หรือบุคคลรอบข้างเข้าใจได้ เช่น เขาต้องการพูดว่า แม่อยู่ชั้นล่าง แทนที่เขาจะพูดว่า Mama is downstair.เขากลับพูดว่า Mama down. ซึ่งก็สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ โดยไม่จำเป็นต้องเน้นเสียงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์แต่อย่างใดและเมื่อโตขึ้นเขาก็จะสามารถมีวิวัฒนาการของอายุทางภาษาต่อไป คือเริ่มที่จะใช้ไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง ส่วนเด็กที่พิการ หูหนวก เป็นใบ้ ก็จะมีการใช้ภาษามือที่ง่ายๆในตอนที่อายุยังน้อยอยู่ส่วนเมื่อโตขึ้นก็จะเริ่มใช้ภาษามือในระดับที่ยากขึ้น
b. Innateness theory ทฤษฎีที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
ทุกคนที่เกิดมานั้นจะมีเครื่องมือการรับรู้ทางภาษาติดตัวมาทุกคน ซึ่งประสิทธิภาพของแต่ละคนนั้นก็แตกต่างกัน ทำให้เครื่องที่จะรับรู้ภาษาทำงานต่างกัน ความสามารถในการรับรู้ภาษาของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย ซึ่งเด็กแต่ละคนก็จะมีความสามารถในการรับรู้ภาษามาแต่กำเนิด
c. Universal Grammar ความสามารถในการรับรู้ภาษา
ทุกๆคนมีความสามารถในการรับรู้ทางภาษากันทุกคนแต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ
1. พันธุกรรม บางคนที่มียีนส์เด่นในกานรับรู้ภาษาทำให้มีความสามารถในการรับรู้ภาษาได้ดี แต่บางคนมียีนส์ในการรับรู้ทางภาษาที่เด่นชัดก็จะทำให้มีความสามารถในการรับรู้ภาษาต่ำไปด้วย
2. สิ่งแวดล้อม บางคนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ตัวเองอยู่ได้ ก็จะทำให้สามารถพัฒนาความสามารถในการรับรู้ภาษาได้เป็นอย่างดี
เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ภาษาใดมาบวกกับอุปกรณ์ทางภาษาที่มีอยู่แล้ว ก็ทำให้เด็กเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ทางภาษาขึ้นมาใช้ได้แตกต่างจากจากสัตว์ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ทางภาษาเช่นเดียวกับมนุษย์ และหากเด็กอาศัยเพียงประสบการณ์ทางภาษาจะเกิดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสับสนและไม่สามารถกำหนดโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่สมบูรณ์แบบได้เพราะปัจจัยนำเข้าทางภาษาหรือสภาพแวดล้อมทางภาษาที่เป็นธรรมชาติมีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้เด็กไม่สามารถตั้งคุณลักษณะทางภาษาได้ ยิ่งหากเด็กได้อยู่ในสังคมหลากหลายและมีการใช้ภาษาหลากหลายแล้วยิ่งทำให้สับสนยิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่าเด็กค่อยๆ เรียนรู้และสร้างระบบทางภาษาขึ้นมาใช้ได้เป็นอย่างดี
d. Parameter Setting คุณลักษณะเฉพาะในการตั้งค่าทางภาษาของแต่ละคน
เด็กที่พูดไม่ได้ เริ่มรับภาษาใดก็เริ่มตั้งค่าที่แตกต่างกันในแต่ละภาษา เช่น เมื่อได้ยินเสียงพ่อแม่เด็กก็จะเริ่มจำได้ และเมื่อได้ยินอีกครั้งเด็กก็จะมีปฏิกิริยาตอบกลับ เช่น หัวเราะดีใจ หรือเข้าไปหา แต่หากได้ยินเสียงคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่เด็กก็จะไม่ดีใจ บางทีอาจตกใจกลัวหรือร้องไห้ก็ได้
สรุปความสัมพันธ์ของทั้งหมด
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีความสัมพันธ์เกื้อหนุนกันเป็นเหมือนกับลำดับขั้นตอนของการรับรู้ทางภาษาหากขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ก็จะทำให้การรับรู้ทางภาษาไม่มีประสิทธิภาพ
3. Revisit the following hypotheses.
a. Acquired System and Learned System ? How are they mainifested in SLA ?
Answer : Acquired System คือ ระบบที่เรียนรู้แบบซึมซับ
Learned System คือ ระบบที่ต้องใส่ใจเรียนรู้
ระบบทั้ง 2 มีความสำคัญใน SLA ดังนี้
การเรียนรู้แบบซึมซับ (Acquired System) เป็นผลจากการเรียนรู้โดยไม่ได้ตั้งใจแต่เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมทางภาษามากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น การเรียนรู้แบบซึมซับนี้คล้ายกับการเรียนรู้ที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาที่ 1 การสนทนาที่เป็นธรรมชาติและมีความสำคัญ(Meaningful Interaction) โดยที่ผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจนำกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์มาจับในการพูดแต่สนใจไปที่ประโยชน์ทางเนื้อหาหรืออรรถรสทางการสื่อสารมากกว่า(Communicative Act)
ระบบที่ต้องใส่ใจเรียนรู้ (Learned System) ระบบนี้เป็นการเรียนรู้จากห้องเรียนหรือมีการสอนอย่างจริงจัง และระบบจะสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่นกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา หรือความตั้งใจที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์(Knowledge about the language) ระบบนี้มีความสำคัญน้อยกว่าระบบแรก แต่ก็ไม่ใช่ตัดทิ้งออกไปเลยเสียทีเดียว
b. Monitor Hypothesis ? Why do we need this hypothesis ? Does the First Language Acquisition require this qualification ?
Answer 1: Monitor Hypothesis คือสมมุติฐานเรื่องการตรวจสอบ ตอบคำถามถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการเรียนรู้ภาษาแบบ Acquisition กับ แบบ Learning นอกจากนี้ยังแสดงอิทธิพลของระบบ Learning ที่มีต่อ Acquisition
Answer 2: เพราะว่าตัวสมมติฐานนี้จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับปรุง แก้ไข และทำให้มีการแสดงออกทางภาษาที่ดีขึ้น เมื่อมีการประจวบเหมาะกันของปัจจัย 3 ประการคือ
1. ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างเพียงพอ
2. ผู้เรียนเริ่มคิดถึงความถูกต้องทางภาษา หรือแนวทางการปรับปรุง
3. ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา
สมมติฐานเรื่องการตรวจสอบ เราต้องการการตรวจสอบเพื่อวัดความสามารถทางการใช้ภาษาว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อแก้ไขการที่ผู้เรียนใช้ภาษาผิดหลุดกรอบมากเกินไปเกินว่าที่การสื่อสารแบบธรรมดายังยากที่จะเข้าใจ แบ่งการตรวจสอบเป็น 3 พวก
1. ตรวจสอบแบบตลอดเวลา เป็นพวกเก็บตัว
2. ตรวจสอบอย่างเหมาะสม มีบุคลิกภาพโดดเด่น
3. ไม่ใช้การตรวจสอบ เป็นพวกที่พูดโดยไม่คิด ชอบที่จะพูด
Answer 3: ภาษาที่หนึ่งไม่ต้องการการตรวจสอบมากนักเพราะส่วนใหญ่ทุกคนมีความสามารถทางด้านนี้ดีอยู่แล้ว ยกเว้นคนที่มีปัญหาเรื่องการรับรู้ทำให้ต้องมีการวัดความสามารถอยู่เสมอ เพราะการตรวจสอบทางภาษากับบุคคลเหล่านี้จะทำให้ความสามารถทางภาษาเพิ่มขึ้น แต่ไม่ควรจับผิดมากเกินไปทั้งในคนปกติและคนที่มีปัญหา จะทำให้บุคคลนั้นอายเมื่อพูดผิดเมื่อบอกให้พูดใหม่บ่อยๆมากขึ้นจะทำให้ไม่กล้าพูดคำนั้นอีกเลย การตรวจสอบทางภาษาจึงค่อยเป็นค่อยไป
c. Affective Filter Hypothesis? What do you think about this?
สมมติฐานเรื่องตัวเอื้อต่อการเรียนรู้/ตัวปิดกั้นการเรียนรู้ ตัวเอื้อต่อการเรียนรู้จะมีผลให้การเรียนรู้ภาษาที่สองเป็นไปได้ดี คือถ้าผู้เรียนมีกำลังใจ มีความมั่นใจ มีอารมณ์ขัน มีรางวัลที่น่าสนใจรออยู่ข้างหน้า ก็จะทำให้การเรียนรู้ภาษาที่สองมีพัฒนาการดีขึ้นด้วยตัวปิดกั้นการเรียนรู้จะมีผลให้การเรียนรู้ภาษาที่สองเป็นไปได้แบบไม่ดี คือผู้เรียนมีไม่มีความมั่นใจ อารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น วู่วาม ขี้โมโห ไม่มีสิ่งจูงใจที่ดีก็จะทำให้การเรียนรู้ภาษาที่สองมีพัฒนาการล่าช้า
4. Discuss he period of language acquisition (This should include the perception and production period.) Case study or tangible examples are highly appreciated.
ช่วงระยะเวลาในการพัฒนาการทางภาษาแบ่งได้ออกเป็นดังนี้
1. การร้องไห้ เด็กแรกเกิด 0-4 เดือน จะไม่สามารถใช้ภาษาทางการพูดได้ แต่เด็กจะมีวิธีการสื่อความหมายให้พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ทราบความต้องการด้วย “การร้องไห้” เด็กมักจะแสดงอาการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงถึงความรู้สึกที่เขาต้องการสื่อให้เราทราบ หรือทำเสียงอ้อแอ้หรือหัวเราะ เด็กอายุ 10-16 สัปดาห์ จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพูดและการมองเห็น ซึ่งเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งในการสื่อภาษา
2. เริ่มพูดได้ เด็กจะเริ่มมีการใช้เสียงก่อนการพูดเป็นคำ คือ เด็กจะยังพูดออกมาเป็นคำยังไม่ได้แต่จะมีการออกเสียง เช่นเสียงหม่ำๆ เป็นต้น เด็กจะใช้ระยะเวลาในการหัดพูด หัดออกเสียง จากเสียงที่ได้ยิน หรือเป็นการเลียนแบบเสียง และเด็กมักจะแสดงท่าทางประกอบการพูดด้วย
3. พูดคำเดียวหรือวลีเดียว เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางการเลียนแบบเสียงต่างๆได้แล้วเด็กก็จะเริ่มพูดเป็นคำ ในช่วงอายุ 14-20 เดือน โดยเด็กจะเริ่มพูดคำที่สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และเห็นเป็นรูปเป็นร่างก่อน เช่น พ่อ แม่ บ้าน ต้นไม้ เป็นต้น แต่เด็กจะยังออกเสียงไม่ชัด เช่น คำว่า”พ่อ” เป็น “ป้อ” “ข้าว” เป็น “ก้าว” เป็นต้น เพราะเด็กยังติดกับทฤษฎีการเลียนเสียงอยู่
4. พูดสองคำ เด็กช่วงอายุประมาณ 18-24 เดือนจะสามารถเริ่มต้นพูด 2 คำได้ เด็กจะจำคำศัพท์ได้ประมาณ 50 คำ และจะเริ่มนำคำมาประสมกับเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ อยากได้ หรือ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการครอบครอง เช่น คำว่า”หม่ำหม่ำ” ก็หมายถึงว่าเด็กต้องการกิน หรือ คำว่า “แม่ตังค์” ก็หมายถึง แม่ขอตังค์หน่อย เป็นต้น
5. เริ่มพูดได้เป็นประโยค คือหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการดังกล่าวในข้างต้นจนถึงสามารถพูดได้เป็นประโยค โดยการพูดเป็นประโยค เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง เพราะเด็กยังไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างจริงจังทำให้การพูดดูตลก โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เห็นเพียงว่าตลก น่าหัวเราและไม่แก้ไขให้เด็กพูดประโยคที่ถูกต้อง เด็กก็จะจำประโยคนั้นไปพูดอีกจนติดเป็นนิสัย ดังนั้นเด็กควรได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้อง จึงมีกำหนดให้เด็กต้องเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรืออายุประมาณ 4 ขวบ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะทางภาษา และการเรียนรู้ให้กับเด็กในด้านอื่นๆ อีกด้วย
พวงพยอม ถึงสุข
เอกภาษาอังกฤษ คบ. ปี3
47031020119
e-mail yormy119@yahoo.com
Sunday, January 14, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Blog Archive
-
▼
2007
(44)
-
▼
January
(44)
- หมดเวลาส่งข้อสอบแล้ว
- Midterm paper (นายชริญญา อมรวัฒนาพงษ์)
- Midterm paper ( นายยงยุทธ จิตอารี )
- Midterm paper (นางสาวสุภาพร ชุ่มกลิ่น)
- Midterm Ketsarin khayak
- Midterm Ketsarin khayak
- Midterm Ketsarin khayak
- Midterm Ketsarin khayak
- midterm yang jian lin (กลิกา)
- midterm Wanlika Thanuchon
- midterm Fei Zhao ( วิโรจน์ ) Or ( ภาพภูม )
- midterm Guoying Li (นิรุชา)
- midterm - Woraluk Taya
- midterm Chu Mei (โสมวรรณ)
- midterm paper นาย ยอดรัก วรรณศักดิ์เจริญ
- midterm paper นาย สุทธิพงษ์ เกียรติยศ
- midterm peper ( วิสิทธิศักดิ์ แผ้วผา)
- midterm paper (Araya Nguemnunjai )
- midterm paper (Araya Nguemnunjai )
- midterm peper ( สุนทรี ศิริภูวนันท์)
- midterm paper (Jutamas naakmoon)
- midterm paper (Jutamas naakmoon)
- Midterm paperนายพิสิฐ สิทธิวงศ์
- Midtermนางสาวนิตยา แก้วทองมา
- Midterm paper (Nucharin Siwichai 47031020111)
- Midterm Paper (MissOrasa Poonsawat 47031020139)
- Midterm paper [Sukanya Tawsan]
- Midterm paper [Duangporn Wongyai]
- Midterm paper [Sirinapa Srivichai]
- midterm paper ประทุม บัวแก้ว
- midterm paper วรารัตน์ ระวังการ
- midterm paper น.ส.จิตติพร เชื้อเมืองพาน
- Midterm paper [Onteera Doungtadum]
- midterm paper วราภรณ์ หินเพ็ชร
- midterm paper มินตรา เขียวชะอุ่ม
- Miterm paper น.ส. พิมพ์ใจ จ๊อดดวงจันทร์
- midterm paper (พวงพยอม ถึงสุข)
- Midterm paper ( Patcharee Homdok )
- midterm paper (วัชรีภรณ์ อุปนันไชย)
- Midterm น.ส.ศศิวรรณ เทียนทอง
- Midterm น.ส.นิศาชล แก้วกันทะ
- Midterm นางสาวปราณี กวางนอน
- midterm paper (Kamlaitip Joojiam)
- midterm paper (Som-u-sa Sakdaduang)
-
▼
January
(44)
No comments:
Post a Comment